วันศุกร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2554

การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

ชื่อผลงานวิชาการ : รูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนบ้านใหม่โพธิ์งาม
อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย
ชื่อผู้วิจัย : นายเทวัน พอใจ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านใหม่โพธิ์งาม
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรูปแบบและเพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนบ้านใหม่โพธิ์งาม อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย โดยสังเคราะห์แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยทที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ แล้วร่างเป็นรูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนบ้านใหม่โพธิ์งาม อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย ตรวจสอบรูปแบบโดยวิธีการประชุมสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญการบริหารแบบมีส่วนร่วม หลังจากนั้น นำรูปแบบไปทดลองใช้เป็นระยะเวลา 1 ปี (ปีการศึกษา 2553) แล้วประเมินผลการผลการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนบ้านใหม่โพธิ์งาม อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย
ผลการศึกษาพบว่า
1. รูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนบ้านใหม่โพธิ์งาม อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย มีองค์ประกอบ 3 องค์ประกอบ คือ 1) กรอบภาระงานของโรงเรียนบ้านใหม่โพธิ์งาม แบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ การบริหารวิชาการ การบริหารงานบุคคล การบริหารงบประมาณ และการบริหารทั่วไป 2) การมีส่วนร่วมของคณะบุคคล ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการที่ปรึกษา ผู้ปกครองนักเรียนและ คณะครู 3) หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม ซึ่งประกอบไปด้วย การมีส่วนร่วมตัดสินใจ (Decision Making) การมีส่วนร่วมปฏิบัติการ (Implementation) การมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ (Benefits) และการมีส่วนร่วมในการประเมินผล (Evaluation)
2. ผลการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนบ้านใหม่โพธิ์งาม อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย พบว่า ก่อนการทดลองใช้รูปแบบฯ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการที่ปรึกษา ผู้ปกครองนักเรียนและคณะครู มีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียน อยู่ในระดับน้อย แต่หลังจากการทดลองใช้รูปแบบฯ พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการที่ปรึกษา ผู้ปกครองนักเรียนและคณะครู มีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียน อยู่ในระดับมาก ทั้งนี้การมีส่วนร่วมของ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการที่ปรึกษา ผู้ปกครองนักเรียนและคณะครู หลังการทดลองใช้รูปแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียนสูงกว่าก่อนการทดลองใช้รูปแบบฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ผลการประเมินใช้รูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนบ้านใหม่โพธิ์งาม อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย มีผลการประเมินดังนี้
3.1 ผลประเมินด้านความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และด้านความมีประโยชน์ ของรูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนบ้านใหม่โพธิ์งาม อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการที่ปรึกษา ผู้ปกครองนักเรียนและคณะครู พบว่า โดยรวมและเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมาก
3.2 ผลการประเมินด้านความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการที่ปรึกษา ผู้ปกครองนักเรียนและคณะครู ที่มีต่อการใช้รูปแบบฯ พบว่า มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก

การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

ชื่อผลงานวิชาการ การพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยกระบวนการจัดการความรู้
ของโรงเรียนบ้านวังยายมาก อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
ชื่อผู้รายงาน นางสาวอินทิรา ฉายแก้ว ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียน
วิทยฐานะ ชำนาญการ
โรงเรียนบ้านวังยายมาก
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2
ปีที่รายงาน 2553

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยกระบวนการจัดการความรู้ของโรงเรียนบ้านวังยายมาก อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครู จำนวน 5 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 48 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 62 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม เกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยกระบวนการจัดการความรู้ ของโรงเรียนบ้านวังยายมาก อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย จำนวน 53 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยกระบวนการจัดการความรู้ของโรงเรียนบ้านวังยายมาก อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย จำนวน 39 ข้อ ด้านการวิเคราะห์ข้อมูล และด้านการนำข้อมูลไปใช้ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบ ค่าที ( t – test )

ผลการวิจัย พบว่า
1. การพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยกระบวนการจัดการความรู้ของโรงเรียนบ้านวังยายมาก อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ก่อนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยกระบวนการจัดการความรู้ของครู อยู่ในระดับน้อยแต่หลังการการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยกระบวนการจัดการความรู้ของครู อยู่ในระดับมาก ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยกระบวนการจัดการความรู้ของ ครู สูงกว่าก่อนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยกระบวนการจัดการความรู้

2. ความพึงพอใจในการพัฒนาการศึกษาด้วยกระบวนการจัดการความรู้ของโรงเรียนบ้านวังยายมาก อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ก่อนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยกระบวนการจัดการความรู้ของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับน้อย แต่หลังการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยกระบวนการจัดการความรู้ ของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ทั้งนี้ความพึงพอใจของ ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียนสูงกว่าก่อนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยกระบวนการจัดการความรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05