วันอาทิตย์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

การบริหารงบประมาณ

ความเป็นมาของงบประมาณ
การจัดทํางบประมาณในแบบปัจจุบันได้เริ่มมีขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศอังกฤษประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 16-17 ซึ่งเป็นสมัยที่สภาผู้แทนราษฎรได้ประสบความสําเร็จในการสงวนอํานาจที่จะอนุมัติรายได้และรายจ่ายของรัฐบาล ซึ่งจะเห็นได้ว่าการจัดทํางบประมาณในแบบปัจจุบันมี ความสัมพันธ์กับวิวัฒนาการการปกครอง ต่อมาได้มีการนําแบบอย่างมาจัดทํางบประมาณขึ้นในหลาย ประเทศ
สําหรับประเทศไทย ในปี พ.ศ.2502 ได้ประกาศใช้ระบบงบประมาณแบบแสดงรายการ( Line item budget )ขึ้นเป็นครั้งแรก จนกระทั่งในปีงบประมาณ 2525 สำนักงบประมาณได้นำระบบงบประมาณแบบแผนงาน ( Program Budgeting ) มาใช้และในปี 2546 ได้ใช้ระบบงบประมาณที่เรียกว่าระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน ( Performance Based Budgeting : PBB ) ที่ให้ความสำคัญกับการกำหนดพันธกิจขององค์การ กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ แผนงาน/โครงการ/งาน อย่างเป็นระบบและมีการติดตามและประเมินผลอย่างสม่ำเสมอ ต่อมาได้มีการปรับระบบงบประมาณให้สามารถวัดผลการดำเนินการที่สอดคล้องกับเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ระดับชาติ ( Strategic Delivery Target ) และเรียกระบบงบประมาณนี้ว่า ระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ ( Strategic Performance Based Budgeting : SPBB ) โดยการจัดทํางบประมาณนั้น รัฐบาลได้เริ่มทําขึ้นก่อนและต่อมาได้ขยาย ขอบเขตไปถึงองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น สถานศึกษาและหน่วยงานอื่น ๆ ทั้งของรัฐบาลและเอกชน


แค่นี้ก่อนนะเดี๋ยวค่อยมาต่อ....................

วันเสาร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

สรุปเกี่ยวกับการลาของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

สรุปเกี่ยวกับการลาของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
1. การบังคับใช้
1) ข้าราชการพลเรือน ข้าราชการครู ยกเว้นข้าราชการทหารและข้าราชการท้องถิ่น
2) ให้ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีรักษาระเบียบนี้
3) กรณีที่ไปช่วยราชการหากต้องการลาก็ขออนุญาตผู้บังคับบัญชาหน่วยงานที่ไปช่วยราชการแล้วให้ หน่วยงานนั้นแจ้งให้ต้นสังกัดทราบอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

2. การนับวันลา
1) ให้นับตามปีงบประมาณ
ข้อสอบ 2) การนับวันลาที่นับเฉพาะวันทำการคือ
- การลาป่วย ( ธรรมดา )
- การลากิจส่วนตัว
- การลาพักผ่อน
3) ข้าราชการที่ถูกเรียกกลับระหว่างลาให้ถือการลาหมดเขตเพียงวันก่อนเดินทางกลับและวันราชการ เริ่มนับตั้งแต่วันเดินทางกลับ

3. การลาครึ่งวัน
ในการลาครึ่งวันในตอนเช้า หรือตอนบ่ายให้นับการลาเป็นครึ่งวัน
การลาให้ใช้ใบลาตามแบบ แต่กรณีจำเป็นหรือรีบด่วนจะใช้ใบลาตามวิธีอื่นก็ได้ แต่ต้องส่งใบลาตามแบบวันในวันแรกที่มาปฏิบัติราชการ
- ข้าราชการที่ประสงค์จะไปต่างประเทศระหว่างลา หรือวันหยุดราชการให้เสนอขออนุญาตต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับจนถึงอธิบดี ( เลขา กพฐ. )
- ข้าราชการส่วนภูมิภาค ขออนุญาตเดินทางไปต่างประเทศที่มีชายแดนติดต่อกับประเทศไทย ขออนุญาตต่อผู้ว่าราชการจังหวัดครั้งหนึ่งไม่เกิน 7 วัน หรือนายอำเภอไม่เกิน 3 วัน
- ข้าราชการผู้ใดไม่สามารถปฏิบัติงานราชการได้ เนื่องจากพฤติกรรมพิเศษ เช่น ฝนตกหนัก ถนนขาด ถูกจับเรียกค่าไถ่ โดยเกิดขึ้นกับบุคคลทั่วไป หรือพฤติกรรมที่เกิดขึ้นกับบุคคลนั้นไม่ได้เกิดจากความประมาทเลินเล่อจนเป็นเหตุขัดขวางไม่สามารถมาปฏิบัติราชการได้ให้รายงานต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับ จนถึงอธิบดี ( เลขา กพฐ. ) หรือผู้ว่าราชการจังหวัด ( สำหรับข้าราชการส่วนภูมิภาค)ทันทีที่มาปฏิบัติราชการได้ ถ้าอธิบดี พิจารณาว่าเป็นจริง ไม่นับเป็นวันลา ถ้าไม่จริงให้นับเป็นลากิจส่วนตัว
********** ข้าราชการครูสังกัด สพฐ. เป็นข้าราชการส่วนกลาง***********

4. ประเภท ของการลามี 9 ประเภท ดังนี้
1. ลาป่วย
2. ลาคลอดบุตร
3. ลากิจส่วนตัว
4. ลาพักผ่อนประจำปี
5. ลาไปอุปสมบทหรือประกอบพิธีฮัทย์
6. ลาตรวจเลือกหือเข้ารับการเตรียมพล
7. ลาศึกษาต่อ ศึกษาอบรมดูงาน หรือปฏิบัติงานวิจัย
8. ลาไปปฏิบัติงานในองค์กรระหว่างประเทศ
9. ลาติดตามคู่สมรสไปต่างประเทศ

การลาป่วย
ข้อสอบ ให้เสนอจัดส่งใบลาก่อนหรือในวันที่ลา เว้นกรณีจำเป็นเสนอส่งใบลาในวันที่ปฏิบัติการได้ถ้าผู้ป่วยไม่สามารถลงชื่อในใบลาได้ ให้ผู้ยื่นลงชื่อแทนได้ แต่ถ้าสามารถเขียนได้ให้ส่งใบลาโดยเร็ว การลาป่วยตั้งแต่ 30 วันขึ้นไป ต้องมีใบรับรองแพทย์

การลาคลอดบุตร
ให้ส่งใบลาก่อนหรือในวันที่ลา ลงชื่อไม่ได้ให้ผู้อื่นลงแทนได้ ลงชื่อได้จัดส่งใบลาโดยเร็ว สิทธิในการลาคลอดบุตรได้ 90 วัน โดยได้รับเงินเดือนโดยไม่ต้องมีใบรับรองแพทย์ อัตราจ้างสามารถลาได้ 45 วันทำการ โดยได้รับเงินเดือน อีก 45 วันให้รับการประกันสังคม
ข้าราชการที่ลาเลี้ยงดูบุตร มีสิทธิลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตรต่อเนื่องจาการลาคลอดบุตร ไม่เกิน 30 วันทำการ โดยได้รับเงินเดือน ถ้าประสงค์จะลาต่ออีกลาได้อีกไม่เกิน 150 ทำการโดยไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือน
ลากิจส่วนตัว + เลี้ยงดูบุตรได้ปีละไม่เกิน 45 วันทำการ
การลากิจส่วนตัวแม้ยังไม่ครบกำหนด ผู้บังคับบัญชาสามารถเรียกมาปฏิบัติราชการก็ได้
การลาคลอดบุตร คาบเกี่ยวกับการลาประเภทใดให้ถือว่าการลาประเภทนั้นสิ้นสุดลงและนับเป็นการลาคลอดบุตรต่อ
การลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตร ผู้บังคับบัญชาไม่สามารถเรียกมาปฏิบัติราชการได้

การลากิจส่วนตัว
การลากิจส่วนตัว ต้องส่งใบลาก่อนเมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงหยุดราชการได้ เว้นแต่เหตุจำเป็นให้หยุดราชการไปก่อนและชี้แจ้งเหตุผลให้ทราบโดยเร็ว ถ้ามีเหตุพิเศษไม่อาจปฏิบัติได้ตามที่กล่าวมาให้เสนอจัดส่งใบลาพร้อมชี้แจงเหตุผลในวันแรกที่มาปฏิบัติราชการ
ลากิจไม่เกิน 45 วันทำการ/ปี

การลาพักผ่อนประจำปี ( ไม่ใช่ลาพักร้อน )
ข้าราชการปีหนึ่งลาพักผ่อนได้ 10 วันทำการ เว้นแต่ข้าราชการต่อไปนี้ รับราชการยังไม่ถึง 6 เดือน
- ในกรณีบรรจุครั้งแรก
- ลาออกจากราชการเพราะเหตุส่วนตัว
- ลาออกเพื่อดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือเลือกตั้ง
ในปีใดที่ข้าราชการไม่ได้ลาพักผ่อนลาไม่ครบ 10 วันทำการ ให้สะสมวันลาที่ยังไม่ลาในปีนั้นรวมกับปีต่อไปได้ แต่ไม่เกิน 20 วันทำการ
รับราชการมาแล้วติดต่อกันไม่น้อยกว่า 10 ปี สามารถลาพักผ่อนสะสมไม่เกิน 30 วันทำการ
ข้าราชการที่ปฏิบัติราชการในโรงเรียน มีวันหยุดภาคเรียน หากได้หยุดราชการตามวันหยุดภาคการศึกษาเกิดกว่าลาพักผ่อน ไม่มีสิทธิลาพักผ่อนได้

การลาอุปสมบทหรือไปประกอบพิธีฮัทย์
ให้ส่งใบลาขออนุญาตต่อเลขา กพฐ. ( ส่งใบลาให้ผอ.ร.ร.ก่อนไม่น้อยกว่า 60 วัน )
ได้รับอนุญาตแล้วต้องอุปสมบทหรือออกเดินทาง ภายใน 10 วัน
กลับมารายงานตัวภายใน 5 วัน นับตั้งแต่ลาสิขา หรือเดินทางกลับถึงเมืองไทย
ลาบวชได้ไม่เกิน 120 วัน

การลาตรวจเลือก หรือเข้ารับการเตรียมพล
คำว่าตรวจเลือก เรียกว่าคัดทหาร การลาตรวจเลือก ให้รายงานต่อผู้บังคับบัญชา ไม่น้อยกว่า 48 ชั่วโมง นับแต่ได้รับหมายเรียกโดยไม่ต้องรอคำสั่งอนุญาต ถ้าพ้นจากการตรวจเลือกจะต้องปฏิบัติราชการภายใน 7 วัน
เตรียมพล เมื่อได้รับใบแดงจะต้องแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาทราบภายใน 48 ชั่วโมง
ออกจากทหาร ขอเข้ารับราชการภายใน 180 วัน

การลาศึกษา ฝึกอบรม ศึกษาปฏิบัติงานวิจัย
ผู้มีอำนาจอนุญาต คือ เลขา กพฐ. ( ในประเทศ มอบให้ ผอ.สพท. ต่างประเทศ เลขา กพฐ. )

การลาไปปฏิบัติงานในองค์กรระหว่างประเทศ
ผู้มีอำนาจอนุญาตคือ รัฐมนตรีเจ้าสังกัด โดยไม่ได้รับเงินเดือน มี 2 ประเภท
1. ประเภทที่ 1 ไม่เกิน 4 ปี
- ประเทศไทยเป็นสมาชิก
- รัฐบาลมีข้อผูกพัน ตามข้อตกลงระหว่างประเทศ
- ส่งไปเพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศ
2. ประเภทที่ 2 ไม่เกิน 2 ปี
- รับราชการไม่น้อยกว่า 5 ปี ยกเว้น สหประชาชาติไม่น้อยกว่า 2 ปี
- อายุไม่เกิน 52 ปี และไม่เคยถูกลงโทษทางวินัย

การลาติดตามคู่สมรสไปปฏิบัติงานต่างประเทศ
ผู้อนุญาต คือ เลขา กพฐ. ลาได้ไม่เกิน 2 ปี ถ้าจำเป็นลาต่ออีกได้ 2 ปี รวมเวลา 4 ปี ถ้าเกินให้ลาออก

ผู้มีอำนาจอนุญาตในการลา

ผู้บริหารสถานศึกษา มีอำนาจอนุญาตการลาของผู้ใต้บังคับบัญชาดังนี้
- ลาป่วย ครั้งหนึ่งไม่เกิน 60 วันทำการ
- ลาคลอด ครั้งหนึ่งไม่เกิน 90 วันทำการ
- ลากิจส่วนตัว ครั้งหนึ่งไม่เกิน 30 วันทำการ


กฎ ก.พ. ว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือน 2544
ปีงบประมาณ เลื่อนขั้นเงินเดือน 2 ครั้ง
ครั้งที่ 1 ( ครึ่งปีแรก ) 1 ตุลาคม ถึง 31 มีนาคม ให้เลื่อนขั้นในวันที่ 1 เมษายน
ครั้งที่ 2 ( ครั้งปี หลัง) 1 เมษายน ถึง 30 กันยายน ให้เลื่อนขั้นเงินเดือนในวันที่ 1 ตุลาคม

หลักเกณฑ์การลาบ่อยครั้งและมาทำงานสาย
1. การลาบ่อยครั้ง
- ข้าราชการปฏิบัติงานตามโรงเรียน ลาเกิน 6 ครั้ง
- ข้าราชการปฏิบัติงานตามสำนักงาน ลาเกิน 8 ครั้ง
**ข้าราชการที่ลาเกินครั้งที่กำหนด ถ้าวันลาไม่เกิน 15 วัน และมีผลงานดีเด่นอาจผ่อนผันให้เลื่อนเงินเดือนได้********

วิสัยทัศน์ ( vision )

สรุปเกี่ยวกับวิสัยทัศน์
วิสัยทัศน์ ( Vision ) เป็นคำที่นิยมใช้เพื่อสื่อความหมายในลักษณะเดียวกับคำว่าจินตภาพ ญาณทรรศน์ และทัศนภาพ
( Vision ) มีคำนิยามตามพจนานุกรมว่า พลังแห่งการมองเห็น จินตนาการ การมองไปข้างหน้า การเข้าใจความจริงบนพื้นฐานของข้อเท็จจริง สิ่งที่มองเห็นด้วยตาของของ หรือพลังแห่งจินตนาการ
มีผู้ให้คำนิยามคำว่า วิสัยทัศน์ ( Vision ) แตกต่างกันออกไปหลายความหมายเช่น หมายถึง
การมองการณ์ไกล
การมองเห็นถึงขอบเขตลักษณะ
การมองเห็นแบบหยั่งรู้
การรู้จักมองไปข้างหน้าว่าจะเกิดอะไรขึ้น
เมื่อพิจารณาจากคำนิยามข้างต้น พอสรุปได้ว่า วิสัยทัศน์ ( Vision ) หมายถึง ศักยภาพของบุคคลในการหยั่งรู้สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เป็นการสร้างภาพอนาคตเพื่อกำหนดเป้าหมายการทำงาน โดยอาศัยข้อมูลข้อเท็จจริงหรือความรู้และพลังแห่งการจินตนาการ
องค์ประกอบของวิสัยทัศน์ 3 ประการ
1. ภารกิจ ( Mission ) คืองานที่หน่วยงาน องค์การ โรงเรียน วิทยาลัยหรือสถานศึกษารับผิดชอบอยู่เป็นหน้าที่หลักของสถานศึกษาแห่งนั้น ๆในแก่นสำคัญ ซึ่งก็คือวิสัยทัศน์ที่สถานศึกษาต้องการเป็นและต้องการให้มีขึ้น
2. สมรรถภาพที่เป็นจุดแข็งแกร่ง ( Capacity ) หรือเป็นจุดเด่นของสถานศึกษาที่ทำให้สถานศึกษาประสบความสำเร็จและมีข้อได้เปรียบในเชิงการแข่งขันหรือเชิงบริหาร ซึ่งก็หมายถึงสิ่งที่ทำให้สถานศึกษาทำได้ดีกว่าคนอื่น เป็นกิจกรรมหรือสมรรถนะเชิงการแข่งขันที่เหนือกว่า
3. ค่านิยม ( Value ) คือคุณค่า ความเชื่อ หรือปรัชญาของสถานศึกษา เป็นคุณค่าและความเชื่อกว้างๆว่าอะไรเป็นสิ่งที่ควรและไม่ควรปฏิบัติในการทำงาน ซึ่งจะถูกยึดถือเป็นแนวปฏิบัติ ที่สอดคล้องกับพฤติกรรมการทำงาน
ระดับของวิสัยทัศน์
วิสัยทัศน์ นำไปใช้ใน 4 ระดับ คือ
1. ตนเองมองภาพอนาคต เกี่ยวกับ อาชีพการงาน เป็นการมองเพื่อตนเอง โดยการมองสภาพภายนอกรอบตัวหน้าที่การงาน หากมีอะไรเปลี่ยนแปลงจะปฏิบัติอย่างไร
2. ตนเองมองภาพอนาคตเกี่ยวกับตนเอง เป็นการมองภายใน มองสุขภาพร่างกายและจิตใจจะพัฒนาร่างกายและจิตใจอย่างไร เป็นการย้อนดีจิตใจ ความผิดหวัง ความสมหวัง ซึ่งมีผลกระทบต่อจิตใจและจะสามารถทำงานภายใต้ความเครียดอย่างไร จะแก้ปัญหาอย่างไร จะพัฒนาอย่างไร ภายใต้สภาวการณ์ที่เปลี่ยนไป
3. การมองภาพอนาคตเกี่ยวกับองค์การ เป็นการศึกษาระบบบริหารที่เหมาะสมกับองค์การเป็นการศึกษาให้รู้ถึงสิ่งที่เกิดขึ้น ที่มีผลกระทบต่อหน่วยงาน เช่นผลกระทบจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ผลกระทบที่เกิดจากสภาพแวดล้อมทางสังคมที่มีต่อหน่วยงาน บุคลากร ในองค์การในกรณีเช่นนี้จะบริหารงานอย่างไร
4. การมองภาพอนาคตเกี่ยวกับองค์การในระบบสังคมโลก ( Globalization ) เป็นการมองคู่แข่งจากประเทศต่างๆสินค้าที่ผลิตจากประเทศอื่น จะเป็นคู่แข่งจากบริษัทในประเทศใดก็ตาม ซึ่งถ้าผลิตสินค้าที่มีคุณภาพดีกว่า แต่ราคาถูกกว่า ก็จะได้เปรียบคู่แข่งอื่นๆเป็นต้น

สมรรถนะ

สมรรถนะต้นแบบในระบบราชการพลเรือนไทย
สมรรถนะ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
1. สมรรถนะหลักสำหรับข้าราชการพลเรือนทุกคน
2. สมรรถนะประจำกลุ่มงานสำหรับแต่ละกลุ่มงาน
สมรรถนะหลัก ( Core competency ) คือคุณลักษณะรวมของข้าราชการพลเรือนไทยทั้งระบบเพื่อหล่อหลอมค่านิยมและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ร่วมกันประกอบด้วย สมรรถนะ 5 สมรรถนะ คือ
1. การมุ่งผลสัมฤทธิ์
2. การบริการที่ดี
3. การสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ
4. จริยธรรม
5. ความร่วมแรงร่วมใจ

สมรรถนะประจำกลุ่มงาน ( Function Competency ) คือสมรรถนะที่กำหนดเฉพาะสำหรับกลุ่มงาน เพื่อสนับสนุนให้ข้าราชการแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมแก่หน้าที่และส่งเสริมให้ข้าราชการปฏิบัติภารกิจในหน้าที่ให้ได้ดียิ่งขึ้น สมรรถนะประจำกลุ่มงานมีทั้งหมด 20 สมรรถนะ ได้แก่
1. การคิดวิเคราะห์
2. การมองภาพองค์รวม
3. การพัฒนาศักยภาพคน
4. การสั่งตามอำนาจหน้าที่
5. การสืบเสาะหาข้อมูล
6. การเข้าใจข้อแตกต่างทางวัฒนธรรม
7. การเข้าใจผู้อื่น
8. ความเข้าใจองค์การ และระบบราชการ
9. การดำเนินการเชิงรุก
10.ความถูกต้องของงาน
11.ความมั่นใจในตนเอง
12.ความยืดหยุ่นผ่อนปรน
13.ศิลปะการสื่อสารจูงใจ
14.สภาวะผู้นำ
15.สุนทรียภาพทางศิลปะ
16.วิสัยทัศน์
17.การวางกลยุทธ์ภาครัฐ
18.ศักยภาพเพื่อนำการเปลี่ยนแปลง
19.การควบคุมตนเอง
20.การให้อำนาจแก่ผู้อื่น

สมรรถนะ ของผู้บริหาร ของ กคศ. กำหนด
แบ่งออกได้เป็น 2 สมรรถนะ ดังนี้
1. สมรรถนะหลัก ( Core competency )
1.1 การม่งผลสัมฤทธิ์
1.2 การบริการที่ดี
1.3 การพัฒนาตนเอง
1.4 การทำงานเป็นทีม
2. สมรรถนะประจำสายงาน ( Function competency )
2.1 การวิเคราะห์และสังเคราะห์
2.2 การสื่อสารและการจูงใจ
2.3 การพัฒนาศักยภาพบุคลากร
2.4 การมีวิสัยทัศน์

วันศุกร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

สวัสดีครับ สำหรับบล๊อกครูสุโขทัย เป็นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการศึกษา....โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่เตรียมตัวสอบครู หรือผู้บริหารสถานศึกษา ที่จะมีมาถึงในไม่ช้า แต่อย่าว่ากันนะขอรับเพราะเกี่ยวกับบล๊อกนี้กำลังศึกษาอยู่(ไม่เก่งนะขอรับ) แนะนำเข้ามาได้เลยว่าจะต้องทำอย่างไรบ้าง แต่ตอนนี้ก็เริ่มที่จะสรุปเนื้อหาสาระที่จะใช้สอบอยู่ รับรองว่าเพื่อนๆสามารถมาศึกษาดูได้ แต่อย่าตั้งความหวังมากนะ