วันนี้ ครูสุโขทัย เดินทางมาพบท่านอีกแล้วนะขอรับ โดยจะเสนอเกี่ยวกับการบริหารทั่วไป ซึ่งวันนี้จะสรุปเกี่ยวกับงานสารบรรณ ก็หวังว่าทุกท่านที่อ่านจะเข้าใจง่ายและสามารถนำไปใช้ได้ ก็เริ่มเลยละกัน
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526 ( ฉ.2 พ.ศ.2548 )
งานสารบรรณ หมายถึง งานที่เกี่ยวกับการบริหารเอกสาร เริ่มตั้งแต่ การจัดทำ การรับ การส่ง การเก็บรักษา การยืม จนถึงการทำลาย
หนังสือราชการ มี 6 ชนิด
1. หนังสือภายนอก คือ หนังสือที่ติดต่อราชการเป็นแบบพิธี โดยใช้กระดาษตราครุฑ เป็นหนังสือที่ติดต่อระหว่างส่วนราชการกับส่วนราชการ หรือส่วนราชการถึงหน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการหรือส่วนราชการถึงบุคคลภายนอก
2. หนังสือภายใน คือหนังสือ ที่ติดต่อราชการเป็นแบบพิธีน้อยกว่าหนังสือภายนอก เป็นหนังสือที่ติดต่อภายในกระทรวง ทบวง กรม หรือจังหวัดเดียวกัน ใช้กระดาษบันทึกข้อความ
3. หนังสือประทับตรา คือหนังสือที่ใช้ประทับตราแทนการลงชื่อ ของหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไป โดยให้หัวหน้าส่วนราชการระดับกองหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไปเป็นผู้รับผิดชอบลงชื่อย่อกำกับตรา หนังสือประทับตราให้ใช้ได้ทั้งส่วนราชการกับส่วนราชการและส่วนราชการกับบุคคลภายนอก ( เฉพาะในกรณีไม่ใช่เรื่องสำคัญ) เช่น
- การขอรายละเอียดเพิ่มเติม
- การส่งสำเนาหนังสือ สิ่งของ เอกสารหรือบรรณสาร
- การตอบรับทราบที่ไม่เกี่ยวกับราชการสำคัญ หรือการเงิน
- การแจ้งผลงานที่ได้ดำเนินการไปแล้วให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทราบ
- การเตือนเรื่องที่ค้าง
- เรื่องซึ่งหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไปกำหนดโดยทำเป็นคำสั่งให้ใช้หนังสือประทับตรา
4. หนังสือสั่งการ มี 3 ชนิด
1. คำสั่ง คือบรรดาที่ข้อความที่ผู้บังคับบัญชา สั่งให้ปฏิบัติ โดยชอบด้วยกฎหมายใช้กระดาษตราครุฑ
2. ระเบียบ คือบรรดาข้อความที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ได้วางเอาไว้ โดยอาศัยอำนาจของกฎหมายหรือไม่ก็ได้ เพื่อถือเป็นหลักปฏิบัติงานเป็นประจำ ใช้กระดาษตราครุฑ
3. ข้อบังคับ คือ บรรดาข้อความที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ กำหนดให้ใช้ โดยอาศัยอำนาจของกฎหมายที่บัญญัติให้กระทำได้ ใช้กระดาษตราครุฑ
5. หนังสือประชาสัมพันธ์ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
1. ประกาศ คือบรรดาข้อความที่ทางราชการประกาศ หรือชี้แจงให้ทราบ หรือแนวทางปฏิบัติ ใช้กระดาษตราครุฑ
2. แถลงการณ์ คือบรรดาข้อความที่ทางราชการแถลงเพื่อทำความเข้าใจ ในกิจกรรมของทางราชการหรือเหตุการณ์หรือกรณีใดๆให้ทราบชัดเจนโดยทั่วกันใช้กระดาษตราครุฑ
3. ข่าว คือบรรดาที่ข้อความที่ทางราชการเห็นสมควรเผยแพร่ให้ทราบ ไม่ใช้กระดาษตราครุฑ
6. หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ มี ดังนี้
1. หนังสือรับรอง คือหนังสือที่ส่วนราชการออกให้เพื่อรับรองแก่บุคคล นิติบุคคลหรือหน่วยงาน เพื่อวัตถุประสงค์อย่างหนึ่ง อย่างใดให้ปรากฏแก่บุคคลโดยทั่วไปไม่จำเพาะเจาะจง ใช้กระดาษตราครุฑ
2. รายงานการประชุม คือบันทึกความคิดเห็นของผู้ประชุมผู้เข้าร่วมประชุมและมติของที่ประชุมไว้เป็นหลักฐาน ไม่ใช้กระดาษตราครุฑ ( ผู้ที่สำคัญที่สุดคือเลขานุการ ,หัวใจสำคัญที่สุดคือระเบียบวาระการประชุม)
3. บันทึก คือข้อความที่ผู้ใต้บังคับบัญชาเสนอต่อผู้บังคับบัญชา หรือผู้บังคับบัญชาสั่งการแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาหรือข้อความที่เจ้าหน้าที่ หรือหน่วยงานระดับต่ำกว่าส่วนราชการระดับกรมติดต่อกันในการปฏิบัติราชการ โดยปกติให้ใช้กระดาษบันทึกข้อความ
4. หนังสืออื่น คือหนังสือหรือเอกสารอื่นใดที่เกิดขึ้นเนื่องจากการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เพื่อเป็นหลักฐานในทางราชการ ซึ่งรวมถึง ภาพถ่าย ฟิล์ม แถบบันทึกเสียง แถบบันทึกภาพและสื่อกลางบันทึกข้อมูลด้วย หรือหนังสือของบุคคลภายนอกที่ยื่นต่อเจ้าหน้าที่และเจ้าหน้าที่ได้รับเข้าทะเบียนรับหนังสือของทางราชการแล้วมีรูปแบบตามที่กระทรวง ทบวง กรมจะกำหนดขึ้นใช้ตามความเหมาะสม เว้นแต่มีแบบตามกฎหมายเฉพาะเรื่องให้ทำตามแบบ เช่นโฉนด แผนที่ แบบ ผนัง สัญญา หลักฐานการสืบสวนและสอบสวน และคำร้อง เป็นต้น
สื่อกลางบันทึกข้อมูล หมายถึง สื่อใดๆที่อาจใช้บันทึกข้อมูลได้ด้วยอุปกรณ์ทางอิเลคทรอนิกส์ เช่น แผนบันทึกข้อมูล เทปแม่เหล็ก จานแม่เหล็ก แผ่นซีดี-อ่านอย่างเดียว หรือแผ่นดิจิทัลเอนกประสงค์ เป็นต้น
พอแค่นี้ก่อนละกันนะเดี๋ยวค่อยมาว่ากันใหม่ .............
วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2552
วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2552
คุณธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา
วันนี้ ครูสุโขทัย ขอเสนอเกี่ยวกับคุณธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อให้ผู้ที่จะเข้าสู่ตำแหน่งได้ศึกษาคุณธรรมให้ลึกซึ่ง และสามารถนำไปใช้ในการทำงานได้
คุณธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา
ธรรมะ ข้อควรประพฤติปฏิบัติ
หลักธรรม หมวดหมู่แห่งธรรม
คุณธรรม ความดีงามในจิตใจซึ่งทำให้เคยชินประพฤติดี
ธรรมะที่ดีงามที่ควรครองไว้ในใจ
จริยธรรม ธรรมะที่ดีงามที่แสดงออกทางกาย
วัฒนธรรม สิ่งดีงามที่ยึดถือปฏิบัติสืบทอดกันมา
ค่านิยม คุณธรรมพื้นฐานที่ยึดถือเป็นวิถีชีวิต
มนุษยธรรม ธรรมะพื้นฐานที่มนุษย์ควรยึดถือปฏิบัติ( ศีล 5 )
คุณธรรมและจริยธรรมสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา - ข้อวัตรที่ผู้บริหารควรศึกษาควรรู้
- ข้อปฏิบัติที่ผู้บริหารควรยึดถือปฏิบัติ
- ข้อความดีที่ผู้บริหารควรนำมาครองใจ
คุณธรรมหลัก 4 ประการ ของอริสโตเติล
1. ความรอบคอบ 2. ความกล้าหาญ 3. การรู้จักประมาณ 4. ความยุติธรรม
พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
1. การรักษาความสัตย์ 2. การรู้จักข่มใจตัวเอง 3. การอดทน อดกลั้นและอดออม
4. การรู้จักละวางความชั่ว
ค่านิยมพื้นฐาน 5 ประการ
1. การพึ่งตนเอง 2. การประหยัดและอดออม
3. การมีระเบียบวินัย 4. การปฏิบัติตามคุณธรรม
5. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์
ทศพิธราชธรรม ธรรมของผู้ปกครอง
1. ทาน- การให้ 2. ศีล – การควบคุมกายวาจา
3. บริจาค- การเสียสละ 4. อาชวะ – ซื่อตรง
5. มัทวะ – อ่อนโยน 6. ตบะ - ความเพียร
7. อักโกธะ- ไม่โกรธ 8. อวิหิงสา- ไม่เบียดเบียน
9. ขันติ – อดทน 10. อวิโรธนะ – ไม่ผิดธรรม
พรหมวิหาร 4 คุณธรรมของท่านผู้เป็นใหญ่
1. เมตตา – รักใคร่ 2. กรุณา – สงสาร
3. มุทิตา – พลอยยินดี 4. อุเบกขา – วางเฉย
ประโยชน์ - ทำให้ผู้อื่นรักใคร่ นับถือ จงรักภักดี
- เป็นผู้มีน้ำใจนักกีฬา
อิทธิบาท 4 คุณธรรมเครื่องทำให้ประสบความสำเร็จ
1. ฉันทะ – พอใจ 2. วิริยะ – เพียร 3. จิตตะ-ฝักใฝ่ 4. วิมังสา – ตริตรอง
ประโยชน์ - พอใจในงาน ไม่เบื่อ มีความเพียร ศึกษาค้นคว้าปฏิบัติงานจนสำเร็จ
สังคหวัตถุ 4 คุณธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวใจคน
1. ทาน – ให้ปัน 2. ปิยวาจา – วาจาอ่อนหวาน
3. อัตถจริยา – ประพฤติประโยชน์ต่อผู้อื่น 4. สมานัตตา – ไม่ถือตัว
ประโยชน์ - ทำให้ผู้อื่นรักใคร่ นับถือ ยึดเหนี่ยวน้ำใจผู้อื่น
ธรรมมีอุปการะมาก - สติสัมปชัญญะ ช่วยไม่ให้เกิดความเสียหาย
- นาถกรณธรรมหรือพหุการธรรม
สัปปุริสธรรม 7 ธรรมของสัตบุรุษ
1. ธัมมัญญุตา รู้จักเหตุ
2. อัตถัญญุตา รู้จักผล
3. อัตตัญญุตา รู้จักตน
4. มัตตัญญุตา รู้จักประมาณ
5. กาลัญญุตา รู้จักกาล
6. ปริสัญญุตา รู้จักชุมชน
7. ปุคคลัญญุตา รู้จักคนควรคบ( บุคคล)
ประโยชน์
ข้อ 1 – 2 ช่วยให้มีเหตุผลไม่งมงาย
ข้อ 3 – 4 ช่วยให้รู้จักวางตัวเหมาะสม
ข้อ 5 ช่วยให้เป็นผู้ทันสมัยก้าวหน้าในงาน
ข้อ 6 – 7 ช่วยให้รู้เท่าทันเหตุการณ์
อธิษฐานธรรม ธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ
1. ปัญญา - รอบรู้ 2. สัจจะ - ความจริงใจ
3. จาคะ – สละสิ่งที่ไม่จริงใจ 4. อุปสมะ – สงบใจ
ขันติโสรัจจะ – ธรรมอันทำให้งาม ความอดทน สงบเสงี่ยม เป็นเครื่องประดับของนักปราชญ์
หิริโอตตัปปะ – ธรรมเป็นโลกบาลหรือธรรมคุ้มครองโลก
หิริ – ละอายในการทำบาป
โอตตัปปะ – เกรงกลัวต่อบาปและผลแห่งบาป
อคติ 4 - สิ่งที่ไม่ควรประพฤติ
1. ฉันทาคติ - ลำเอียงเพราะรัก 2. โทสาคติ – ลำเอียงเพราะชัง
3. โมหาคติ - ลำเอียงเพราะเขลา 4. ภยาคติ - ลำเอียงเพราะกลัว
พละ 5 - ธรรมเป็นกำลัง 5 อย่าง ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา
เบญจธรรม - ศีล 5 ข้อ ควรงดเว้น 5 ประการ ทำให้ก้าวหน้าในชีวิต เกิดความสบายใจไม่ทุกข์ร้อน
นิวรณ์ 5 - ธรรมอันกั้นจิตไม่ให้บรรลุความดี
1. กามฉันท์ - ใคร่ในกาม 2. พยาบาท - ปองร้าย
3. ถีนมิทธ - ง่วงเหงา 4. อุทธัจจกุกกุจจะ - ฟุ้งซ่าน
5. วิจิกิจฉา – ลังเล สงสัย
มรรค 8 - แม่บทแห่งการปฏิบัติของบุคคล
1. สัมมาทิฏฐิ - ปัญญาชอบ 2. สัมมาสังกัปปะ - ดำริชอบ
3. สัมมาวาจา - เจรจาชอบ 4. สัมมากัมมันตะ - ทำการงานชอบ
5. สัมมาอาชีวะ - เลี้ยงชีวิตชอบ 6. สัมมาวายามะ - เพียรชอบ
7. สัมมาสติ - ระลึกชอบ 8. สัมมาสมาธิ - ตั้งใจชอบ
เวสารัชชกรณธรรม - ธรรมทำความกล้าหาญ 5 อย่าง
1. สัทธา - ทำให้ใจหนักแน่น 2. ศีล - บังคับตนไม่ทำผิด
3. พาหะสัจจะ - ทำงานตามหลักวิชา 4. วิริยารัมภะ - ป้องกันความโลเล
5. ปัญญา - ช่วยให้เห็นทางถูกผิด
อภิณหปัจจเวกขณ์ - ธรรมแห่งความไม่ประมาท
- การพิจารณาเป็นประจำในเรื่องความแก่ เจ็บ ตาย การพลัดพราก กรรมทำให้ไม่ประมาทในการสร้างกรรมดี
สาราณิยธรรม - ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึง
อปริหานิยธรรม - ธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม
ฆราวาสธรรม - ธรรมของผู้ครองเรือน
1. สัจจะ – สัตย์ซื่อแก่กัน 2. ทมะ – รู้จักข่มจิตของตน
3. ขันติ – อดทน 4. จาคะ – สละให้เป็นสิ่งของของตนแก่คนที่ควร
กุศลกรรมบท - ทางแห่งความดี 10 อย่าง กายสุจริต 3 วจีสุจริต 4 มโนสุจริต 3
ปธาน - ความเพียร 4 อย่าง
1. สังวรปธาน - เพียรไม่ให้เกิดบาป 2. ปหานปธาน - เพียรละบาป
3. ภาวนาปธาน – เพียรให้กุศลเกิด 4. อนุรักษขนาปธาน – เพียรรักษากุศล
บุญกิริยาวัตถุ 3 - หลักของการทำบุญ
1. ทานมัย – บริจาคทาน 2. ศีลมัย – รักษาศีล
3. ภาวนามัย – เจริญภาวนา
ทิศ 6 - บุคคล 6 ประเภท
1. ปุรัตถิมทิศ - ทิศเบื้องหน้า ( บิดา มารดา )
2. ทักขิณทิศ - ทิศเบื้องขวา ( ครูบา อาจารย์ )
3. ปัจฉิมทิศ - ทิศเบื้องหลัง ( บุตร ภรรยา )
4. อุตตรทิศ - ทิศเบื้องซ้าย ( มิตร สหาย )
5. เหฏฐิมทิศ - ทิศเบื้องต่ำ ( ผู้ใต้บังคับบัญชา บ่าว )
6. อุปริมทิศ - ทิศเบื้องบน ( ผู้บังคับบัญชา สมณพราหมณ์ )
โลกธรรม 8 - ธรรมดาของโลก แบ่งเป็น 2 ฝ่าย
1. อฏฐารมณ์ 4 - ฝ่ายได้ ได้ลาภ ได้ยศ ได้รับการสรรเสริญ ได้สุข
2. อนิฏฐารมณ์ 4 ฝ่ายเสื่อม เสื่อมลาภ เสื่อมยศ ถูกนินทา ได้ทุกข์
อริยทรัพย์ 7 - ความดีที่มีในสันดานอย่างประเสริฐ
1. ศรัทธา 2. ศีล 3. หิริ 4. โอตตัปปะ
5. พาหุสัจจะ 6. จาคะ 7. ปัญญา
อริยสัจ 4 ความจริงอันประเสริฐ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
ขันธ์ 5 รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
สามัญลักษณะ ไตรลักษณ์ ลักษณะที่เสมอกันแก่สังขารทั้งปวง
1. อนิจจตา ไตรลักษณ์ ลักษณะที่เสมอกันแก่สังขารทั้งปวง
2. ทุกขตา ความเป็นทุกข์
3. อนัตตา ความไม่ใช่ของตน
จักรธรรม 4 ธรรมเหมือนวงล้อนำสู่ความเจริญ
1. ปฏิรูปเทสวาหะ อยู่ในประเทศอันควร
2. สัปปุริสูบัสสยะ คบสัตบุรุษ
3. อัตตสัมมาปณิธิ ตั้งตนไว้ชอบ
4. ปุพเพกตปุญญตา ทำดีไว้ในปางก่อน
ธรรมะกับหลักการบริหาร
1. นิคัญเห นิคคัญหารหัง ข่มคนที่คนข่ม
2. ปัคคัญเห ปัคคัญหารหัง ยกย่องคนที่ควรยกย่อง
3. ทิฏฐานุคติ ทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดี
การเข้าถึงพระธรรม 3 ขั้น
1. ปริยัติธรรม ศึกษาหลักคำสอน
2. ปฏิบัติธรรม ลงมือปฏิบัติธรรม
3. ปฏิเวชธรรม ได้รับผล
วัฒนธรรม ลักษณะที่แสดงถึงความเจริญ เป็นระเบียบก้าวหน้าและมีศีลธรรม
วัฒนธรรมไทย แบ่งออกเป็น 4 อย่าง
1. คติธรรม ทางหรือหลักในการดำเนินชีวิต เกี่ยวกับจิตใจ
2. เนติธรรม เกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของบุคคล
3. วัตถุธรรม เกี่ยวกับความสะดวกสบายใจในการครองชีพ ปัจจัย 4 ศิลปะ
4. สหธรรม คุณธรรมทำให้คนอยู่ร่วมกันอย่างมีระเบียบ มารยาท
ประเพณี สิ่งที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา
อารยธรรม ความเจริญที่สูงเด่นเมื่อเปรียบเทียบกับวัฒนธรรมผู้อื่น
จรรยาวิชาชีพ กฎเกณฑ์ความประพฤติ มารยาทในการประกอบอาชีพ
จรรยาบรรณ ประมวลกฎเกณฑ์ ความประพฤติ มารยาทของผู้ประกอบอาชีพ
คุณธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา
ธรรมะ ข้อควรประพฤติปฏิบัติ
หลักธรรม หมวดหมู่แห่งธรรม
คุณธรรม ความดีงามในจิตใจซึ่งทำให้เคยชินประพฤติดี
ธรรมะที่ดีงามที่ควรครองไว้ในใจ
จริยธรรม ธรรมะที่ดีงามที่แสดงออกทางกาย
วัฒนธรรม สิ่งดีงามที่ยึดถือปฏิบัติสืบทอดกันมา
ค่านิยม คุณธรรมพื้นฐานที่ยึดถือเป็นวิถีชีวิต
มนุษยธรรม ธรรมะพื้นฐานที่มนุษย์ควรยึดถือปฏิบัติ( ศีล 5 )
คุณธรรมและจริยธรรมสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา - ข้อวัตรที่ผู้บริหารควรศึกษาควรรู้
- ข้อปฏิบัติที่ผู้บริหารควรยึดถือปฏิบัติ
- ข้อความดีที่ผู้บริหารควรนำมาครองใจ
คุณธรรมหลัก 4 ประการ ของอริสโตเติล
1. ความรอบคอบ 2. ความกล้าหาญ 3. การรู้จักประมาณ 4. ความยุติธรรม
พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
1. การรักษาความสัตย์ 2. การรู้จักข่มใจตัวเอง 3. การอดทน อดกลั้นและอดออม
4. การรู้จักละวางความชั่ว
ค่านิยมพื้นฐาน 5 ประการ
1. การพึ่งตนเอง 2. การประหยัดและอดออม
3. การมีระเบียบวินัย 4. การปฏิบัติตามคุณธรรม
5. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์
ทศพิธราชธรรม ธรรมของผู้ปกครอง
1. ทาน- การให้ 2. ศีล – การควบคุมกายวาจา
3. บริจาค- การเสียสละ 4. อาชวะ – ซื่อตรง
5. มัทวะ – อ่อนโยน 6. ตบะ - ความเพียร
7. อักโกธะ- ไม่โกรธ 8. อวิหิงสา- ไม่เบียดเบียน
9. ขันติ – อดทน 10. อวิโรธนะ – ไม่ผิดธรรม
พรหมวิหาร 4 คุณธรรมของท่านผู้เป็นใหญ่
1. เมตตา – รักใคร่ 2. กรุณา – สงสาร
3. มุทิตา – พลอยยินดี 4. อุเบกขา – วางเฉย
ประโยชน์ - ทำให้ผู้อื่นรักใคร่ นับถือ จงรักภักดี
- เป็นผู้มีน้ำใจนักกีฬา
อิทธิบาท 4 คุณธรรมเครื่องทำให้ประสบความสำเร็จ
1. ฉันทะ – พอใจ 2. วิริยะ – เพียร 3. จิตตะ-ฝักใฝ่ 4. วิมังสา – ตริตรอง
ประโยชน์ - พอใจในงาน ไม่เบื่อ มีความเพียร ศึกษาค้นคว้าปฏิบัติงานจนสำเร็จ
สังคหวัตถุ 4 คุณธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวใจคน
1. ทาน – ให้ปัน 2. ปิยวาจา – วาจาอ่อนหวาน
3. อัตถจริยา – ประพฤติประโยชน์ต่อผู้อื่น 4. สมานัตตา – ไม่ถือตัว
ประโยชน์ - ทำให้ผู้อื่นรักใคร่ นับถือ ยึดเหนี่ยวน้ำใจผู้อื่น
ธรรมมีอุปการะมาก - สติสัมปชัญญะ ช่วยไม่ให้เกิดความเสียหาย
- นาถกรณธรรมหรือพหุการธรรม
สัปปุริสธรรม 7 ธรรมของสัตบุรุษ
1. ธัมมัญญุตา รู้จักเหตุ
2. อัตถัญญุตา รู้จักผล
3. อัตตัญญุตา รู้จักตน
4. มัตตัญญุตา รู้จักประมาณ
5. กาลัญญุตา รู้จักกาล
6. ปริสัญญุตา รู้จักชุมชน
7. ปุคคลัญญุตา รู้จักคนควรคบ( บุคคล)
ประโยชน์
ข้อ 1 – 2 ช่วยให้มีเหตุผลไม่งมงาย
ข้อ 3 – 4 ช่วยให้รู้จักวางตัวเหมาะสม
ข้อ 5 ช่วยให้เป็นผู้ทันสมัยก้าวหน้าในงาน
ข้อ 6 – 7 ช่วยให้รู้เท่าทันเหตุการณ์
อธิษฐานธรรม ธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ
1. ปัญญา - รอบรู้ 2. สัจจะ - ความจริงใจ
3. จาคะ – สละสิ่งที่ไม่จริงใจ 4. อุปสมะ – สงบใจ
ขันติโสรัจจะ – ธรรมอันทำให้งาม ความอดทน สงบเสงี่ยม เป็นเครื่องประดับของนักปราชญ์
หิริโอตตัปปะ – ธรรมเป็นโลกบาลหรือธรรมคุ้มครองโลก
หิริ – ละอายในการทำบาป
โอตตัปปะ – เกรงกลัวต่อบาปและผลแห่งบาป
อคติ 4 - สิ่งที่ไม่ควรประพฤติ
1. ฉันทาคติ - ลำเอียงเพราะรัก 2. โทสาคติ – ลำเอียงเพราะชัง
3. โมหาคติ - ลำเอียงเพราะเขลา 4. ภยาคติ - ลำเอียงเพราะกลัว
พละ 5 - ธรรมเป็นกำลัง 5 อย่าง ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา
เบญจธรรม - ศีล 5 ข้อ ควรงดเว้น 5 ประการ ทำให้ก้าวหน้าในชีวิต เกิดความสบายใจไม่ทุกข์ร้อน
นิวรณ์ 5 - ธรรมอันกั้นจิตไม่ให้บรรลุความดี
1. กามฉันท์ - ใคร่ในกาม 2. พยาบาท - ปองร้าย
3. ถีนมิทธ - ง่วงเหงา 4. อุทธัจจกุกกุจจะ - ฟุ้งซ่าน
5. วิจิกิจฉา – ลังเล สงสัย
มรรค 8 - แม่บทแห่งการปฏิบัติของบุคคล
1. สัมมาทิฏฐิ - ปัญญาชอบ 2. สัมมาสังกัปปะ - ดำริชอบ
3. สัมมาวาจา - เจรจาชอบ 4. สัมมากัมมันตะ - ทำการงานชอบ
5. สัมมาอาชีวะ - เลี้ยงชีวิตชอบ 6. สัมมาวายามะ - เพียรชอบ
7. สัมมาสติ - ระลึกชอบ 8. สัมมาสมาธิ - ตั้งใจชอบ
เวสารัชชกรณธรรม - ธรรมทำความกล้าหาญ 5 อย่าง
1. สัทธา - ทำให้ใจหนักแน่น 2. ศีล - บังคับตนไม่ทำผิด
3. พาหะสัจจะ - ทำงานตามหลักวิชา 4. วิริยารัมภะ - ป้องกันความโลเล
5. ปัญญา - ช่วยให้เห็นทางถูกผิด
อภิณหปัจจเวกขณ์ - ธรรมแห่งความไม่ประมาท
- การพิจารณาเป็นประจำในเรื่องความแก่ เจ็บ ตาย การพลัดพราก กรรมทำให้ไม่ประมาทในการสร้างกรรมดี
สาราณิยธรรม - ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึง
อปริหานิยธรรม - ธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม
ฆราวาสธรรม - ธรรมของผู้ครองเรือน
1. สัจจะ – สัตย์ซื่อแก่กัน 2. ทมะ – รู้จักข่มจิตของตน
3. ขันติ – อดทน 4. จาคะ – สละให้เป็นสิ่งของของตนแก่คนที่ควร
กุศลกรรมบท - ทางแห่งความดี 10 อย่าง กายสุจริต 3 วจีสุจริต 4 มโนสุจริต 3
ปธาน - ความเพียร 4 อย่าง
1. สังวรปธาน - เพียรไม่ให้เกิดบาป 2. ปหานปธาน - เพียรละบาป
3. ภาวนาปธาน – เพียรให้กุศลเกิด 4. อนุรักษขนาปธาน – เพียรรักษากุศล
บุญกิริยาวัตถุ 3 - หลักของการทำบุญ
1. ทานมัย – บริจาคทาน 2. ศีลมัย – รักษาศีล
3. ภาวนามัย – เจริญภาวนา
ทิศ 6 - บุคคล 6 ประเภท
1. ปุรัตถิมทิศ - ทิศเบื้องหน้า ( บิดา มารดา )
2. ทักขิณทิศ - ทิศเบื้องขวา ( ครูบา อาจารย์ )
3. ปัจฉิมทิศ - ทิศเบื้องหลัง ( บุตร ภรรยา )
4. อุตตรทิศ - ทิศเบื้องซ้าย ( มิตร สหาย )
5. เหฏฐิมทิศ - ทิศเบื้องต่ำ ( ผู้ใต้บังคับบัญชา บ่าว )
6. อุปริมทิศ - ทิศเบื้องบน ( ผู้บังคับบัญชา สมณพราหมณ์ )
โลกธรรม 8 - ธรรมดาของโลก แบ่งเป็น 2 ฝ่าย
1. อฏฐารมณ์ 4 - ฝ่ายได้ ได้ลาภ ได้ยศ ได้รับการสรรเสริญ ได้สุข
2. อนิฏฐารมณ์ 4 ฝ่ายเสื่อม เสื่อมลาภ เสื่อมยศ ถูกนินทา ได้ทุกข์
อริยทรัพย์ 7 - ความดีที่มีในสันดานอย่างประเสริฐ
1. ศรัทธา 2. ศีล 3. หิริ 4. โอตตัปปะ
5. พาหุสัจจะ 6. จาคะ 7. ปัญญา
อริยสัจ 4 ความจริงอันประเสริฐ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
ขันธ์ 5 รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
สามัญลักษณะ ไตรลักษณ์ ลักษณะที่เสมอกันแก่สังขารทั้งปวง
1. อนิจจตา ไตรลักษณ์ ลักษณะที่เสมอกันแก่สังขารทั้งปวง
2. ทุกขตา ความเป็นทุกข์
3. อนัตตา ความไม่ใช่ของตน
จักรธรรม 4 ธรรมเหมือนวงล้อนำสู่ความเจริญ
1. ปฏิรูปเทสวาหะ อยู่ในประเทศอันควร
2. สัปปุริสูบัสสยะ คบสัตบุรุษ
3. อัตตสัมมาปณิธิ ตั้งตนไว้ชอบ
4. ปุพเพกตปุญญตา ทำดีไว้ในปางก่อน
ธรรมะกับหลักการบริหาร
1. นิคัญเห นิคคัญหารหัง ข่มคนที่คนข่ม
2. ปัคคัญเห ปัคคัญหารหัง ยกย่องคนที่ควรยกย่อง
3. ทิฏฐานุคติ ทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดี
การเข้าถึงพระธรรม 3 ขั้น
1. ปริยัติธรรม ศึกษาหลักคำสอน
2. ปฏิบัติธรรม ลงมือปฏิบัติธรรม
3. ปฏิเวชธรรม ได้รับผล
วัฒนธรรม ลักษณะที่แสดงถึงความเจริญ เป็นระเบียบก้าวหน้าและมีศีลธรรม
วัฒนธรรมไทย แบ่งออกเป็น 4 อย่าง
1. คติธรรม ทางหรือหลักในการดำเนินชีวิต เกี่ยวกับจิตใจ
2. เนติธรรม เกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของบุคคล
3. วัตถุธรรม เกี่ยวกับความสะดวกสบายใจในการครองชีพ ปัจจัย 4 ศิลปะ
4. สหธรรม คุณธรรมทำให้คนอยู่ร่วมกันอย่างมีระเบียบ มารยาท
ประเพณี สิ่งที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา
อารยธรรม ความเจริญที่สูงเด่นเมื่อเปรียบเทียบกับวัฒนธรรมผู้อื่น
จรรยาวิชาชีพ กฎเกณฑ์ความประพฤติ มารยาทในการประกอบอาชีพ
จรรยาบรรณ ประมวลกฎเกณฑ์ ความประพฤติ มารยาทของผู้ประกอบอาชีพ
วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2552
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
วันนี้ครูสุโขทัย ได้ไปอ่านเกี่ยวกับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ก็เลยนำให้ทุกๆได้อ่านกันหวังว่าจะนำไปใช้ในการสอบได้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก และเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย พ.ศ.2536
1. เครื่องราชอิสริยาภรณ์ หมายความว่า เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องราชอิสริยาภรณ์ช้างเผือก หรือเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทยตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎไทย แล้วแต่กรณี
2. ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามระเบียบนี้
การเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้เริ่มจากเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย มีจำนวน 8 ชั้นตรา และเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก มีจำนวน 8 ชั้นตรา สลับกัน โดยเลื่อนชั้นตราตามลำดับจากชั้นล่างสุดจนถึงชั้นสูงสุดตามลำดับ ดังนี้
1. ชั้นที่ 7 เหรียญเงินมงกุฎไทย ( ร.ง.ม. )
2. ชั้นที่ 7 เหรียญเงินช้างเผือก ( ร.ง.ช. )
3. ชั้นที่ 6 เหรียญทองมงกุฎไทย ( ร.ท.ม.)
4. ชั้นที่ 6 เหรียญทองช้างเผือก (ร.ท.ช.)
5. ชั้นที่ 5 เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย (บ.ม.)
6. ชั้นที่ 5 เบญจมาภรณ์ช้างเผือก (บ.ช.)
7. ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย (จ.ม.)
8. ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.)
9. ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)
10. ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)
11. ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)
12. ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)
13. ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม)
14. ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
15. ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
16. ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
โดยให้พิจารณาถึงตำแหน่ง ระดับ ชั้น ชั้นยศ กำหนดระยะเวลา และความดีความชอบ เว้นแต่จะได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในระเบียบนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก และเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย พ.ศ.2536
1. เครื่องราชอิสริยาภรณ์ หมายความว่า เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องราชอิสริยาภรณ์ช้างเผือก หรือเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทยตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎไทย แล้วแต่กรณี
2. ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามระเบียบนี้
การเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้เริ่มจากเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย มีจำนวน 8 ชั้นตรา และเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก มีจำนวน 8 ชั้นตรา สลับกัน โดยเลื่อนชั้นตราตามลำดับจากชั้นล่างสุดจนถึงชั้นสูงสุดตามลำดับ ดังนี้
1. ชั้นที่ 7 เหรียญเงินมงกุฎไทย ( ร.ง.ม. )
2. ชั้นที่ 7 เหรียญเงินช้างเผือก ( ร.ง.ช. )
3. ชั้นที่ 6 เหรียญทองมงกุฎไทย ( ร.ท.ม.)
4. ชั้นที่ 6 เหรียญทองช้างเผือก (ร.ท.ช.)
5. ชั้นที่ 5 เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย (บ.ม.)
6. ชั้นที่ 5 เบญจมาภรณ์ช้างเผือก (บ.ช.)
7. ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย (จ.ม.)
8. ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.)
9. ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)
10. ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)
11. ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)
12. ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)
13. ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม)
14. ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
15. ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
16. ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
โดยให้พิจารณาถึงตำแหน่ง ระดับ ชั้น ชั้นยศ กำหนดระยะเวลา และความดีความชอบ เว้นแต่จะได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในระเบียบนี้
วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2552
การเลื่อนขั้นเงินเดือน
วันนี้ ครูสุโขทัย จะมาสรุปเกี่ยวกับการพิจารณาการเลื่อนขั้นเงินเดือนซึ่งจะนำไปใช้ในการสอบดังนี้
กฎ ก.พ. ว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือน 2544
ปีงบประมาณ เลื่อนขั้นเงินเดือน 2 ครั้ง
ครั้งที่ 1 ( ครึ่งปีแรก ) 1 ตุลาคม ถึง 31 มีนาคม ให้เลื่อนขั้นในวันที่ 1 เมษายน
ครั้งที่ 2 ( ครั้งปี หลัง) 1 เมษายน ถึง 30 กันยายน ให้เลื่อนขั้นเงินเดือนในวันที่ 1 ตุลาคม
หลักเกณฑ์การลาบ่อยครั้งและมาทำงานสาย
1. การลาบ่อยครั้ง
- ข้าราชการปฏิบัติงานตามโรงเรียน ลาเกิน 6 ครั้ง
- ข้าราชการปฏิบัติงานตามสำนักงาน ลาเกิน 8 ครั้ง
**ข้าราชการที่ลาเกินครั้งที่กำหนด ถ้าวันลาไม่เกิน 15 วัน และมีผลงานดีเด่นอาจผ่อนผันให้เลื่อนเงินเดือนได้********
2. มาทำงานสายเนื่องๆ
- ข้าราชการปฏิบัติงานตามโรงเรียน มาทำงานสายเกิน 8 ครั้ง
- ข้าราชการปฏิบัติงานตามสำนักงาน มาทำงานสายเกิน 9 ครั้ง
*********ข้าราชการครูที่ลาบ่อยครั้ง / มาทำงานสายเนืองๆไม่ได้รับการขึ้นเงินเดือน************
การแบ่งกลุ่มพิจารณา
- กลุ่มข้าราชการในสถานศึกษา
- กลุ่มผู้บริหารสถานศึกษา
- กลุ่มที่ปฏิบัติงานใน สพท.
- กลุ่มระดับ 9 ขึ้นไป ส่งไปให้กรมประเมินให้
การประเมินประสิทธิภาพ
- ผอ.โรงเรียนประเมินครูในโรงเรียน
- ผอ.เขต ประเมินผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ในสำนักงาน
- ผู้ประเมินและรับการประเมินตกลงร่วมกันในรายละเอียดการประเมิน
แบ่งการประเมิน ดังนี้
- ผลการประเมินดีเด่น ได้คะแนนประเมินไม่ต่ำกว่า 90-100% อยู่ในเกณฑ์ ได้เลื่อนขั้น 1 ขั้น
- ผลการประเมินเป็นที่ยอมรับได้ ได้รับคะแนนประเมินไม่ต่ำกว่า 60-89% อยู่ในเกณฑ์ ได้เลื่อนขั้น 0.5 ขั้น
- ผลการประเมินต้องปรับปรุง ระดับคะแนนประเมินต่ำกว่า 60% ไม่ควรเลื่อนขั้นเงินเดือน
การตั้งคณะกรรมการพิจารณา
- คณะกรรมการส่วนกลาง
- ระดับ สพฐ.
- ระดับเขตพื้นที่การศึกษา
- ระดับสถานศึกษา
- ผู้บริหารสถานศึกษา ประธานกรรมการ
- รองผู้อำนวยการสถานศึกษา กรรมการ(ถ้ามี)
- ผู้แทนหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้จำนวน 1-4 คน กรรมการ
- ผู้แทนข้าราชการครูในสถานศึกษา จำนวน 1-4 คน กรรมการ
ประธานเลือกกรรมการคนใดคนหนึ่งเป็นเลขานุการ
บัญชีรายละเอียดเพื่อพิจารณาเงินเดือน มี 5 บัญชี ดังนี้
หมายเลข 1 บัญชีผู้ได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน 1.5 ขั้น ใช้เฉพาะการเลื่อนขั้นเงินเดือนครั้งที่ 2 ( 1 ตุลาคม ) เท่านั้น
หมายเลข 2 ผู้ได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน 1 ขั้น
หมายเลข 3 ผู้ได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน 0.5 ขั้น
หมายเลข 4 ผู้ไม่ได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือน
หมายเลข 5 บัญชีแสดงการสำรองวงเงินเลื่อนขั้นเงินเดือน
วันนี้พอแค่นี้ก่อนสรุปได้แค่นี้ คงมีประโยชน์กับผู้อ่านไม่มากก็น้อย ถ้ามีประโยชน์ก็ส่งผลบุญมาให้บ้างละกันนะขอรับ บ๊ายบาย
กฎ ก.พ. ว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือน 2544
ปีงบประมาณ เลื่อนขั้นเงินเดือน 2 ครั้ง
ครั้งที่ 1 ( ครึ่งปีแรก ) 1 ตุลาคม ถึง 31 มีนาคม ให้เลื่อนขั้นในวันที่ 1 เมษายน
ครั้งที่ 2 ( ครั้งปี หลัง) 1 เมษายน ถึง 30 กันยายน ให้เลื่อนขั้นเงินเดือนในวันที่ 1 ตุลาคม
หลักเกณฑ์การลาบ่อยครั้งและมาทำงานสาย
1. การลาบ่อยครั้ง
- ข้าราชการปฏิบัติงานตามโรงเรียน ลาเกิน 6 ครั้ง
- ข้าราชการปฏิบัติงานตามสำนักงาน ลาเกิน 8 ครั้ง
**ข้าราชการที่ลาเกินครั้งที่กำหนด ถ้าวันลาไม่เกิน 15 วัน และมีผลงานดีเด่นอาจผ่อนผันให้เลื่อนเงินเดือนได้********
2. มาทำงานสายเนื่องๆ
- ข้าราชการปฏิบัติงานตามโรงเรียน มาทำงานสายเกิน 8 ครั้ง
- ข้าราชการปฏิบัติงานตามสำนักงาน มาทำงานสายเกิน 9 ครั้ง
*********ข้าราชการครูที่ลาบ่อยครั้ง / มาทำงานสายเนืองๆไม่ได้รับการขึ้นเงินเดือน************
การแบ่งกลุ่มพิจารณา
- กลุ่มข้าราชการในสถานศึกษา
- กลุ่มผู้บริหารสถานศึกษา
- กลุ่มที่ปฏิบัติงานใน สพท.
- กลุ่มระดับ 9 ขึ้นไป ส่งไปให้กรมประเมินให้
การประเมินประสิทธิภาพ
- ผอ.โรงเรียนประเมินครูในโรงเรียน
- ผอ.เขต ประเมินผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ในสำนักงาน
- ผู้ประเมินและรับการประเมินตกลงร่วมกันในรายละเอียดการประเมิน
แบ่งการประเมิน ดังนี้
- ผลการประเมินดีเด่น ได้คะแนนประเมินไม่ต่ำกว่า 90-100% อยู่ในเกณฑ์ ได้เลื่อนขั้น 1 ขั้น
- ผลการประเมินเป็นที่ยอมรับได้ ได้รับคะแนนประเมินไม่ต่ำกว่า 60-89% อยู่ในเกณฑ์ ได้เลื่อนขั้น 0.5 ขั้น
- ผลการประเมินต้องปรับปรุง ระดับคะแนนประเมินต่ำกว่า 60% ไม่ควรเลื่อนขั้นเงินเดือน
การตั้งคณะกรรมการพิจารณา
- คณะกรรมการส่วนกลาง
- ระดับ สพฐ.
- ระดับเขตพื้นที่การศึกษา
- ระดับสถานศึกษา
- ผู้บริหารสถานศึกษา ประธานกรรมการ
- รองผู้อำนวยการสถานศึกษา กรรมการ(ถ้ามี)
- ผู้แทนหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้จำนวน 1-4 คน กรรมการ
- ผู้แทนข้าราชการครูในสถานศึกษา จำนวน 1-4 คน กรรมการ
ประธานเลือกกรรมการคนใดคนหนึ่งเป็นเลขานุการ
บัญชีรายละเอียดเพื่อพิจารณาเงินเดือน มี 5 บัญชี ดังนี้
หมายเลข 1 บัญชีผู้ได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน 1.5 ขั้น ใช้เฉพาะการเลื่อนขั้นเงินเดือนครั้งที่ 2 ( 1 ตุลาคม ) เท่านั้น
หมายเลข 2 ผู้ได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน 1 ขั้น
หมายเลข 3 ผู้ได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน 0.5 ขั้น
หมายเลข 4 ผู้ไม่ได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือน
หมายเลข 5 บัญชีแสดงการสำรองวงเงินเลื่อนขั้นเงินเดือน
วันนี้พอแค่นี้ก่อนสรุปได้แค่นี้ คงมีประโยชน์กับผู้อ่านไม่มากก็น้อย ถ้ามีประโยชน์ก็ส่งผลบุญมาให้บ้างละกันนะขอรับ บ๊ายบาย
วันพุธที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2552
สรุปเกี่ยวกับการลา(2)
วันนี้เรามาดูเกี่ยวกับรายละเอียดของการลาแต่ละประเภทก็แล้วกันนะขอรับ..........
การลาป่วย
ให้เสนอจัดส่งใบลาก่อนหรือในวันที่ลา เว้นกรณีจำเป็นเสนอส่งใบลาในวันที่ปฏิบัติการได้ถ้าผู้ป่วยไม่สามารถลงชื่อในใบลาได้ ให้ผู้ยื่นลงชื่อแทนได้ แต่ถ้าสามารถเขียนได้ให้ส่งใบลาโดยเร็ว การลาป่วยตั้งแต่ 30 วันขึ้นไป ต้องมีใบรับรองแพทย์
การลาคลอดบุตร
ให้ส่งใบลาก่อนหรือในวันที่ลา ลงชื่อไม่ได้ให้ผู้อื่นลงแทนได้ ลงชื่อได้จัดส่งใบลาโดยเร็ว สิทธิในการลาคลอดบุตรได้ 90 วัน โดยได้รับเงินเดือนโดยไม่ต้องมีใบรับรองแพทย์ อัตราจ้างสามารถลาได้ 45 วันทำการ โดยได้รับเงินเดือน อีก 45 วันให้รับการประกันสังคม
ข้าราชการที่ลาเลี้ยงดูบุตร มีสิทธิลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตรต่อเนื่องจาการลาคลอดบุตร ไม่เกิน 30 วันทำการ โดยได้รับเงินเดือน ถ้าประสงค์จะลาต่ออีกลาได้อีกไม่เกิน 150 ทำการโดยไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือน
ลากิจส่วนตัว + เลี้ยงดูบุตรได้ปีละไม่เกิน 45 วันทำการ
การลากิจส่วนตัวแม้ยังไม่ครบกำหนด ผู้บังคับบัญชาสามารถเรียกมาปฏิบัติราชการก็ได้
การลาคลอดบุตร คาบเกี่ยวกับการลาประเภทใดให้ถือว่าการลาประเภทนั้นสิ้นสุดลงและนับเป็นการลาคลอดบุตรต่อ
การลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตร ผู้บังคับบัญชาไม่สามารถเรียกมาปฏิบัติราชการได้
การลากิจส่วนตัว
การลากิจส่วนตัว ต้องส่งใบลาก่อนเมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงหยุดราชการได้ เว้นแต่เหตุจำเป็นให้หยุดราชการไปก่อนและชี้แจ้งเหตุผลให้ทราบโดยเร็ว ถ้ามีเหตุพิเศษไม่อาจปฏิบัติได้ตามที่กล่าวมาให้เสนอจัดส่งใบลาพร้อมชี้แจงเหตุผลในวันแรกที่มาปฏิบัติราชการ
ลากิจไม่เกิน 45 วันทำการ/ปี
การลาพักผ่อนประจำปี ( ไม่ใช่ลาพักร้อน )
ข้าราชการปีหนึ่งลาพักผ่อนได้ 10 วันทำการ เว้นแต่ข้าราชการต่อไปนี้ รับราชการยังไม่ถึง 6 เดือน
- ในกรณีบรรจุครั้งแรก
- ลาออกจากราชการเพราะเหตุส่วนตัว
- ลาออกเพื่อดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือเลือกตั้ง
ในปีใดที่ข้าราชการไม่ได้ลาพักผ่อนลาไม่ครบ 10 วันทำการ ให้สะสมวันลาที่ยังไม่ลาในปีนั้นรวมกับปีต่อไปได้ แต่ไม่เกิน 20 วันทำการ
รับราชการมาแล้วติดต่อกันไม่น้อยกว่า 10 ปี สามารถลาพักผ่อนสะสมไม่เกิน 30 วันทำการ
ข้าราชการที่ปฏิบัติราชการในโรงเรียน มีวันหยุดภาคเรียน หากได้หยุดราชการตามวันหยุดภาคการศึกษาเกิดกว่าลาพักผ่อน ไม่มีสิทธิลาพักผ่อนได้
การลาอุปสมบทหรือไปประกอบพิธีฮัทย์
ให้ส่งใบลาขออนุญาตต่อเลขา กพฐ. ( ส่งใบลาให้ผอ.ร.ร.ก่อนไม่น้อยกว่า 60 วัน )
ได้รับอนุญาตแล้วต้องอุปสมบทหรือออกเดินทาง ภายใน 10 วัน
กลับมารายงานตัวภายใน 5 วัน นับตั้งแต่ลาสิขา หรือเดินทางกลับถึงเมืองไทย
ลาบวชได้ไม่เกิน 120 วัน
การลาตรวจเลือก หรือเข้ารับการเตรียมพล
คำว่าตรวจเลือก เรียกว่าคัดทหาร การลาตรวจเลือก ให้รายงานต่อผู้บังคับบัญชา ไม่น้อยกว่า 48 ชั่วโมง นับแต่ได้รับหมายเรียกโดยไม่ต้องรอคำสั่งอนุญาต ถ้าพ้นจากการตรวจเลือกจะต้องปฏิบัติราชการภายใน 7 วัน
เตรียมพล เมื่อได้รับใบแดงจะต้องแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาทราบภายใน 48 ชั่วโมง
ออกจากทหาร ขอเข้ารับราชการภายใน 180 วัน
การลาศึกษา ฝึกอบรม ศึกษาปฏิบัติงานวิจัย
ผู้มีอำนาจอนุญาต คือ เลขา กพฐ. ( ในประเทศ มอบให้ ผอ.สพท. ต่างประเทศ เลขา กพฐ. )
การลาไปปฏิบัติงานในองค์กรระหว่างประเทศ
ผู้มีอำนาจอนุญาตคือ รัฐมนตรีเจ้าสังกัด โดยไม่ได้รับเงินเดือน มี 2 ประเภท
1. ประเภทที่ 1 ไม่เกิน 4 ปี
- ประเทศไทยเป็นสมาชิก
- รัฐบาลมีข้อผูกพัน ตามข้อตกลงระหว่างประเทศ
- ส่งไปเพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศ
2. ประเภทที่ 2 ไม่เกิน 2 ปี
- รับราชการไม่น้อยกว่า 5 ปี ยกเว้น สหประชาชาติไม่น้อยกว่า 2 ปี
- อายุไม่เกิน 52 ปี และไม่เคยถูกลงโทษทางวินัย
การลาติดตามคู่สมรสไปปฏิบัติงานต่างประเทศ
ผู้อนุญาต คือ เลขา กพฐ. ลาได้ไม่เกิน 2 ปี ถ้าจำเป็นลาต่ออีกได้ 2 ปี รวมเวลา 4 ปี ถ้าเกินให้ลาออก
ผู้มีอำนาจอนุญาตในการลา
ผู้บริหารสถานศึกษา มีอำนาจอนุญาตการลาของผู้ใต้บังคับบัญชาดังนี้
- ลาป่วย ครั้งหนึ่งไม่เกิน 60 วันทำการ
- ลาคลอด ครั้งหนึ่งไม่เกิน 90 วันทำการ
- ลากิจส่วนตัว ครั้งหนึ่งไม่เกิน 30 วันทำการ
สำหรับวันนี้ครูสุโขทัย ก็ขออำลาก่อนนะฝนจะตกแล้วจ้า
การลาป่วย
ให้เสนอจัดส่งใบลาก่อนหรือในวันที่ลา เว้นกรณีจำเป็นเสนอส่งใบลาในวันที่ปฏิบัติการได้ถ้าผู้ป่วยไม่สามารถลงชื่อในใบลาได้ ให้ผู้ยื่นลงชื่อแทนได้ แต่ถ้าสามารถเขียนได้ให้ส่งใบลาโดยเร็ว การลาป่วยตั้งแต่ 30 วันขึ้นไป ต้องมีใบรับรองแพทย์
การลาคลอดบุตร
ให้ส่งใบลาก่อนหรือในวันที่ลา ลงชื่อไม่ได้ให้ผู้อื่นลงแทนได้ ลงชื่อได้จัดส่งใบลาโดยเร็ว สิทธิในการลาคลอดบุตรได้ 90 วัน โดยได้รับเงินเดือนโดยไม่ต้องมีใบรับรองแพทย์ อัตราจ้างสามารถลาได้ 45 วันทำการ โดยได้รับเงินเดือน อีก 45 วันให้รับการประกันสังคม
ข้าราชการที่ลาเลี้ยงดูบุตร มีสิทธิลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตรต่อเนื่องจาการลาคลอดบุตร ไม่เกิน 30 วันทำการ โดยได้รับเงินเดือน ถ้าประสงค์จะลาต่ออีกลาได้อีกไม่เกิน 150 ทำการโดยไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือน
ลากิจส่วนตัว + เลี้ยงดูบุตรได้ปีละไม่เกิน 45 วันทำการ
การลากิจส่วนตัวแม้ยังไม่ครบกำหนด ผู้บังคับบัญชาสามารถเรียกมาปฏิบัติราชการก็ได้
การลาคลอดบุตร คาบเกี่ยวกับการลาประเภทใดให้ถือว่าการลาประเภทนั้นสิ้นสุดลงและนับเป็นการลาคลอดบุตรต่อ
การลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตร ผู้บังคับบัญชาไม่สามารถเรียกมาปฏิบัติราชการได้
การลากิจส่วนตัว
การลากิจส่วนตัว ต้องส่งใบลาก่อนเมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงหยุดราชการได้ เว้นแต่เหตุจำเป็นให้หยุดราชการไปก่อนและชี้แจ้งเหตุผลให้ทราบโดยเร็ว ถ้ามีเหตุพิเศษไม่อาจปฏิบัติได้ตามที่กล่าวมาให้เสนอจัดส่งใบลาพร้อมชี้แจงเหตุผลในวันแรกที่มาปฏิบัติราชการ
ลากิจไม่เกิน 45 วันทำการ/ปี
การลาพักผ่อนประจำปี ( ไม่ใช่ลาพักร้อน )
ข้าราชการปีหนึ่งลาพักผ่อนได้ 10 วันทำการ เว้นแต่ข้าราชการต่อไปนี้ รับราชการยังไม่ถึง 6 เดือน
- ในกรณีบรรจุครั้งแรก
- ลาออกจากราชการเพราะเหตุส่วนตัว
- ลาออกเพื่อดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือเลือกตั้ง
ในปีใดที่ข้าราชการไม่ได้ลาพักผ่อนลาไม่ครบ 10 วันทำการ ให้สะสมวันลาที่ยังไม่ลาในปีนั้นรวมกับปีต่อไปได้ แต่ไม่เกิน 20 วันทำการ
รับราชการมาแล้วติดต่อกันไม่น้อยกว่า 10 ปี สามารถลาพักผ่อนสะสมไม่เกิน 30 วันทำการ
ข้าราชการที่ปฏิบัติราชการในโรงเรียน มีวันหยุดภาคเรียน หากได้หยุดราชการตามวันหยุดภาคการศึกษาเกิดกว่าลาพักผ่อน ไม่มีสิทธิลาพักผ่อนได้
การลาอุปสมบทหรือไปประกอบพิธีฮัทย์
ให้ส่งใบลาขออนุญาตต่อเลขา กพฐ. ( ส่งใบลาให้ผอ.ร.ร.ก่อนไม่น้อยกว่า 60 วัน )
ได้รับอนุญาตแล้วต้องอุปสมบทหรือออกเดินทาง ภายใน 10 วัน
กลับมารายงานตัวภายใน 5 วัน นับตั้งแต่ลาสิขา หรือเดินทางกลับถึงเมืองไทย
ลาบวชได้ไม่เกิน 120 วัน
การลาตรวจเลือก หรือเข้ารับการเตรียมพล
คำว่าตรวจเลือก เรียกว่าคัดทหาร การลาตรวจเลือก ให้รายงานต่อผู้บังคับบัญชา ไม่น้อยกว่า 48 ชั่วโมง นับแต่ได้รับหมายเรียกโดยไม่ต้องรอคำสั่งอนุญาต ถ้าพ้นจากการตรวจเลือกจะต้องปฏิบัติราชการภายใน 7 วัน
เตรียมพล เมื่อได้รับใบแดงจะต้องแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาทราบภายใน 48 ชั่วโมง
ออกจากทหาร ขอเข้ารับราชการภายใน 180 วัน
การลาศึกษา ฝึกอบรม ศึกษาปฏิบัติงานวิจัย
ผู้มีอำนาจอนุญาต คือ เลขา กพฐ. ( ในประเทศ มอบให้ ผอ.สพท. ต่างประเทศ เลขา กพฐ. )
การลาไปปฏิบัติงานในองค์กรระหว่างประเทศ
ผู้มีอำนาจอนุญาตคือ รัฐมนตรีเจ้าสังกัด โดยไม่ได้รับเงินเดือน มี 2 ประเภท
1. ประเภทที่ 1 ไม่เกิน 4 ปี
- ประเทศไทยเป็นสมาชิก
- รัฐบาลมีข้อผูกพัน ตามข้อตกลงระหว่างประเทศ
- ส่งไปเพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศ
2. ประเภทที่ 2 ไม่เกิน 2 ปี
- รับราชการไม่น้อยกว่า 5 ปี ยกเว้น สหประชาชาติไม่น้อยกว่า 2 ปี
- อายุไม่เกิน 52 ปี และไม่เคยถูกลงโทษทางวินัย
การลาติดตามคู่สมรสไปปฏิบัติงานต่างประเทศ
ผู้อนุญาต คือ เลขา กพฐ. ลาได้ไม่เกิน 2 ปี ถ้าจำเป็นลาต่ออีกได้ 2 ปี รวมเวลา 4 ปี ถ้าเกินให้ลาออก
ผู้มีอำนาจอนุญาตในการลา
ผู้บริหารสถานศึกษา มีอำนาจอนุญาตการลาของผู้ใต้บังคับบัญชาดังนี้
- ลาป่วย ครั้งหนึ่งไม่เกิน 60 วันทำการ
- ลาคลอด ครั้งหนึ่งไม่เกิน 90 วันทำการ
- ลากิจส่วนตัว ครั้งหนึ่งไม่เกิน 30 วันทำการ
สำหรับวันนี้ครูสุโขทัย ก็ขออำลาก่อนนะฝนจะตกแล้วจ้า
วันจันทร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2552
สรุปเกี่ยวกับการลาของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
การบริหารงานบุคคล วันนี้ ครูสุโขทัย ได้สรุปเกี่ยวกับการลาของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาให้กับผู้ที่มีความสนใจนะขอรับ
สรุปเกี่ยวกับการลาของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
1. การบังคับใช้
1) ข้าราชการพลเรือน ข้าราชการครู ยกเว้นข้าราชการทหารและข้าราชการท้องถิ่น
2) ให้ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีรักษาระเบียบนี้
3) กรณีที่ไปช่วยราชการหากต้องการลาก็ขออนุญาตผู้บังคับบัญชาหน่วยงานที่ไปช่วยราชการแล้วให้ หน่วยงานนั้นแจ้งให้ต้นสังกัดทราบอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
2. การนับวันลา
1) ให้นับตามปีงบประมาณ
2) การนับวันลาที่นับเฉพาะวันทำการคือ
- การลาป่วย ( ธรรมดา )
- การลากิจส่วนตัว
- การลาพักผ่อน
3) ข้าราชการที่ถูกเรียกกลับระหว่างลาให้ถือการลาหมดเขตเพียงวันก่อนเดินทางกลับและวันราชการ เริ่มนับตั้งแต่วันเดินทางกลับ
3. การลาครึ่งวัน
ในการลาครึ่งวันในตอนเช้า หรือตอนบ่ายให้นับการลาเป็นครึ่งวัน
การลาให้ใช้ใบลาตามแบบ แต่กรณีจำเป็นหรือรีบด่วนจะใช้ใบลาตามวิธีอื่นก็ได้ แต่ต้องส่งใบลาตามแบบวันในวันแรกที่มาปฏิบัติราชการ
- ข้าราชการที่ประสงค์จะไปต่างประเทศระหว่างลา หรือวันหยุดราชการให้เสนอขออนุญาตต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับจนถึงอธิบดี ( เลขา กพฐ. )
- ข้าราชการส่วนภูมิภาค ขออนุญาตเดินทางไปต่างประเทศที่มีชายแดนติดต่อกับประเทศไทย ขออนุญาตต่อผู้ว่าราชการจังหวัดครั้งหนึ่งไม่เกิน 7 วัน หรือนายอำเภอไม่เกิน 3 วัน
- ข้าราชการผู้ใดไม่สามารถปฏิบัติงานราชการได้ เนื่องจากพฤติกรรมพิเศษ เช่น ฝนตกหนัก ถนนขาด ถูกจับเรียกค่าไถ่ โดยเกิดขึ้นกับบุคคลทั่วไป หรือพฤติกรรมที่เกิดขึ้นกับบุคคลนั้นไม่ได้เกิดจากความประมาทเลินเล่อจนเป็นเหตุขัดขวางไม่สามารถมาปฏิบัติราชการได้ให้รายงานต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับ จนถึงอธิบดี ( เลขา กพฐ. ) หรือผู้ว่าราชการจังหวัด ( สำหรับข้าราชการส่วนภูมิภาค)ทันทีที่มาปฏิบัติราชการได้ ถ้าอธิบดี พิจารณาว่าเป็นจริง ไม่นับเป็นวันลา ถ้าไม่จริงให้นับเป็นลากิจส่วนตัว
********** ข้าราชการครูสังกัด สพฐ. เป็นข้าราชการส่วนกลาง***********
4. ประเภท ของการลามี 9 ประเภท ดังนี้
1. ลาป่วย
2. ลาคลอดบุตร
3. ลากิจส่วนตัว
4. ลาพักผ่อนประจำปี
5. ลาไปอุปสมบทหรือประกอบพิธีฮัทย์
6. ลาตรวจเลือกหือเข้ารับการเตรียมพล
7. ลาศึกษาต่อ ศึกษาอบรมดูงาน หรือปฏิบัติงานวิจัย
8. ลาไปปฏิบัติงานในองค์กรระหว่างประเทศ
9. ลาติดตามคู่สมรสไปต่างประเทศ
วันนี้พอแค่นี้ก่อนละกันเดี๋ยวค่อยมาอธิบายรายละเอียดต่อนะขอรับ
สรุปเกี่ยวกับการลาของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
1. การบังคับใช้
1) ข้าราชการพลเรือน ข้าราชการครู ยกเว้นข้าราชการทหารและข้าราชการท้องถิ่น
2) ให้ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีรักษาระเบียบนี้
3) กรณีที่ไปช่วยราชการหากต้องการลาก็ขออนุญาตผู้บังคับบัญชาหน่วยงานที่ไปช่วยราชการแล้วให้ หน่วยงานนั้นแจ้งให้ต้นสังกัดทราบอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
2. การนับวันลา
1) ให้นับตามปีงบประมาณ
2) การนับวันลาที่นับเฉพาะวันทำการคือ
- การลาป่วย ( ธรรมดา )
- การลากิจส่วนตัว
- การลาพักผ่อน
3) ข้าราชการที่ถูกเรียกกลับระหว่างลาให้ถือการลาหมดเขตเพียงวันก่อนเดินทางกลับและวันราชการ เริ่มนับตั้งแต่วันเดินทางกลับ
3. การลาครึ่งวัน
ในการลาครึ่งวันในตอนเช้า หรือตอนบ่ายให้นับการลาเป็นครึ่งวัน
การลาให้ใช้ใบลาตามแบบ แต่กรณีจำเป็นหรือรีบด่วนจะใช้ใบลาตามวิธีอื่นก็ได้ แต่ต้องส่งใบลาตามแบบวันในวันแรกที่มาปฏิบัติราชการ
- ข้าราชการที่ประสงค์จะไปต่างประเทศระหว่างลา หรือวันหยุดราชการให้เสนอขออนุญาตต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับจนถึงอธิบดี ( เลขา กพฐ. )
- ข้าราชการส่วนภูมิภาค ขออนุญาตเดินทางไปต่างประเทศที่มีชายแดนติดต่อกับประเทศไทย ขออนุญาตต่อผู้ว่าราชการจังหวัดครั้งหนึ่งไม่เกิน 7 วัน หรือนายอำเภอไม่เกิน 3 วัน
- ข้าราชการผู้ใดไม่สามารถปฏิบัติงานราชการได้ เนื่องจากพฤติกรรมพิเศษ เช่น ฝนตกหนัก ถนนขาด ถูกจับเรียกค่าไถ่ โดยเกิดขึ้นกับบุคคลทั่วไป หรือพฤติกรรมที่เกิดขึ้นกับบุคคลนั้นไม่ได้เกิดจากความประมาทเลินเล่อจนเป็นเหตุขัดขวางไม่สามารถมาปฏิบัติราชการได้ให้รายงานต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับ จนถึงอธิบดี ( เลขา กพฐ. ) หรือผู้ว่าราชการจังหวัด ( สำหรับข้าราชการส่วนภูมิภาค)ทันทีที่มาปฏิบัติราชการได้ ถ้าอธิบดี พิจารณาว่าเป็นจริง ไม่นับเป็นวันลา ถ้าไม่จริงให้นับเป็นลากิจส่วนตัว
********** ข้าราชการครูสังกัด สพฐ. เป็นข้าราชการส่วนกลาง***********
4. ประเภท ของการลามี 9 ประเภท ดังนี้
1. ลาป่วย
2. ลาคลอดบุตร
3. ลากิจส่วนตัว
4. ลาพักผ่อนประจำปี
5. ลาไปอุปสมบทหรือประกอบพิธีฮัทย์
6. ลาตรวจเลือกหือเข้ารับการเตรียมพล
7. ลาศึกษาต่อ ศึกษาอบรมดูงาน หรือปฏิบัติงานวิจัย
8. ลาไปปฏิบัติงานในองค์กรระหว่างประเทศ
9. ลาติดตามคู่สมรสไปต่างประเทศ
วันนี้พอแค่นี้ก่อนละกันเดี๋ยวค่อยมาอธิบายรายละเอียดต่อนะขอรับ
วันเสาร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2552
การวางแผนอัตรากำลัง หมายความว่า การกำหนดว่าหน่วยงานนั้นต้องการกำลังคน หรือตำแหน่งประเภทไหน จำนวนเท่าไร โดยคิดคำนวณคนให้พอดีกับการปฏิบัติงาน ในระบบราชการมักมีการวางแผนอัตรากำลังล่วงหน้า คือเป็นรายปี หรือราย 3 ปี หรือ 9 ปี
การวางแผนกำลังคนสำหรับข้าราชการครู
1. ความสำคัญเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องจำนวนและคุณภาพของข้าราชการครูในสถานศึกษา
2. ปัญหาในการวางแผนอัตรากำลังคน ขาดความรู้ทางหลักวิชา ขาดข้อมูลข่าวสาร นโยบาย เป้าหมาย วัตถุประสงค์ของรัฐไม่ชัดเจน ไม่ต่อเนื่อง มีการนำผลประโยชน์ส่วนตัวมาใช้ในการวางแผน ขาดปัจจัยสำคัญในการบริหาร เช่น เงินวัสดุ ผู้บริหารไม่ให้ความสำคัญกับการวางแผนอัตรากำลังคน
3. วัตถุประสงค์
- สร้างต้นแบบการวางแผนอัตรากำลัง
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษานำต้นแบบการวางแผนกำลังคนไปใช้
4. แนวคิดในการวางแผนกำลังคน ยึดหลักการจำนวนกำลังคนที่ต้องการมากขึ้น จำนวนคนที่ต้องการทั้งหมด – จำนวนคนที่มีอยู่จริง
กระบวนการวางแผนกำลังคนมีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการดังนี้
1. กำลังคนที่มีอยู่ในปัจจุบัน ข้อมูลปริมาณ คุณภาพ
2. การคาดการณ์กำลังคนในอนาคต เช่น ความชำนาญงาน พื้นฐานการศึกษาและประสบการณ์
3. กำลังคนเพิ่มขึ้น
การกำหนดปริมาณงานในสถานศึกษา
1) ปริมาณงานด้านการบริหารสถานศึกษา มีผู้อำนวยการสถานศึกษากับรองผู้อำนวยการสถานศึกษา
2) ปริมาณงานด้านการสอน เกณฑ์ข้อมูล 10 มิถุนายนของทุกปี สถิตินักเรียนของสถานศึกษา จำนวนชั่วโมงงานสอนในหนึ่งสัปดาห์ของข้าราชการครูและครูอัตราจ้าง
3) ปริมาณอื่น ชั่วโมงปฏิบัติงานสนับสนุนการสอนในหนึ่งสัปดาห์ เป็นต้น
เกณฑ์มาตรฐานอัตรากำลังครู
1.
เกณฑ์มาตรฐานอัตรากำลังครูสายการสอนในสถานศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา
กรณีที่ 1 โรงเรียนที่มีนักเรียน 120 คนลงมา ( 20 : 1 )
รายการ
นักเรียน 20 คนลงมา 21-40 คน 41-60 คน 61-80 คน 81-100 คน 101-120 คน
ผู้สอน 1 2 3 4 5 6
กรณีที่ 2 โรงเรียนที่มีนักเรียน 121 คนขึ้นไป
ระดับก่อนประถมศึกษา = ( ห้องเรียน x 30 ) + นักเรียนทั้งหมด (0.5 ขึ้นไป เพิ่ม 1 คน )
50
ระดับประถมศึกษา = ( ห้องเรียน x 40 ) + นักเรียนทั้งหมด (0.5 ขึ้นไป เพิ่ม 1 คน )
50
ระดับมัธยมศึกษา = จำนวนห้องเรียน x 2
เงื่อนไข
- คิดจำนวนห้องเรียนแต่ละชั้น หากมีเศษตั้งแต่ 10 คนขั้นไป ให้เพิ่มอีก 1 ห้อง
- การคิดจำนวนครูให้ปัดเศษตามหลักคณิตศาสตร์
2. เกณฑ์อัตรากำลังสายผู้บริหารสถานศึกษา
กรณีที่ 1 โรงเรียนมีนักเรียนต่ำกว่า 360 คน มีผู้บริหาร 1 คน
กรณีที่ 2 โรงเรียนที่มีนักเรียนตั้งแต่ 360 คนขึ้นไป
จำนวนนักเรียน จำนวนผู้บริหาร รวมทั้งสิ้น
ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษา
360-719 1 1 2
720-1,079 1 2 3
1,080-1,679 1 3 4
1,680 ขึ้นไป 1 4 5
การวางแผนกำลังคนสำหรับข้าราชการครู
1. ความสำคัญเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องจำนวนและคุณภาพของข้าราชการครูในสถานศึกษา
2. ปัญหาในการวางแผนอัตรากำลังคน ขาดความรู้ทางหลักวิชา ขาดข้อมูลข่าวสาร นโยบาย เป้าหมาย วัตถุประสงค์ของรัฐไม่ชัดเจน ไม่ต่อเนื่อง มีการนำผลประโยชน์ส่วนตัวมาใช้ในการวางแผน ขาดปัจจัยสำคัญในการบริหาร เช่น เงินวัสดุ ผู้บริหารไม่ให้ความสำคัญกับการวางแผนอัตรากำลังคน
3. วัตถุประสงค์
- สร้างต้นแบบการวางแผนอัตรากำลัง
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษานำต้นแบบการวางแผนกำลังคนไปใช้
4. แนวคิดในการวางแผนกำลังคน ยึดหลักการจำนวนกำลังคนที่ต้องการมากขึ้น จำนวนคนที่ต้องการทั้งหมด – จำนวนคนที่มีอยู่จริง
กระบวนการวางแผนกำลังคนมีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการดังนี้
1. กำลังคนที่มีอยู่ในปัจจุบัน ข้อมูลปริมาณ คุณภาพ
2. การคาดการณ์กำลังคนในอนาคต เช่น ความชำนาญงาน พื้นฐานการศึกษาและประสบการณ์
3. กำลังคนเพิ่มขึ้น
การกำหนดปริมาณงานในสถานศึกษา
1) ปริมาณงานด้านการบริหารสถานศึกษา มีผู้อำนวยการสถานศึกษากับรองผู้อำนวยการสถานศึกษา
2) ปริมาณงานด้านการสอน เกณฑ์ข้อมูล 10 มิถุนายนของทุกปี สถิตินักเรียนของสถานศึกษา จำนวนชั่วโมงงานสอนในหนึ่งสัปดาห์ของข้าราชการครูและครูอัตราจ้าง
3) ปริมาณอื่น ชั่วโมงปฏิบัติงานสนับสนุนการสอนในหนึ่งสัปดาห์ เป็นต้น
เกณฑ์มาตรฐานอัตรากำลังครู
1.
เกณฑ์มาตรฐานอัตรากำลังครูสายการสอนในสถานศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา
กรณีที่ 1 โรงเรียนที่มีนักเรียน 120 คนลงมา ( 20 : 1 )
รายการ
นักเรียน 20 คนลงมา 21-40 คน 41-60 คน 61-80 คน 81-100 คน 101-120 คน
ผู้สอน 1 2 3 4 5 6
กรณีที่ 2 โรงเรียนที่มีนักเรียน 121 คนขึ้นไป
ระดับก่อนประถมศึกษา = ( ห้องเรียน x 30 ) + นักเรียนทั้งหมด (0.5 ขึ้นไป เพิ่ม 1 คน )
50
ระดับประถมศึกษา = ( ห้องเรียน x 40 ) + นักเรียนทั้งหมด (0.5 ขึ้นไป เพิ่ม 1 คน )
50
ระดับมัธยมศึกษา = จำนวนห้องเรียน x 2
เงื่อนไข
- คิดจำนวนห้องเรียนแต่ละชั้น หากมีเศษตั้งแต่ 10 คนขั้นไป ให้เพิ่มอีก 1 ห้อง
- การคิดจำนวนครูให้ปัดเศษตามหลักคณิตศาสตร์
2. เกณฑ์อัตรากำลังสายผู้บริหารสถานศึกษา
กรณีที่ 1 โรงเรียนมีนักเรียนต่ำกว่า 360 คน มีผู้บริหาร 1 คน
กรณีที่ 2 โรงเรียนที่มีนักเรียนตั้งแต่ 360 คนขึ้นไป
จำนวนนักเรียน จำนวนผู้บริหาร รวมทั้งสิ้น
ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษา
360-719 1 1 2
720-1,079 1 2 3
1,080-1,679 1 3 4
1,680 ขึ้นไป 1 4 5
วันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2552
การบริหารงานบุคคล
ครูสุโขทัย : วันนี้ขอเสนอความรู้เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลเพื่อให้ผู้ที่เตรียมตัวสอบได้ศึกษาและทราบเกี่ยวกับหลักการบริหารงานบุคคล แต่ถ้าอยากรู้เรื่องอะไรก่อนเป็นพิเศษก็แจ้งเข้ามาได้นะขอรับ
การบริหารงานบุคคล
การบริหารงานบุคคล หมายถึง วิธีการจัดการหรือดำเนินการเกี่ยวกับบุคคลในการทำงานในอันที่จะทำให้บุคคลที่มีความรู้ ความสามารถเหมาะสมกับการปฏิบัติงานให้บรรลุอย่างมีประสิทธิภาพหรือศาสตร์ แขนงหนึ่งที่ว่าด้วยการดำเนินการหรือการจัดการเกี่ยวกับบุคคลในหน่วยงาน
ความสำคัญของการบริหารงานบุคคล
การบริหารงานบุคคลนั้นจะประกอบขึ้นไปด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ อยู่ 2 ส่วน คือ คนและงาน ดังนั้นการบริหารงานบุคคลมีความสำคัญคือ
1. คนเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการบริหารงาน เนื่องจากคนเป็นผู้ทำให้เกิดความสำเร็จ
2. การทำงานจำเป็นจะต้องเลือกคนเพื่อให้ได้บุคคลที่มีความรู้ ความสามารถเหมาะกับงานและรู้จักใช้คนอย่างมีประสิทธิภาพ
องค์ประกอบของการบริหารงานบุคคล
1. องค์กรและสิ่งแวดล้อม
2. งาน
3. บุคคล
กระบวนการบริหารงานบุคคล
1. การสรรหาบุคคล ได้แก่ การวางแผน การกำหนดตำแหน่ง และการสรรหา( เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด)
2. การใช้บุคคล ได้แก่ การบรรจุแต่งตั้ง การย้าย การโอน
3. การพัฒนาบุคคล ได้แก่ การพัฒนา การพิจารณาความดี ความชอบ การเลื่อนตำแหน่ง
4. การธำรงรักษาบุคคล ได้แก่ การดำเนินการทางวินัย การอุทธรณ์ ร้องทุกข์ การจัดสวัสดิการ การทะเบียนประวัติ
สรุป หา ใช้ พัฒนา ธำรงรักษา
ระบบการบริหารงานบุคคล
ระบบการบริหารงานบุคคลที่สำคัญมี 2 ระบบ คือ
1. ระบบอุปถัมภ์ ( Patronage System ) ใช้มาตั้งแต่โบราณ สามารถแบ่งออกได้ 3 ลักษณะ คือ
1. ระบบสืบสายโลหิต
2. ระบบแลกเปลี่ยน นำสิ่งของมาแลกเปลี่ยน
3. ระบบชอบพอกันพิเศษ
2. ระบบคุณธรรม ( Merit System ) บางแห่งเรียกใช้คำว่า ระบบคุณวุฒิ- ระบบความรู้ ความสามารถ- ระบบคุณความดี – ระบบความดีและความสามารถ มีหลักสำคัญ 4 ประการ คือ
1. หลักความสามารถ ( Put the right man on the right job )
2. หลักความเสมอภาค –เปิดโอกาสให้เท่าเทียมกัน( Equal Pay for Equal Work )
3. หลักความมั่นคง-หลักประกันในการทำงาน
4. หลักความเป็นกลางทางการเมือง
ภาคราชการนิยมใช้ ระบบคุณธรรม
ภาคธุรกิจ นิยมใช้ ระบบคุณธรรมและระบบอุปถัมภ์
ขอบข่ายในการบริหารงานบุคคล
1. การดำเนินการเกี่ยวกับความต้องการบุคคลในราชการ
2. การสรรหาบุคลากรเข้ารับราชการ ได้แก่ การสอบแข่งขัน,การคัดเลือก,การสอบคัดเลือก
3. การแต่งตั้ง ได้แก่การบรรจุและแต่งตั้ง การย้าย การโอน การเลื่อนตำแหน่ง
4. การพัฒนาบุคลากร ได้แก่การฝึกอบรม
5. การพิจารณาความดีความชอบ
6. การรักษาระเบียบวินัย
7. การออกจากราชการ
8. การอุทธรณ์และการร้องทุกข์
9. การจัดทำทะเบียนประวัติ
10. การให้บริการเกี่ยวกับงานบุคคล
วันนี้พอแค่นี้ก่อนนะขอรับ จาก ครูสุโขทัย
การบริหารงานบุคคล
การบริหารงานบุคคล หมายถึง วิธีการจัดการหรือดำเนินการเกี่ยวกับบุคคลในการทำงานในอันที่จะทำให้บุคคลที่มีความรู้ ความสามารถเหมาะสมกับการปฏิบัติงานให้บรรลุอย่างมีประสิทธิภาพหรือศาสตร์ แขนงหนึ่งที่ว่าด้วยการดำเนินการหรือการจัดการเกี่ยวกับบุคคลในหน่วยงาน
ความสำคัญของการบริหารงานบุคคล
การบริหารงานบุคคลนั้นจะประกอบขึ้นไปด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ อยู่ 2 ส่วน คือ คนและงาน ดังนั้นการบริหารงานบุคคลมีความสำคัญคือ
1. คนเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการบริหารงาน เนื่องจากคนเป็นผู้ทำให้เกิดความสำเร็จ
2. การทำงานจำเป็นจะต้องเลือกคนเพื่อให้ได้บุคคลที่มีความรู้ ความสามารถเหมาะกับงานและรู้จักใช้คนอย่างมีประสิทธิภาพ
องค์ประกอบของการบริหารงานบุคคล
1. องค์กรและสิ่งแวดล้อม
2. งาน
3. บุคคล
กระบวนการบริหารงานบุคคล
1. การสรรหาบุคคล ได้แก่ การวางแผน การกำหนดตำแหน่ง และการสรรหา( เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด)
2. การใช้บุคคล ได้แก่ การบรรจุแต่งตั้ง การย้าย การโอน
3. การพัฒนาบุคคล ได้แก่ การพัฒนา การพิจารณาความดี ความชอบ การเลื่อนตำแหน่ง
4. การธำรงรักษาบุคคล ได้แก่ การดำเนินการทางวินัย การอุทธรณ์ ร้องทุกข์ การจัดสวัสดิการ การทะเบียนประวัติ
สรุป หา ใช้ พัฒนา ธำรงรักษา
ระบบการบริหารงานบุคคล
ระบบการบริหารงานบุคคลที่สำคัญมี 2 ระบบ คือ
1. ระบบอุปถัมภ์ ( Patronage System ) ใช้มาตั้งแต่โบราณ สามารถแบ่งออกได้ 3 ลักษณะ คือ
1. ระบบสืบสายโลหิต
2. ระบบแลกเปลี่ยน นำสิ่งของมาแลกเปลี่ยน
3. ระบบชอบพอกันพิเศษ
2. ระบบคุณธรรม ( Merit System ) บางแห่งเรียกใช้คำว่า ระบบคุณวุฒิ- ระบบความรู้ ความสามารถ- ระบบคุณความดี – ระบบความดีและความสามารถ มีหลักสำคัญ 4 ประการ คือ
1. หลักความสามารถ ( Put the right man on the right job )
2. หลักความเสมอภาค –เปิดโอกาสให้เท่าเทียมกัน( Equal Pay for Equal Work )
3. หลักความมั่นคง-หลักประกันในการทำงาน
4. หลักความเป็นกลางทางการเมือง
ภาคราชการนิยมใช้ ระบบคุณธรรม
ภาคธุรกิจ นิยมใช้ ระบบคุณธรรมและระบบอุปถัมภ์
ขอบข่ายในการบริหารงานบุคคล
1. การดำเนินการเกี่ยวกับความต้องการบุคคลในราชการ
2. การสรรหาบุคลากรเข้ารับราชการ ได้แก่ การสอบแข่งขัน,การคัดเลือก,การสอบคัดเลือก
3. การแต่งตั้ง ได้แก่การบรรจุและแต่งตั้ง การย้าย การโอน การเลื่อนตำแหน่ง
4. การพัฒนาบุคลากร ได้แก่การฝึกอบรม
5. การพิจารณาความดีความชอบ
6. การรักษาระเบียบวินัย
7. การออกจากราชการ
8. การอุทธรณ์และการร้องทุกข์
9. การจัดทำทะเบียนประวัติ
10. การให้บริการเกี่ยวกับงานบุคคล
วันนี้พอแค่นี้ก่อนนะขอรับ จาก ครูสุโขทัย
วันพุธที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2552
การบริหารงบประมาณ(ต่อ)
วันนี้มาดูการสรุปการใช้จ่ายเงินอุดหนุนของสถานศึกษาต่อนะครับ วันนี้จะเป็นการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการชั่วคราว
การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการชั่วคราว
การเดินทางไปราชการชั่วคราว หมายถึงการได้รับอนุมัติจากผู้อำนวยการโรงเรียนให้ไปปฏิบัติราชการนอกที่ตั้งสำนักงาน ( สถานศึกษา )
สิทธิการเบิกค่าใช้จ่าย คือ
· ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทาง
· ค่าเช่าที่พัก
· ค่าพาหนะ
· ค่าใช้จ่ายอื่นๆที่จำเป็นต้องจ่าย เนื่องจากการเดินทางไปราชการ
1. การเบิกค่าเบี้ยเลี้ยง/วัน/คน
ข้าราชการ ประเภท ก ประเภท ข
ระดับ 1 – 2 180 108
ระดับ 3 – 8 210 126
ระดับ 9 ขึ้นไป 240 144
หมายเหตุ
ประเภท ก หมายถึง การเดินทางข้ามเขตจังหวัดหรือการเดินทางจากอำเภออื่นในจังหวัดเดียวกันไปอำเภอเมือง
ประเภท ข หมายถึง การเดินทางไปต่างอำเภอในจังหวัดเดียวกัน ยกเว้น อำเภอเมือง หรือการเดินทางไปสถานที่อื่นนอกที่ตั้งของโรงเรียนในอำเภอเดียวกัน
** การนับเวลาเพื่อคำนวณการเบิกค่าเบี้ยเลี้ยง
1.1 นับเวลาตั้งแต่ออกจากบ้านพักหรือจากสถานศึกษา จนกลับบ้านพักหรือสถานศึกษา
1.2 กรณีที่ต้องพักแรม ให้นับเวลาตามข้อ 1.1 คิด 24 ชั่วโมง = 1 วัน ถ้ามีเศษเกิน 12 ชั่วโมง คิด = 1 วัน
1.3 กรณีที่ไม่พักแรม ( หมายถึงการเดินทางไป-กลับทุกวันระหว่างบ้านพักกับสถานที่ที่ได้รับอนุญาตให้ไปปฏิบัติราชการ) ให้นับเวลาตามข้อ 1.1 คิด 24 ชั่วโมง = 1 วัน หากไม่ถึง 24 ชั่วโมง แต่เกิน 12 ชั่วโมง คิด = 1 วัน หากไม่ถึง 12 ชั่วโมง แต่เกิน 6 ชั่วโมง คิด = ครึ่งวัน
2. การเบิกค่าที่พัก/วัน/คน
* จำเป็นต้องพักแรม ( พักแรมในพาหนะ เบิกไม่ได้ )
ข้าราชการ อัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด สิทธิการเบิกตามอัตรามาตรการของ สพฐ.
ระดับ 8 ลงมา เหมาจ่ายคนละไม่เกิน 1,000 บาท * พักเดี่ยวเหมาจ่ายคนละไม่เกิน 1,000 บาท
* พักคู่เหมาจ่ายคนละไม่เกิน 600 บาท
* เดินทางเป็นหมู่คณะให้พักคู่
ระดับ 9 เหมาจ่ายคนละไม่เกิน 1,600 บาท เหมาจ่ายคนละไม่เกิน 1,500 บาท
ระดับ 10 ขึ้นไป เท่าที่จ่ายจริงคนละไม่เกิน 2,500 บาท เท่าที่จ่ายจริงคนละไม่เกิน 2,000 บาท
**การเบิกค่าที่พักแบบเหมาจ่ายไม่ต้องใช้ใบเสร็จรับเงิน
**การเบิกค่าที่พักเท่าที่จ่ายจริง ต้องแนบใบเสร็จรับเงินประกอบการเบิกจ่ายด้วย
3. การเบิกค่าพาหนะ
ยานพาหนะประจำทาง ข้าราชการ
รถไฟ * ระดับ 1 – 5 เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง ยกเว้น ชั้นบนอ.ป. ( รถไฟชั้น 1 นอนปรับอากาศ )
* ระดับ 6 ขึ้นไป เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง กรณีเดินทางชั้น บนอ.ป. ให้แนบกากตั๋วประกอบการขอเบิกด้วย
รถโดยสารประจำทาง ทุกระดับ เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง
4. การเบิกค่าโดยสารเครื่องบิน
กระทรวงการคลังกำหนด สิทธิการเบิกตามอัตรามาตรการของ สพฐ.
ระดับ 6 ขึ้นไป เดินทางได้
* ระดับ 6 ขึ้นไป เดินทางโดยสารการบินต้นทุนต่ำ( Low Cost )
* ระดับ 8 ชั้นประหยัด
* ระดับ 9 ชั้นธุรกิจ
* ระดับ 10 ขึ้นไป ชั้นหนึ่ง
5. การใช้สิทธิเบิกค่าพาหนะรับจ้าง
* ไม่มีพาหนะประจำทาง
* มีพาหนะประจำทาง แต่มีความจำเป็นเร่งด่วน เพื่อประโยชน์ของราชการ
* ให้ชี้แจงเหตุผลและความจำเป็น
* การเดินทางโดยใช้พาหนะรับจ้าง
** เป็นข้าราชการระดับ 6 ขึ้นไป
** เป็นกรณีเดินทางไป - กลับระหว่างบ้านพักหรือสถานศึกษากับสถานีขนส่งหรือสถานที่ที่ได้จัดพาหนะไว้ให้ โดยเบิกในอัตราดังนี้
การเดินทาง กระทรวงการคลังกำหนด มาตรการประหยัด สพฐ.
ข้ามเขตระหว่าง กทม. กับจังหวัดที่มีเขตติดต่อ กทม. เท่าที่จ่ายจริงเที่ยวละไม่เกิน 600 บาท * เท่าที่จ่ายจริงเที่ยวละไม่เกิน 400 บาท
* กรณีเดินทางไปท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
เท่าที่จ่ายจริงเที่ยวละไม่เกิน 500 บาท
ข้ามเขตจังหวัดอื่นๆ เท่าที่จ่ายจริงเที่ยวละไม่เกิน 500 บาท เท่าที่จ่ายจริงเที่ยวละไม่เกิน 300 บาท
* การเดินทางไป-กลับ ระหว่างบ้านพักกับสถานที่ที่ไปปฏิบัติราชการภายในจังหวัดเดียวกัน เบิกได้ไม่เกินวันละ 2 เที่ยว
* การเดินทางไปราชการในเขต กทม.
* ข้าราชการตั้งแต่ระดับ 5 ลงมา ขอเบิกค่าพาหนะรับจ้างได้ต้องมีสัมภาระและเหตุผลความจำเป็น
6. การใช้สิทธิเบิกค่าชดเชยกรณีที่ใช้ยานพาหนะส่วนตัว
* อัตราค่าชดเชย
** รถยนต์ กิโลเมตรละ 4 บาท
** รถจักรยานยนต์ กิโลเมตรละ 2 บาท
* การคำนวณระยะทาง
** ใช้เส้นทางกรมทางหลวงกำหนด
** หน่วยงานอื่น เช่น จังหวัด ท้องถิ่น เป็นต้น กำหนด
** ถ้าไม่มีให้ผู้ขอเบิกรับรอง
วันนี้พอแค่นี้ก่อนนะจำให้ได้ละว่ามีสิทธิในการเบิกค่าอะไรบ้างและจะต้องเบิกจ่ายเท่าใด
การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการชั่วคราว
การเดินทางไปราชการชั่วคราว หมายถึงการได้รับอนุมัติจากผู้อำนวยการโรงเรียนให้ไปปฏิบัติราชการนอกที่ตั้งสำนักงาน ( สถานศึกษา )
สิทธิการเบิกค่าใช้จ่าย คือ
· ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทาง
· ค่าเช่าที่พัก
· ค่าพาหนะ
· ค่าใช้จ่ายอื่นๆที่จำเป็นต้องจ่าย เนื่องจากการเดินทางไปราชการ
1. การเบิกค่าเบี้ยเลี้ยง/วัน/คน
ข้าราชการ ประเภท ก ประเภท ข
ระดับ 1 – 2 180 108
ระดับ 3 – 8 210 126
ระดับ 9 ขึ้นไป 240 144
หมายเหตุ
ประเภท ก หมายถึง การเดินทางข้ามเขตจังหวัดหรือการเดินทางจากอำเภออื่นในจังหวัดเดียวกันไปอำเภอเมือง
ประเภท ข หมายถึง การเดินทางไปต่างอำเภอในจังหวัดเดียวกัน ยกเว้น อำเภอเมือง หรือการเดินทางไปสถานที่อื่นนอกที่ตั้งของโรงเรียนในอำเภอเดียวกัน
** การนับเวลาเพื่อคำนวณการเบิกค่าเบี้ยเลี้ยง
1.1 นับเวลาตั้งแต่ออกจากบ้านพักหรือจากสถานศึกษา จนกลับบ้านพักหรือสถานศึกษา
1.2 กรณีที่ต้องพักแรม ให้นับเวลาตามข้อ 1.1 คิด 24 ชั่วโมง = 1 วัน ถ้ามีเศษเกิน 12 ชั่วโมง คิด = 1 วัน
1.3 กรณีที่ไม่พักแรม ( หมายถึงการเดินทางไป-กลับทุกวันระหว่างบ้านพักกับสถานที่ที่ได้รับอนุญาตให้ไปปฏิบัติราชการ) ให้นับเวลาตามข้อ 1.1 คิด 24 ชั่วโมง = 1 วัน หากไม่ถึง 24 ชั่วโมง แต่เกิน 12 ชั่วโมง คิด = 1 วัน หากไม่ถึง 12 ชั่วโมง แต่เกิน 6 ชั่วโมง คิด = ครึ่งวัน
2. การเบิกค่าที่พัก/วัน/คน
* จำเป็นต้องพักแรม ( พักแรมในพาหนะ เบิกไม่ได้ )
ข้าราชการ อัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด สิทธิการเบิกตามอัตรามาตรการของ สพฐ.
ระดับ 8 ลงมา เหมาจ่ายคนละไม่เกิน 1,000 บาท * พักเดี่ยวเหมาจ่ายคนละไม่เกิน 1,000 บาท
* พักคู่เหมาจ่ายคนละไม่เกิน 600 บาท
* เดินทางเป็นหมู่คณะให้พักคู่
ระดับ 9 เหมาจ่ายคนละไม่เกิน 1,600 บาท เหมาจ่ายคนละไม่เกิน 1,500 บาท
ระดับ 10 ขึ้นไป เท่าที่จ่ายจริงคนละไม่เกิน 2,500 บาท เท่าที่จ่ายจริงคนละไม่เกิน 2,000 บาท
**การเบิกค่าที่พักแบบเหมาจ่ายไม่ต้องใช้ใบเสร็จรับเงิน
**การเบิกค่าที่พักเท่าที่จ่ายจริง ต้องแนบใบเสร็จรับเงินประกอบการเบิกจ่ายด้วย
3. การเบิกค่าพาหนะ
ยานพาหนะประจำทาง ข้าราชการ
รถไฟ * ระดับ 1 – 5 เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง ยกเว้น ชั้นบนอ.ป. ( รถไฟชั้น 1 นอนปรับอากาศ )
* ระดับ 6 ขึ้นไป เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง กรณีเดินทางชั้น บนอ.ป. ให้แนบกากตั๋วประกอบการขอเบิกด้วย
รถโดยสารประจำทาง ทุกระดับ เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง
4. การเบิกค่าโดยสารเครื่องบิน
กระทรวงการคลังกำหนด สิทธิการเบิกตามอัตรามาตรการของ สพฐ.
ระดับ 6 ขึ้นไป เดินทางได้
* ระดับ 6 ขึ้นไป เดินทางโดยสารการบินต้นทุนต่ำ( Low Cost )
* ระดับ 8 ชั้นประหยัด
* ระดับ 9 ชั้นธุรกิจ
* ระดับ 10 ขึ้นไป ชั้นหนึ่ง
5. การใช้สิทธิเบิกค่าพาหนะรับจ้าง
* ไม่มีพาหนะประจำทาง
* มีพาหนะประจำทาง แต่มีความจำเป็นเร่งด่วน เพื่อประโยชน์ของราชการ
* ให้ชี้แจงเหตุผลและความจำเป็น
* การเดินทางโดยใช้พาหนะรับจ้าง
** เป็นข้าราชการระดับ 6 ขึ้นไป
** เป็นกรณีเดินทางไป - กลับระหว่างบ้านพักหรือสถานศึกษากับสถานีขนส่งหรือสถานที่ที่ได้จัดพาหนะไว้ให้ โดยเบิกในอัตราดังนี้
การเดินทาง กระทรวงการคลังกำหนด มาตรการประหยัด สพฐ.
ข้ามเขตระหว่าง กทม. กับจังหวัดที่มีเขตติดต่อ กทม. เท่าที่จ่ายจริงเที่ยวละไม่เกิน 600 บาท * เท่าที่จ่ายจริงเที่ยวละไม่เกิน 400 บาท
* กรณีเดินทางไปท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
เท่าที่จ่ายจริงเที่ยวละไม่เกิน 500 บาท
ข้ามเขตจังหวัดอื่นๆ เท่าที่จ่ายจริงเที่ยวละไม่เกิน 500 บาท เท่าที่จ่ายจริงเที่ยวละไม่เกิน 300 บาท
* การเดินทางไป-กลับ ระหว่างบ้านพักกับสถานที่ที่ไปปฏิบัติราชการภายในจังหวัดเดียวกัน เบิกได้ไม่เกินวันละ 2 เที่ยว
* การเดินทางไปราชการในเขต กทม.
* ข้าราชการตั้งแต่ระดับ 5 ลงมา ขอเบิกค่าพาหนะรับจ้างได้ต้องมีสัมภาระและเหตุผลความจำเป็น
6. การใช้สิทธิเบิกค่าชดเชยกรณีที่ใช้ยานพาหนะส่วนตัว
* อัตราค่าชดเชย
** รถยนต์ กิโลเมตรละ 4 บาท
** รถจักรยานยนต์ กิโลเมตรละ 2 บาท
* การคำนวณระยะทาง
** ใช้เส้นทางกรมทางหลวงกำหนด
** หน่วยงานอื่น เช่น จังหวัด ท้องถิ่น เป็นต้น กำหนด
** ถ้าไม่มีให้ผู้ขอเบิกรับรอง
วันนี้พอแค่นี้ก่อนนะจำให้ได้ละว่ามีสิทธิในการเบิกค่าอะไรบ้างและจะต้องเบิกจ่ายเท่าใด
วันศุกร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2552
สรุปการใช้จ่ายเงินอุดหนุนของสถานศึกษา(ต่อ)
วันนี้เราจะมาพูดถึงแนวทางการดำเนินงานเบิกจ่ายเงินอุดหนุนของโรงเรียนว่าจะดำเนินการอย่างไรให้ถูกต้องตามระเบียบ หลักเกณฑ์ วิธีการ
แนวทางดำเนินงานเบิกจ่ายเงินอุดหนุน
การดำเนินงานเบิกจ่ายเงินอุดหนุนของสถานศึกษา สังกัด สพฐ. สถานศึกษาต้องดำเนินการตามระเบียบ หลักเกณฑ์ วิธีการและแนวปฏิบัติที่ทางราชการกำหนด เพื่อให้การใช้จ่ายเงินถูกต้องตามระเบียบและวัตถุประสงค์ รวมทั้งเกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้เรียน จึงได้สรุปขั้นตอนและแนวทางดำเนินงานเบิกจ่ายเงินอุดหนุนในรายการที่สำคัญเพื่อให้สถานศึกษาและใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานต่อไป ดังนี้
1. การเบิกจ่ายค่าจ้างชั่วคราว
2. การเบิกจ่ายค่าตอบแทน
3. การเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการชั่วคราว
4. การเบิกค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม
5. การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการจัดงาน
6. การเบิกจ่ายค่าอาหารนักเรียน
7. การเบิกจ่ายค่าจ้างเหมาะบริการ
8. ค่าเบิกจ่ายค่าพาหนะนักเรียน
9. การเบิกจ่ายค่าสาธารณูปโภค
10. การเบิกจ่ายค่าวัสดุและครุภัณฑ์
11. การเบิกจ่ายค่าปรับปรุงอาคารหรือสิ่งก่อสร้าง
12. การยืมเงินอุดหนุน
การเบิกจ่ายค่าจ้างชั่วคราว
การเบิกจ่ายค่าจ้างลูกจ้างชั่วคราวในลักษณะงบบุคลากร หมายถึง การที่สถานศึกษาสรรหาบุคลากรโดยการจ้างเป็นลูกจ้างชั่วคราว เพื่อให้ปฏิบัติงานในหน้าที่ครูผู้สอนหรือปฏิบัติงานอื่นๆในสถานศึกษา เช่น ครูจ้างสอน พนักงานขับรถ ยาม คนสวน เป็นต้น โดยสถานศึกษาต้องคำนึงถึงความจำเป็นที่ต้องจ้างและมีเงินเพียงพอที่จ่าย ดังนี้
- ค่าจ้างลูกจ้างชั่วคราวตามสัญญาการจ้าง จ่ายในลักษณะงบบุคลากร
- เงินสมทบกองทุนประกันสังคมในฐานะนายจ้าง ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 จ่ายในลักษณะงบดำเนินงาน
ขั้นตอนการดำเนินการ
1. ดำเนินการสรรหาและจ้างลูกจ้างชั่วคราวตามระเบียบกระทรวงการคลัง
2. เมื่อถึงกำหนดการจ่ายเงิน เจ้าหน้าที่การเงินของสถานศึกษามีหน้าที่ ดังนี้
2.1 บันทึกเสนอผู้อำนวยการโรงเรียนเพื่อขออนุมัติเบิกเงินอุดหนุนเป็นค่าจ้างลูกจ้างชั่วคราวเพื่อจ่ายเงินให้ลูกจ้าง โดยหักเงินสมทบกองทุนประกันสังคมของลูกจ้างแต่ละคนในอัตราร้อยละ 5 ของค่าจ้าง เก็บไว้เพื่อนำส่งพร้อมกับเงินสมทบส่วนของนายจ้าง
2.2 บันทึกเสนอผู้อำนวยการโรงเรียนเพื่อขออนุมัติเบิกเงินอุดหนุนเป็นเงินสมทบกองทุนประกันสังคมในส่วนของนายจ้าง ให้กับลูกจ้างแต่ละคนในอัตราร้อยละ 5 ของค่าจ้าง
2.3 กรอกแบบรายการแสดงการนำส่งเงินสมทบตามแบบสำนักงานประกันสังคมกำหนด ( แบบ สปส.1-10 ) จำนวน 2 ชุด เพื่อนำส่งสำนักงานประกันสังคม 1 ชุดทุกเดือนอย่างช้าไม่เกินวันที่ 15 ของเดือนถัดไป และเก็บไว้เป็นหลักฐานการเบิกพร้อมกับใบเสร็จรับเงินของสำนักงานประกันสังคม ณ สถานศึกษา 1 ชุด
เอกสารประกอบประกอบการเบิกจ่ายค่าจ้างลูกจ้างชั่วคราวและเงินประกันสังคม
1. คำสั่งสถานศึกษาจ้างลูกจ้างชั่วคราวและบัญชีรายละเอียดการจ้างแนบท้าย
2. บันทึกการขออนุมัติเบิกเงินค่าจ้างลูกจ้างชั่วคราวและเงินประกันสังคม
3. หลักฐานการจ่ายเงินค่าจ้างลูกจ้างรายเดือน
4. แบบรายการแสดงการนำเงินสมทบ
5. ใบเสร็จรับเงินของสำนักงานประกันสังคม
การเบิกจ่ายค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากรบุคคลภายนอก หมายถึง เงินที่จ่ายเป็นค่าตอบแทนให้บุคคลภายนอกที่สอนในวิชาที่สถานศึกษาขาดแคลนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ค่าตอบแทนการสอนพิเศษและค่าสอนเกินภาระงานที่สอนในสถานศึกษา หมายถึงเงินที่เบิกจ่ายให้กับครูที่สอนนอกเวลาการเรียนการสอนปกติในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งมิใช่การสอนในภาคฤดูร้อนหรือหลักสูตรเสริมพิเศษเฉพาะด้าน
** การสอนดังกล่าว 1 หน่วยชั่วโมงต้องมีเวลาไม่น้อยกว่า 50 นาที
** ค่าตอบแทนวิทยากรภายนอก เบิกจ่ายได้ในอัตราชั่วโมงละ 200 บาท
** ค่าสอนพิเศษและค่าสอนเกินภาระงานสอนในสถานศึกษาและสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ.2551 เบิกจ่ายได้ในอัตราชั่วโมงละ 200 บาท
วันนี้พอแค่นี้ก่อนแล้วกันวันพรุ่งนี้ค่อยมาพูดถึงการเบิกจ่ายไปราชการชั่วคราว .........................................
แนวทางดำเนินงานเบิกจ่ายเงินอุดหนุน
การดำเนินงานเบิกจ่ายเงินอุดหนุนของสถานศึกษา สังกัด สพฐ. สถานศึกษาต้องดำเนินการตามระเบียบ หลักเกณฑ์ วิธีการและแนวปฏิบัติที่ทางราชการกำหนด เพื่อให้การใช้จ่ายเงินถูกต้องตามระเบียบและวัตถุประสงค์ รวมทั้งเกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้เรียน จึงได้สรุปขั้นตอนและแนวทางดำเนินงานเบิกจ่ายเงินอุดหนุนในรายการที่สำคัญเพื่อให้สถานศึกษาและใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานต่อไป ดังนี้
1. การเบิกจ่ายค่าจ้างชั่วคราว
2. การเบิกจ่ายค่าตอบแทน
3. การเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการชั่วคราว
4. การเบิกค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม
5. การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการจัดงาน
6. การเบิกจ่ายค่าอาหารนักเรียน
7. การเบิกจ่ายค่าจ้างเหมาะบริการ
8. ค่าเบิกจ่ายค่าพาหนะนักเรียน
9. การเบิกจ่ายค่าสาธารณูปโภค
10. การเบิกจ่ายค่าวัสดุและครุภัณฑ์
11. การเบิกจ่ายค่าปรับปรุงอาคารหรือสิ่งก่อสร้าง
12. การยืมเงินอุดหนุน
การเบิกจ่ายค่าจ้างชั่วคราว
การเบิกจ่ายค่าจ้างลูกจ้างชั่วคราวในลักษณะงบบุคลากร หมายถึง การที่สถานศึกษาสรรหาบุคลากรโดยการจ้างเป็นลูกจ้างชั่วคราว เพื่อให้ปฏิบัติงานในหน้าที่ครูผู้สอนหรือปฏิบัติงานอื่นๆในสถานศึกษา เช่น ครูจ้างสอน พนักงานขับรถ ยาม คนสวน เป็นต้น โดยสถานศึกษาต้องคำนึงถึงความจำเป็นที่ต้องจ้างและมีเงินเพียงพอที่จ่าย ดังนี้
- ค่าจ้างลูกจ้างชั่วคราวตามสัญญาการจ้าง จ่ายในลักษณะงบบุคลากร
- เงินสมทบกองทุนประกันสังคมในฐานะนายจ้าง ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 จ่ายในลักษณะงบดำเนินงาน
ขั้นตอนการดำเนินการ
1. ดำเนินการสรรหาและจ้างลูกจ้างชั่วคราวตามระเบียบกระทรวงการคลัง
2. เมื่อถึงกำหนดการจ่ายเงิน เจ้าหน้าที่การเงินของสถานศึกษามีหน้าที่ ดังนี้
2.1 บันทึกเสนอผู้อำนวยการโรงเรียนเพื่อขออนุมัติเบิกเงินอุดหนุนเป็นค่าจ้างลูกจ้างชั่วคราวเพื่อจ่ายเงินให้ลูกจ้าง โดยหักเงินสมทบกองทุนประกันสังคมของลูกจ้างแต่ละคนในอัตราร้อยละ 5 ของค่าจ้าง เก็บไว้เพื่อนำส่งพร้อมกับเงินสมทบส่วนของนายจ้าง
2.2 บันทึกเสนอผู้อำนวยการโรงเรียนเพื่อขออนุมัติเบิกเงินอุดหนุนเป็นเงินสมทบกองทุนประกันสังคมในส่วนของนายจ้าง ให้กับลูกจ้างแต่ละคนในอัตราร้อยละ 5 ของค่าจ้าง
2.3 กรอกแบบรายการแสดงการนำส่งเงินสมทบตามแบบสำนักงานประกันสังคมกำหนด ( แบบ สปส.1-10 ) จำนวน 2 ชุด เพื่อนำส่งสำนักงานประกันสังคม 1 ชุดทุกเดือนอย่างช้าไม่เกินวันที่ 15 ของเดือนถัดไป และเก็บไว้เป็นหลักฐานการเบิกพร้อมกับใบเสร็จรับเงินของสำนักงานประกันสังคม ณ สถานศึกษา 1 ชุด
เอกสารประกอบประกอบการเบิกจ่ายค่าจ้างลูกจ้างชั่วคราวและเงินประกันสังคม
1. คำสั่งสถานศึกษาจ้างลูกจ้างชั่วคราวและบัญชีรายละเอียดการจ้างแนบท้าย
2. บันทึกการขออนุมัติเบิกเงินค่าจ้างลูกจ้างชั่วคราวและเงินประกันสังคม
3. หลักฐานการจ่ายเงินค่าจ้างลูกจ้างรายเดือน
4. แบบรายการแสดงการนำเงินสมทบ
5. ใบเสร็จรับเงินของสำนักงานประกันสังคม
การเบิกจ่ายค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากรบุคคลภายนอก หมายถึง เงินที่จ่ายเป็นค่าตอบแทนให้บุคคลภายนอกที่สอนในวิชาที่สถานศึกษาขาดแคลนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ค่าตอบแทนการสอนพิเศษและค่าสอนเกินภาระงานที่สอนในสถานศึกษา หมายถึงเงินที่เบิกจ่ายให้กับครูที่สอนนอกเวลาการเรียนการสอนปกติในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งมิใช่การสอนในภาคฤดูร้อนหรือหลักสูตรเสริมพิเศษเฉพาะด้าน
** การสอนดังกล่าว 1 หน่วยชั่วโมงต้องมีเวลาไม่น้อยกว่า 50 นาที
** ค่าตอบแทนวิทยากรภายนอก เบิกจ่ายได้ในอัตราชั่วโมงละ 200 บาท
** ค่าสอนพิเศษและค่าสอนเกินภาระงานสอนในสถานศึกษาและสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ.2551 เบิกจ่ายได้ในอัตราชั่วโมงละ 200 บาท
วันนี้พอแค่นี้ก่อนแล้วกันวันพรุ่งนี้ค่อยมาพูดถึงการเบิกจ่ายไปราชการชั่วคราว .........................................
วันพฤหัสบดีที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552
สรุปการใช้จ่ายเงินอุดหนุนของสถานศึกษา
วันนี้พบกันอีกครั้งเกี่ยวกับการบริหารงบประมาณนะครับ โดยวันนี้ได้สรุปการใช้จ่ายเงินอุดหนุนของสถานศึกษา มาให้ท่านได้อ่านกัน.......
เงินงบประมาณงบเงินอุดหนุนทั่วไป รายการที่สำคัญต่อการจัดการศึกษาของนักเรียน ได้แก่
1. เงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
1.1 เงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายรายหัว
1.2 เงินอุดหนุนปัจจัยพื้นฐานสำหรับนักเรียนยากจน
* ค่าหนังสือและอุปกรณ์การเรียน
* ค่าเสื้อผ้าและวัสดุเครื่องแต่งกายนักเรียน
* ค่าอาหารกลางวัน
* ค่าพาหนะในการเดินทาง
2. เงินอุดหนุนค่าอาหารนักเรียนประจำ
3. เงินอุดหนุนค่าอาหารนักเรียนไป – กลับ
4. เงินอุดหนุนให้เป็นปัจจัยพื้นฐานสำหรับนักเรียนประจำ
* ค่าเครื่องแต่งกายนักเรียน
* ค่าเครื่องใช้ส่วนตัวนักเรียน
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ดำเนินการจัดสรรและจ่ายเงินงบประมาณงบเงินอุดหนุนให้กับโรงเรียนเพื่อใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนให้กับนักเรียน 2 กรณีคือ
1. สพฐ. โอนตรงสู่สถานศึกษา ได้แก่ เงินค่าใช้จ่ายรายหัว
2. สพฐ จัดสรรเงินผ่าน สพท./สถานศึกษาที่เป็นหน่วยเบิก ได้แก่
ปัจจัยพื้นฐานนักเรียนยากจน
ปัจจัยพื้นฐานนักเรียนประจำ
ค่าอาหารนักเรียนประจำ
ค่าอาหารนักเรียนไป-กลับ
การใช้งบประมาณงบเงินอุดหนุน ประเภทเงินอุดหนุนทั่วไป รายการเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ( เงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายรายหัว ) ให้ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการที่เกี่ยวข้อง โดยให้ใช้ในลักษณะ 3 ประเภทงบรายจ่าย ดังนี้
1. งบบุคลากร
1.1 ค่าจ้างชั่วคราว เช่น ค่าจ้างครูอัตราจ้างรายเดือน พนักงานขับรถ ฯลฯ
2. งบดำเนินงาน
2.1 ค่าตอบแทน เช่นค่าตอบแทนวิทยากร ค่าตอบแทนวิทยากรวิชาชีพท้องถิ่น ฯลฯ
2.2 ค่าใช้สอย เช่น ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก ค่าพาหนะ ค่าจ้างซ่อมแซม ค่าจ้างเหมาบริการ ค่าพาหนะพานักเรียนไปทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ ฯลฯ
2.3 ค่าวัสดุ เช่นค่าวัสดุการศึกษา ค่าเครื่องเขียน ค่าวัสดุเวชภัณฑ์ ค่าซ่อมแซมบำรุงทรัพย์สิน ฯลฯ
2.4 ค่าสาธารณูปโภค เช่นค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ ฯลฯ
3. งบลงทุน
3.1 ค่าครุภัณฑ์ เช่น จัดซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เครื่องถ่ายเอกสาร ฯลฯ
3.2 ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง รายจ่ายเพื่อประกอบ ดัดแปลง ต่อเติม หรือปรับปรุงที่ดินและสิ่งก่อสร้างที่มีวงเงินเกินกว่า 50,000 บาท เช่น ค่าจัดสวน ค่าถมดิน ถนน รั้ว สะพาน บ่อน้ำ ฯลฯ
เงินงบประมาณงบเงินอุดหนุนทั่วไป รายการที่สำคัญต่อการจัดการศึกษาของนักเรียน ได้แก่
1. เงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
1.1 เงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายรายหัว
1.2 เงินอุดหนุนปัจจัยพื้นฐานสำหรับนักเรียนยากจน
* ค่าหนังสือและอุปกรณ์การเรียน
* ค่าเสื้อผ้าและวัสดุเครื่องแต่งกายนักเรียน
* ค่าอาหารกลางวัน
* ค่าพาหนะในการเดินทาง
2. เงินอุดหนุนค่าอาหารนักเรียนประจำ
3. เงินอุดหนุนค่าอาหารนักเรียนไป – กลับ
4. เงินอุดหนุนให้เป็นปัจจัยพื้นฐานสำหรับนักเรียนประจำ
* ค่าเครื่องแต่งกายนักเรียน
* ค่าเครื่องใช้ส่วนตัวนักเรียน
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ดำเนินการจัดสรรและจ่ายเงินงบประมาณงบเงินอุดหนุนให้กับโรงเรียนเพื่อใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนให้กับนักเรียน 2 กรณีคือ
1. สพฐ. โอนตรงสู่สถานศึกษา ได้แก่ เงินค่าใช้จ่ายรายหัว
2. สพฐ จัดสรรเงินผ่าน สพท./สถานศึกษาที่เป็นหน่วยเบิก ได้แก่
ปัจจัยพื้นฐานนักเรียนยากจน
ปัจจัยพื้นฐานนักเรียนประจำ
ค่าอาหารนักเรียนประจำ
ค่าอาหารนักเรียนไป-กลับ
การใช้งบประมาณงบเงินอุดหนุน ประเภทเงินอุดหนุนทั่วไป รายการเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ( เงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายรายหัว ) ให้ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการที่เกี่ยวข้อง โดยให้ใช้ในลักษณะ 3 ประเภทงบรายจ่าย ดังนี้
1. งบบุคลากร
1.1 ค่าจ้างชั่วคราว เช่น ค่าจ้างครูอัตราจ้างรายเดือน พนักงานขับรถ ฯลฯ
2. งบดำเนินงาน
2.1 ค่าตอบแทน เช่นค่าตอบแทนวิทยากร ค่าตอบแทนวิทยากรวิชาชีพท้องถิ่น ฯลฯ
2.2 ค่าใช้สอย เช่น ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก ค่าพาหนะ ค่าจ้างซ่อมแซม ค่าจ้างเหมาบริการ ค่าพาหนะพานักเรียนไปทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ ฯลฯ
2.3 ค่าวัสดุ เช่นค่าวัสดุการศึกษา ค่าเครื่องเขียน ค่าวัสดุเวชภัณฑ์ ค่าซ่อมแซมบำรุงทรัพย์สิน ฯลฯ
2.4 ค่าสาธารณูปโภค เช่นค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ ฯลฯ
3. งบลงทุน
3.1 ค่าครุภัณฑ์ เช่น จัดซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เครื่องถ่ายเอกสาร ฯลฯ
3.2 ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง รายจ่ายเพื่อประกอบ ดัดแปลง ต่อเติม หรือปรับปรุงที่ดินและสิ่งก่อสร้างที่มีวงเงินเกินกว่า 50,000 บาท เช่น ค่าจัดสวน ค่าถมดิน ถนน รั้ว สะพาน บ่อน้ำ ฯลฯ
วันอังคารที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2552
การบริหารงบประมาณ
ต่อจากคราวที่แล้วนะครับเกี่ยวกับการบริหารงบประมาณ....อยากรู้เรื่องอะไรบอกมาได้เลยครับเดี๋ยวผมจัดหาให้....
ประเภทของงบประมาณ
การจัดทำงบประมาณสามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
1. แบ่งตามนโยบายงบประมาณ แบ่งออกได้ 3 ประเภท ดังนี้
1. งบประมาณแบบสมดุล ( Balance Budget ) คือรายรับและรายจ่ายเท่ากัน ใช้ในกรณีที่เศรษฐกิจมีความเสถียรภาพ ไม่มีภาวะเงินเฟ้อ ( ประเทศไทย ในปี 2549 )
2. งบประมาณแบบเกินดุล ( Surplus Budget ) คือรายรับมากกว่ารายจ่าย ซึ่งจะมีผลให้เงินเหลือ ( เงินคงคลัง ) ใช้ในกรณีภาวะเงินเฟ้อ
3. งบประมาณแบบขาดดุล ( Deficit Budget ) คือรายรับน้อยกว่ารายจ่าย เป็นเหตุให้คนในท้องตลาดมากขึ้นเป็นการกระตุ้นการซื้อขาย การผลิตฯ ใช้ในกรณีสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ( ภาวะเงินฝืด )
2. แบ่งตามบทบาทงบประมาณ แบ่งออกได้ 5 ประเภท ดังนี้
1. งบประมาณแบบแสดงรายการ ( Line Iten Budget ) งบประมาณประเภทนี้เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการควบคุม มีรายการต่างๆมากมายและกำหนดเอาไว้ตายตัวจะพลิกแพลงเป็นอย่างอื่นไม่ได้ ทำให้ขาดความหยืดหยุ่นในการปฏิบัติงานทำงานได้ไม่คล่องตัว
2. งบประมาณแบบแสดงผลงาน ( Performance Budget ) แสดงรายการใช้จ่ายและผลงานที่ได้รับ เรียกอีกอย่างว่า PBB
3. งบประมาณแบบแสดงผลงานโครงการ ( Planning Program And Budgeting System ) ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพโดยใช้กระบวนการวางแผน
4. งบประมาณแบบฐานศูนย์ ( Zero Based Budget:ZBB ) เป็นงบประมาณที่พิจารณางบประมาณทุกปีอย่างละเอียดทุกรายการ โดยไม่คำนึงถึงงบประมาณเดิมหรือไม่
5. งบประมาณแบบสะสม ( Incremental Budget ) จะเป็นการพิจารณางบประมาณส่วนที่เพิ่มขึ้นใหม่ที่ยังไม่ได้พิจารณา ส่วนงบประมาณเดิมจะยกยอดมาตั้งใหม่โดยไม่ต้องพิจารณา
วันเนี้พอแค่นี้ก่อนนะขอรับ....จำให้ได้ละข้อสอบทั้งนั้น....
ประเภทของงบประมาณ
การจัดทำงบประมาณสามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
1. แบ่งตามนโยบายงบประมาณ แบ่งออกได้ 3 ประเภท ดังนี้
1. งบประมาณแบบสมดุล ( Balance Budget ) คือรายรับและรายจ่ายเท่ากัน ใช้ในกรณีที่เศรษฐกิจมีความเสถียรภาพ ไม่มีภาวะเงินเฟ้อ ( ประเทศไทย ในปี 2549 )
2. งบประมาณแบบเกินดุล ( Surplus Budget ) คือรายรับมากกว่ารายจ่าย ซึ่งจะมีผลให้เงินเหลือ ( เงินคงคลัง ) ใช้ในกรณีภาวะเงินเฟ้อ
3. งบประมาณแบบขาดดุล ( Deficit Budget ) คือรายรับน้อยกว่ารายจ่าย เป็นเหตุให้คนในท้องตลาดมากขึ้นเป็นการกระตุ้นการซื้อขาย การผลิตฯ ใช้ในกรณีสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ( ภาวะเงินฝืด )
2. แบ่งตามบทบาทงบประมาณ แบ่งออกได้ 5 ประเภท ดังนี้
1. งบประมาณแบบแสดงรายการ ( Line Iten Budget ) งบประมาณประเภทนี้เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการควบคุม มีรายการต่างๆมากมายและกำหนดเอาไว้ตายตัวจะพลิกแพลงเป็นอย่างอื่นไม่ได้ ทำให้ขาดความหยืดหยุ่นในการปฏิบัติงานทำงานได้ไม่คล่องตัว
2. งบประมาณแบบแสดงผลงาน ( Performance Budget ) แสดงรายการใช้จ่ายและผลงานที่ได้รับ เรียกอีกอย่างว่า PBB
3. งบประมาณแบบแสดงผลงานโครงการ ( Planning Program And Budgeting System ) ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพโดยใช้กระบวนการวางแผน
4. งบประมาณแบบฐานศูนย์ ( Zero Based Budget:ZBB ) เป็นงบประมาณที่พิจารณางบประมาณทุกปีอย่างละเอียดทุกรายการ โดยไม่คำนึงถึงงบประมาณเดิมหรือไม่
5. งบประมาณแบบสะสม ( Incremental Budget ) จะเป็นการพิจารณางบประมาณส่วนที่เพิ่มขึ้นใหม่ที่ยังไม่ได้พิจารณา ส่วนงบประมาณเดิมจะยกยอดมาตั้งใหม่โดยไม่ต้องพิจารณา
วันเนี้พอแค่นี้ก่อนนะขอรับ....จำให้ได้ละข้อสอบทั้งนั้น....
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)