วันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2552

การบริหารงานบุคคล

ครูสุโขทัย : วันนี้ขอเสนอความรู้เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลเพื่อให้ผู้ที่เตรียมตัวสอบได้ศึกษาและทราบเกี่ยวกับหลักการบริหารงานบุคคล แต่ถ้าอยากรู้เรื่องอะไรก่อนเป็นพิเศษก็แจ้งเข้ามาได้นะขอรับ

การบริหารงานบุคคล

การบริหารงานบุคคล หมายถึง วิธีการจัดการหรือดำเนินการเกี่ยวกับบุคคลในการทำงานในอันที่จะทำให้บุคคลที่มีความรู้ ความสามารถเหมาะสมกับการปฏิบัติงานให้บรรลุอย่างมีประสิทธิภาพหรือศาสตร์ แขนงหนึ่งที่ว่าด้วยการดำเนินการหรือการจัดการเกี่ยวกับบุคคลในหน่วยงาน

ความสำคัญของการบริหารงานบุคคล
การบริหารงานบุคคลนั้นจะประกอบขึ้นไปด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ อยู่ 2 ส่วน คือ คนและงาน ดังนั้นการบริหารงานบุคคลมีความสำคัญคือ
1. คนเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการบริหารงาน เนื่องจากคนเป็นผู้ทำให้เกิดความสำเร็จ
2. การทำงานจำเป็นจะต้องเลือกคนเพื่อให้ได้บุคคลที่มีความรู้ ความสามารถเหมาะกับงานและรู้จักใช้คนอย่างมีประสิทธิภาพ

องค์ประกอบของการบริหารงานบุคคล
1. องค์กรและสิ่งแวดล้อม
2. งาน
3. บุคคล

กระบวนการบริหารงานบุคคล
1. การสรรหาบุคคล ได้แก่ การวางแผน การกำหนดตำแหน่ง และการสรรหา( เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด)
2. การใช้บุคคล ได้แก่ การบรรจุแต่งตั้ง การย้าย การโอน
3. การพัฒนาบุคคล ได้แก่ การพัฒนา การพิจารณาความดี ความชอบ การเลื่อนตำแหน่ง
4. การธำรงรักษาบุคคล ได้แก่ การดำเนินการทางวินัย การอุทธรณ์ ร้องทุกข์ การจัดสวัสดิการ การทะเบียนประวัติ

สรุป หา ใช้ พัฒนา ธำรงรักษา


ระบบการบริหารงานบุคคล
ระบบการบริหารงานบุคคลที่สำคัญมี 2 ระบบ คือ
1. ระบบอุปถัมภ์ ( Patronage System ) ใช้มาตั้งแต่โบราณ สามารถแบ่งออกได้ 3 ลักษณะ คือ
1. ระบบสืบสายโลหิต
2. ระบบแลกเปลี่ยน นำสิ่งของมาแลกเปลี่ยน
3. ระบบชอบพอกันพิเศษ

2. ระบบคุณธรรม ( Merit System ) บางแห่งเรียกใช้คำว่า ระบบคุณวุฒิ- ระบบความรู้ ความสามารถ- ระบบคุณความดี – ระบบความดีและความสามารถ มีหลักสำคัญ 4 ประการ คือ
1. หลักความสามารถ ( Put the right man on the right job )
2. หลักความเสมอภาค –เปิดโอกาสให้เท่าเทียมกัน( Equal Pay for Equal Work )
3. หลักความมั่นคง-หลักประกันในการทำงาน
4. หลักความเป็นกลางทางการเมือง

ภาคราชการนิยมใช้ ระบบคุณธรรม
ภาคธุรกิจ นิยมใช้ ระบบคุณธรรมและระบบอุปถัมภ์

ขอบข่ายในการบริหารงานบุคคล
1. การดำเนินการเกี่ยวกับความต้องการบุคคลในราชการ
2. การสรรหาบุคลากรเข้ารับราชการ ได้แก่ การสอบแข่งขัน,การคัดเลือก,การสอบคัดเลือก
3. การแต่งตั้ง ได้แก่การบรรจุและแต่งตั้ง การย้าย การโอน การเลื่อนตำแหน่ง
4. การพัฒนาบุคลากร ได้แก่การฝึกอบรม
5. การพิจารณาความดีความชอบ
6. การรักษาระเบียบวินัย
7. การออกจากราชการ
8. การอุทธรณ์และการร้องทุกข์
9. การจัดทำทะเบียนประวัติ
10. การให้บริการเกี่ยวกับงานบุคคล
วันนี้พอแค่นี้ก่อนนะขอรับ จาก ครูสุโขทัย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น