วันศุกร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2554

การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

ชื่อผลงานวิชาการ การพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยกระบวนการจัดการความรู้
ของโรงเรียนบ้านวังยายมาก อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
ชื่อผู้รายงาน นางสาวอินทิรา ฉายแก้ว ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียน
วิทยฐานะ ชำนาญการ
โรงเรียนบ้านวังยายมาก
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2
ปีที่รายงาน 2553

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยกระบวนการจัดการความรู้ของโรงเรียนบ้านวังยายมาก อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครู จำนวน 5 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 48 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 62 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม เกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยกระบวนการจัดการความรู้ ของโรงเรียนบ้านวังยายมาก อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย จำนวน 53 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยกระบวนการจัดการความรู้ของโรงเรียนบ้านวังยายมาก อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย จำนวน 39 ข้อ ด้านการวิเคราะห์ข้อมูล และด้านการนำข้อมูลไปใช้ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบ ค่าที ( t – test )

ผลการวิจัย พบว่า
1. การพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยกระบวนการจัดการความรู้ของโรงเรียนบ้านวังยายมาก อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ก่อนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยกระบวนการจัดการความรู้ของครู อยู่ในระดับน้อยแต่หลังการการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยกระบวนการจัดการความรู้ของครู อยู่ในระดับมาก ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยกระบวนการจัดการความรู้ของ ครู สูงกว่าก่อนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยกระบวนการจัดการความรู้

2. ความพึงพอใจในการพัฒนาการศึกษาด้วยกระบวนการจัดการความรู้ของโรงเรียนบ้านวังยายมาก อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ก่อนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยกระบวนการจัดการความรู้ของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับน้อย แต่หลังการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยกระบวนการจัดการความรู้ ของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ทั้งนี้ความพึงพอใจของ ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียนสูงกว่าก่อนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยกระบวนการจัดการความรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น