วันพุธที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2552

การบริหารงบประมาณ(ต่อ)

วันนี้มาดูการสรุปการใช้จ่ายเงินอุดหนุนของสถานศึกษาต่อนะครับ วันนี้จะเป็นการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการชั่วคราว
การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการชั่วคราว
การเดินทางไปราชการชั่วคราว หมายถึงการได้รับอนุมัติจากผู้อำนวยการโรงเรียนให้ไปปฏิบัติราชการนอกที่ตั้งสำนักงาน ( สถานศึกษา )
สิทธิการเบิกค่าใช้จ่าย คือ
· ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทาง
· ค่าเช่าที่พัก
· ค่าพาหนะ
· ค่าใช้จ่ายอื่นๆที่จำเป็นต้องจ่าย เนื่องจากการเดินทางไปราชการ

1. การเบิกค่าเบี้ยเลี้ยง/วัน/คน
ข้าราชการ ประเภท ก ประเภท ข
ระดับ 1 – 2 180 108
ระดับ 3 – 8 210 126
ระดับ 9 ขึ้นไป 240 144
หมายเหตุ
ประเภท ก หมายถึง การเดินทางข้ามเขตจังหวัดหรือการเดินทางจากอำเภออื่นในจังหวัดเดียวกันไปอำเภอเมือง
ประเภท ข หมายถึง การเดินทางไปต่างอำเภอในจังหวัดเดียวกัน ยกเว้น อำเภอเมือง หรือการเดินทางไปสถานที่อื่นนอกที่ตั้งของโรงเรียนในอำเภอเดียวกัน
** การนับเวลาเพื่อคำนวณการเบิกค่าเบี้ยเลี้ยง
1.1 นับเวลาตั้งแต่ออกจากบ้านพักหรือจากสถานศึกษา จนกลับบ้านพักหรือสถานศึกษา
1.2 กรณีที่ต้องพักแรม ให้นับเวลาตามข้อ 1.1 คิด 24 ชั่วโมง = 1 วัน ถ้ามีเศษเกิน 12 ชั่วโมง คิด = 1 วัน
1.3 กรณีที่ไม่พักแรม ( หมายถึงการเดินทางไป-กลับทุกวันระหว่างบ้านพักกับสถานที่ที่ได้รับอนุญาตให้ไปปฏิบัติราชการ) ให้นับเวลาตามข้อ 1.1 คิด 24 ชั่วโมง = 1 วัน หากไม่ถึง 24 ชั่วโมง แต่เกิน 12 ชั่วโมง คิด = 1 วัน หากไม่ถึง 12 ชั่วโมง แต่เกิน 6 ชั่วโมง คิด = ครึ่งวัน
2. การเบิกค่าที่พัก/วัน/คน
* จำเป็นต้องพักแรม ( พักแรมในพาหนะ เบิกไม่ได้ )
ข้าราชการ อัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด สิทธิการเบิกตามอัตรามาตรการของ สพฐ.
ระดับ 8 ลงมา เหมาจ่ายคนละไม่เกิน 1,000 บาท * พักเดี่ยวเหมาจ่ายคนละไม่เกิน 1,000 บาท
* พักคู่เหมาจ่ายคนละไม่เกิน 600 บาท
* เดินทางเป็นหมู่คณะให้พักคู่
ระดับ 9 เหมาจ่ายคนละไม่เกิน 1,600 บาท เหมาจ่ายคนละไม่เกิน 1,500 บาท
ระดับ 10 ขึ้นไป เท่าที่จ่ายจริงคนละไม่เกิน 2,500 บาท เท่าที่จ่ายจริงคนละไม่เกิน 2,000 บาท

**การเบิกค่าที่พักแบบเหมาจ่ายไม่ต้องใช้ใบเสร็จรับเงิน
**การเบิกค่าที่พักเท่าที่จ่ายจริง ต้องแนบใบเสร็จรับเงินประกอบการเบิกจ่ายด้วย

3. การเบิกค่าพาหนะ
ยานพาหนะประจำทาง ข้าราชการ
รถไฟ * ระดับ 1 – 5 เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง ยกเว้น ชั้นบนอ.ป. ( รถไฟชั้น 1 นอนปรับอากาศ )
* ระดับ 6 ขึ้นไป เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง กรณีเดินทางชั้น บนอ.ป. ให้แนบกากตั๋วประกอบการขอเบิกด้วย
รถโดยสารประจำทาง ทุกระดับ เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง

4. การเบิกค่าโดยสารเครื่องบิน
กระทรวงการคลังกำหนด สิทธิการเบิกตามอัตรามาตรการของ สพฐ.
ระดับ 6 ขึ้นไป เดินทางได้
* ระดับ 6 ขึ้นไป เดินทางโดยสารการบินต้นทุนต่ำ( Low Cost )
* ระดับ 8 ชั้นประหยัด
* ระดับ 9 ชั้นธุรกิจ
* ระดับ 10 ขึ้นไป ชั้นหนึ่ง

5. การใช้สิทธิเบิกค่าพาหนะรับจ้าง
* ไม่มีพาหนะประจำทาง
* มีพาหนะประจำทาง แต่มีความจำเป็นเร่งด่วน เพื่อประโยชน์ของราชการ
* ให้ชี้แจงเหตุผลและความจำเป็น
* การเดินทางโดยใช้พาหนะรับจ้าง
** เป็นข้าราชการระดับ 6 ขึ้นไป
** เป็นกรณีเดินทางไป - กลับระหว่างบ้านพักหรือสถานศึกษากับสถานีขนส่งหรือสถานที่ที่ได้จัดพาหนะไว้ให้ โดยเบิกในอัตราดังนี้
การเดินทาง กระทรวงการคลังกำหนด มาตรการประหยัด สพฐ.
ข้ามเขตระหว่าง กทม. กับจังหวัดที่มีเขตติดต่อ กทม. เท่าที่จ่ายจริงเที่ยวละไม่เกิน 600 บาท * เท่าที่จ่ายจริงเที่ยวละไม่เกิน 400 บาท
* กรณีเดินทางไปท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
เท่าที่จ่ายจริงเที่ยวละไม่เกิน 500 บาท
ข้ามเขตจังหวัดอื่นๆ เท่าที่จ่ายจริงเที่ยวละไม่เกิน 500 บาท เท่าที่จ่ายจริงเที่ยวละไม่เกิน 300 บาท
* การเดินทางไป-กลับ ระหว่างบ้านพักกับสถานที่ที่ไปปฏิบัติราชการภายในจังหวัดเดียวกัน เบิกได้ไม่เกินวันละ 2 เที่ยว
* การเดินทางไปราชการในเขต กทม.
* ข้าราชการตั้งแต่ระดับ 5 ลงมา ขอเบิกค่าพาหนะรับจ้างได้ต้องมีสัมภาระและเหตุผลความจำเป็น



6. การใช้สิทธิเบิกค่าชดเชยกรณีที่ใช้ยานพาหนะส่วนตัว
* อัตราค่าชดเชย
** รถยนต์ กิโลเมตรละ 4 บาท
** รถจักรยานยนต์ กิโลเมตรละ 2 บาท
* การคำนวณระยะทาง
** ใช้เส้นทางกรมทางหลวงกำหนด
** หน่วยงานอื่น เช่น จังหวัด ท้องถิ่น เป็นต้น กำหนด
** ถ้าไม่มีให้ผู้ขอเบิกรับรอง
วันนี้พอแค่นี้ก่อนนะจำให้ได้ละว่ามีสิทธิในการเบิกค่าอะไรบ้างและจะต้องเบิกจ่ายเท่าใด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น