วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2552

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

วันนี้ครูสุโขทัย ได้ไปอ่านเกี่ยวกับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ก็เลยนำให้ทุกๆได้อ่านกันหวังว่าจะนำไปใช้ในการสอบได้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก และเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย พ.ศ.2536

1. เครื่องราชอิสริยาภรณ์ หมายความว่า เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องราชอิสริยาภรณ์ช้างเผือก หรือเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทยตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎไทย แล้วแต่กรณี
2. ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามระเบียบนี้
การเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้เริ่มจากเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย มีจำนวน 8 ชั้นตรา และเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก มีจำนวน 8 ชั้นตรา สลับกัน โดยเลื่อนชั้นตราตามลำดับจากชั้นล่างสุดจนถึงชั้นสูงสุดตามลำดับ ดังนี้
1. ชั้นที่ 7 เหรียญเงินมงกุฎไทย ( ร.ง.ม. )
2. ชั้นที่ 7 เหรียญเงินช้างเผือก ( ร.ง.ช. )
3. ชั้นที่ 6 เหรียญทองมงกุฎไทย ( ร.ท.ม.)
4. ชั้นที่ 6 เหรียญทองช้างเผือก (ร.ท.ช.)
5. ชั้นที่ 5 เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย (บ.ม.)
6. ชั้นที่ 5 เบญจมาภรณ์ช้างเผือก (บ.ช.)
7. ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย (จ.ม.)
8. ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.)
9. ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)
10. ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)
11. ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)
12. ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)
13. ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม)
14. ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
15. ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
16. ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
โดยให้พิจารณาถึงตำแหน่ง ระดับ ชั้น ชั้นยศ กำหนดระยะเวลา และความดีความชอบ เว้นแต่จะได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในระเบียบนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น