วันพุธที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การวิเคราะห์บริบททางการศึกษา

สวัสดีครับขอต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ครูสุโขทัย ห่างหายไปเกือบปีแล้วซินะ เนื่องจากภาระกิจมากมายเสียเหลือเกิน เอาละมาเริ่มต้นกันใหม่ก็แล้วกันเนอะ วันนี้เรามาเริ่มต้นการบริหารสถานศึกษาแบบจริงๆจังกันเลย โดยเริ่มต้นจาการวิเคราะห์บริบทก่อนก็แล้วกัน
การวิเคราะห์บริบท: ความท้าทายของการบริหารการศึกษาในอนาคต
บริบททางการศึกษา มี 2 ประเภท คือ
1) บริบทที่เป็นความสัมพันธ์ภายในระบบการศึกษา หรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็นพื้นฐานทางการศึกษา ได้แก่ ครู ผู้อำนวยการสถานศึกษา อาคารเรียน งบประมาณ อุปกรณ์การศึกษา เป็นต้น
2) บริบทที่เป็นผลกระทบจากภายนอก ได้แก่ สังคม วัฒนธรรม การเมือง เศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม ประชากรศาสตร์ ความมั่นคงของชาติ เป็นต้น

การวินิจฉัยองค์การคือกระบวนการการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับองค์การ เพื่อทำความเข้าใจสภาพองค์การในปัจจุบันว่ามีความแตกต่างจากสภาพองค์การที่ต้องการจะเป็นในอนาคตอย่างไร ดังนั้นในการวินิจฉัยองค์การจำเป็นจะต้องมีเครื่องมือในการวินิจฉัย ซึ่งมีมากมายแต่ที่นิยมสูงสุดในการนำมาใช้คือ SWOT Analysis การวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง ซึ่งมาจากคำย่อของ 4 คำ ได้แก่
S- Strengths หรือจุดแข็ง
W- Weaknesses หรือจุดอ่อน
O- Opportunities หรือโอกาส
T- Treats หรือภาวะคุกคาม (อุปสรรค)
ซึ่งในการทำ SWOT Analysis ให้มีประสิทธิภาพ จำเป็นจะต้องมีการวิเคราะห์ภายนอกและภายในดังนี้
การวิเคราะห์บริบทภายนอกด้วย C-PEST
C-Customer ,Competitors ลูกค้าหรือผู้รับบริการ เป็นอย่างไรซึ่งในที่นี้หมายถึง นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชนที่อยู่โดยรอบสถานศึกษา
P-Politics สถานการณ์ทางการเมือง นโยบายต่างๆของกระทรวงศึกษาธิการ สพฐ. เช่น พรบ. กฏระเบียบต่างๆ
E- Economics, Environment สภาพแวดล้อมหรือสภาพเศรษฐกิจ ของชุมชนที่อยู่โดยรอบสถานศึกษา
S- Society สภาพสังคม วัฒนธรรม ค่านิยม ของประชาชนที่อาศัยอยู่โดยรองสถานศึกษา
T- Technology เทคโนโลยี ระบบสารสนเทศ เทคโนโลยีทางการศึกษา การศึกษาใหม่ๆทีเกิดขึ้น
การวิเคราะห์บริบทภายในด้วย 7Ss
S- Strategy ยุทธศาสตร์ ทิศทางและขอบเขตที่องค์การจะดำเนินไปในระยะยาวนั้นเป็นอย่างไร
S- Structure โครงสร้างองค์การ มีการแบ่งงาน หน้าที่ความรับผิดชอบอย่างไร
S- System ระบบงานที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการในการดำเนินงานขององค์การนั้นเป็นอย่างไร เช่นระบบการเงิน ระบบพัสดุ ระบบการติดตาม เป็นต้น
S- Skill ทักษะ ความสามารถหรือปัจจุบันในระบบราชการใช้คำว่าสมรรถนะของบุคลากรในองค์กรเป็นอย่างไร
S- Shared values ค่านิยมร่วม หมายถึงสิ่งบุคลากรส่วนใหญ่ในองค์การเห็นว่าเป็นสิ่งดี พึงปฏิบัติจนกลายเป็นวัฒนธรรมในการทำงานทำให้เกิดปทัสถาน ขององค์การ
S- Staff บุคลากรในองค์กรเป็นอย่างไร มีจำนวนเพียงพอและเหมาะสมกับความต้องการหรือไม่ และมีบุคลากรที่จะตอบสนองการเติบโตขององค์การในอนาคตหรือไม่
S- Style รูปแบบการบริหารจัดการองค์การของผู้บริหารเป็นอย่างไร ภาวะผู้นำของผู้บริหาร

เป็นอย่างไรบ้างครับ หวังว่าคงเข้าใจนะครับเพราะว่าสรุปเฉพาะสิ่งที่จะเป็นและนำไปอ่านสอบนะขอรับจำให้ได้ก็แล้วกันส่วนรายละเอียดผมว่าทุกคนคงเข้าใจกันดีอยู่แล้วละนะ เดี๋ยวคราวหน้าเรามาศึกษาการบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล ก้อแล้วกันนะครับ ส่วนวันนี้ขอฝากข้อคิดไว้ว่า ปัญหามีไว้ให้แก้ ไม่ใช่มีไว้เพื่อปวดหัวนะครับ เพราะฉะนั้นทุกปัญหามีทางแก้ แต่ถ้าแก้ไม่ได้เขาไม่เรียกว่าปัญหาครับ.........

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น