วันพุธที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

สมรรถนะของผู้บริหาร(ต่อ)

การสื่อสาร และการจูงใจ
การสื่อสารเป็นกระบวนการติดต่อส่งผ่านข้อมูล ความคิด ความเข้าใจหรือความรู้สึกระหว่างบุคคล ซึ่งการสื่อสารจะมีองค์ประกอบ 4 ประการคือ
1. ผู้ส่งสาร ( Sender ) ได้แก่ ผู้ที่จะส่งข้อมูลข่าวสารแก่ผู้อื่น
2. ข้อมูลข่าวสาร ( Message ) คือสิ่งที่ต้องการให้ผู้อื่นรู้ ซึ่งอาจเป็นข้อมูล/ความเชื่อ ความเข้าใจ ความคิดหรือความรู้สึก
3. สื่อในช่องทางการสื่อสาร ( Communication channel ) คือช่องทางที่ใช้ในการติดต่อกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับซึ่งช่องทางในการสื่อสารจะมีหลายช่องทางทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ
4. ผู้รับสาร ( Receiver ) ได้แก่ ผู้ที่รับรู้ข้อมูลข่าวสารหรือผู้ที่เราต้องการให้รู้ข้อมูล

กระบวนการสื่อสาร
ผู้ส่งสาร ( Sender ) สาร ( Message ) สื่อหรือช่องทาง ( Channel ) ผู้รับสาร( Receiver )

ประเภทของการสื่อสาร
1. จำแนกตามกระบวนการหรือการไหลของข่าวสาร จำแนกออกเป็น 2 ประเภท
1.1 การสื่อสารทางเดียว ( One-Way Communication ) คือ การสื่อสารที่ข่าวสารจะถูกส่งจากผู้ส่งไปยังผู้รับในทิศทางเดียว โดยไม่มีการตอบโต้กลับจากฝ่ายผู้รับ เช่น การสื่อสารผ่านสื่อ วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์
1.2 การสื่อสารสองทาง ( Two-Way Communication ) คือการสื่อสารที่มีการส่งข่าวสารตอบกลับไปมาระหว่างผู้สื่อสาร ดังนั้นผู้สื่อสารแต่ละฝ่ายจึงเป็นทั้งผู้ส่งและผู้รับในขณะเดียวกัน เช่น การพบปะพูดคุยกัน การพูดโทรศัพท์ เป็นต้น
2. จำแนกตามภาษาสัญลักษณ์ที่แสดงออก แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
2.1 การสื่อสารเชิงวัจนะ หมายถึง การสื่อสารด้วยการใช้ภาษาพูด หรือเขียนเป็นคำพูดในการสื่อสาร
2.2 การสื่อสารเชิงอวัจนะ หมายถึง การสื่อสารโดยใช้รหัสสัญญาณอื่น เช่น ภาษาท่าทาง การแสดงออกทางใบหน้า สายตา ตลอดจนถึงน้ำเสียง ระดับเสียง ความเร็วในการพูด
3. จำแนกตามจำนวนผู้สื่อสาร จำแนกออกเป็น 3 ลักษณะดังนี้
3.1 การสื่อสารส่วนบุคคล
3.2 การสื่อสารระหว่างบุคคล
3.3 การสื่อสารมวลชน

การสื่อสารมีวัตถุประสงค์สำคัญดังนี้
1. เพื่อแจ้งข้อมูลข่าวสาร
2. เพื่อแนะนำและสั่งการ
3. เพื่อชักจูง
4. เพื่อสอนงาน
5. เพื่อสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน
6. เพื่อความสนุกสนานและสร้างบรรยากาศ
ช่องทางการติดต่อสื่อสาร
1. ช่องทางการสื่อสารที่เป็นทางการ
1.1 การสื่อสารจากบนลงล่าง เป็นการส่งผ่านข้อมูลข่าวสารจากผู้บริหารมายังผู้ปฏิบัติงาน หรือจากหัวหน้ามายังลูกน้อง ซึ่งการสื่อสารลักษณะนี้มักเป็นไปเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันและเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานรับรู้และสามารถนำไปปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์การได้ การสื่อสารจากบนลงล่างสามารถใช้ช่องทางต่างๆได้ดังนี้
1) สายการบังคับบัญชา เช่นการสั่งการ ถ่านทอดคำสั่ง ชี้แจงนโยบาย
2) ป้ายประกาศ
3) จดหมายข่าว
4) จดหมายและใบแทรกในเงินเดือน
5) คู่มือปฏิบัติงานและจุลสาร
6) รายงานประจำปี
7) ระบบเสียงตามสาย
1.2 การสื่อสารจากล่างขึ้นบน เป็นการสื่อสารจากบุคลากรระดับปฏิบัติการถึงผู้บริหารองค์การ ซึ่งอาจเป็นรายงานข้อมูล เสนอความคิดเห็น ตลอดจนมีส่วนร่วมในการบริหารองค์การ วิธีนี้จะช่วยให้บุคลากรมีขวัญและกำลังใจในการทำงานอีกด้วย การสื่อสารจากล่างขึ้นบนนี้อาจใช้ช่องทางการสื่อสารดังนี้
1) นโยบายการเปิดกว้าง
2) ระบบการรับความคิดเห็น (กล่องรับฟังความคิดเห็น)
3) แบบสอบถาม
4) ระบบการอุทธรณ์/ร้องทุกข์
5) กรรมการรับข้อร้องเรียน
6) การประชุมพิเศษ เช่นการจัดสัมมนา ดูงาน แข่งกีฬา
การสื่อสารในองค์การที่ดีควรจะเป็นการสื่อสารแบบสองทาง ( Two- way communications ) ซึ่งผุ้ส่งสารและผู้รับสารได้โต้ตอบกัน
2. ช่องทางการสื่อสารที่ไม่เป็นทางการ
ระบบการสื่อสารแบบไม่เป็นทางการมักจะอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างคนในองค์การเป็นตัวถ่ายทอดและส่งผ่านข้อมูลข่าวสาร ไม่มีรูปแบบตายตัวขึ้นกับสภาพของแต่ละองค์การหรือกลุ่มการส่งสารตามแบบนี้ ถึงแม้จะใช้เวลามากแต่ก็มีประสิทธิผลมากและมักจะเกิดขึ้นเสมอในองค์การ

ปัญหาในการติดต่อสื่อสาร
1. อุปสรรคด้านเทคนิค ได้แก่ สภาพแวดล้อมที่ทำให้การติดต่อสื่อสารผิดพลาดไปประกอบด้วย
1.1 ระยะเวลา เช่นการตักเตือนควรทำเมื่อบุคลากรกระทำผิดทันทีแต่หากปล่อยเวลาไปจะทำให้การตักเตือนไม่บรรลุผลสำเร็จได้
1.2 ข้อมูลมากเกินไป
1.3 ความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม เช่นการส่ายหน้าคุยกันของคนอินเดีย คือการยอมรับซึ่งแตกต่างจากสังคมไทยที่การยอมรับคือการพยักหน้า
2. อุปสรรคด้านภาษา
3. อุปสรรคด้านจิตวิทยา
1.1 การกรองข้อมูล เช่น ข้อมูลข่าวสารต้องผ่านตัวกรองมากโอกาสที่จะผิดพลาดก็จะมากยิ่งขึ้น
1.2 การขาดความจริงใจและไม่เปิดเผย
1.3 ความอิจฉา
1.4 การครอบงำทางความคิด
1.5 ความคาดหวัง
1.6 การรับรู้ที่แตกต่างกัน
1.7 สิ่งรบกวน

การจูงใจ
การจูงใจ หมายถึง การนำเอาปัจจัยต่างๆมาเป็นแรงผลักดันให้บุคคลแสดงพฤติกรรมออกมาอย่างมีทิศทางเพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายหรือเป้าหมายที่ต้องการ
กระบวนการจูงใจ มีองค์ประกอบ 3 ประการ คือ
1. ความต้องการ ( Needs ) คือ ภาวการณ์ขาดบางสิ่งบางอย่างอินทรีย์ อาจจะเป็นการขาดทางด้านร่างกายหรือการขาดทางด้านจิตใจก็ได้
2. แรงขับ ( Drive )
3. สิ่งล่อใจ ( Incentive หรือ เป้าหมาย ( Goal )

ทฤษฏีการจูงใจเบื้องต้น
1. ทฤษฏีของมาสโลว์ มี 5 ขั้น
1. ความต้องการทางร่างกาย
2. ความต้องการความมั่นคงและความปลอดภัย
3. ความต้องการทางสังคม
4. ความต้องการการยอมรับนับถือและเห็นว่าตนเองมีคุณค่าต่อสังคม
5. ความต้องการความสำเร็จ

2. ทฤษฏีสองปัจจัยของ Frederick Herzberg
1. ปัจจัยจูงใจ ปัจจัยนี้เป็นแรงกระตุ้นให้เกิดความพึงพอใจในการปฏิบัติงานหรือทำงานอย่างมีความสุข มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ปัจจัยนี้เกี่ยวข้องกับงาน ได้แก่
· ความสำเร็จในการทำงาน
· ความรับผิดชอบในงาน
· การได้รับการยกย่องในผลงาน
· ลักษณะของงานที่ทำ
· ความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
2. องค์ประกอบค้ำจุน ปัจจัยนี้ไม่ใช่ปัจจัยที่จะทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น และไม่ใช่ปัจจัยจูงใจในการเพิ่มผลผลิต แต่เป็นปัจจัยเบื้องต้นเท่านั้น ถ้าองค์ประกอบใดไม่มีปัจจัยนี้จะก่อให้เกิดความไม่พอใจในการทำงานแต่ถ้าจัดให้มีปัจจัยนี้อย่างเพียงพอก็จะทำให้เกิดความพอใจเท่านั้น มิได้เป็นการจูงใจให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานไม่ ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่ สภาพแวดล้อมในการทำงาน
· ค่าจ้างเงินเดือน
· สถานภาพในการทำงาน
· นโยบาย
· การควบคุมดูแล
· ความมั่นคงในงาน
· สภาพการทำงาน
· ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
3. ทฤษฏีการจูงใจของแมคคิลล์แลนด์ ( McClelland” Motivation Theory ) มีบทบาทช่วยในการพัฒนาการจูงใจโดยแบ่งการจูงใจตามความต้องการขั้นพื้นฐานของบุคคลเป็น 3 แบบ ดังนี้
แบบที่ 1 ความต้องการอำนาจ
แบบที่ 2 ความต้องการความผูกพัน
แบบที่ 3 ความต้องการความสำเร็จ
4. ทฤษฏีของ Douglas McGregor กล่าวว่าการจูงใจนะเกิดขึ้นย่อมอยู่กับทัศนคติของผู้บริหาร หรือผู้นำที่จะมีต่อผู้ใต้บังคับบัญชาและ McGregor ยังได้ตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับคนออกเป็น 2 แบบ กล่าวคือ ทฤษฏี X และทฤษฏี Y โดยสามารถเปรียบเทียบได้ดังนี้

ทฤษฏี X
· มนุษย์โดยทั่วไปมักจะไม่ชอบทำงานและพยายามหลีกเลี่ยง
· มนุษย์ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยทะเยอทะยานขาดความรับผิดชอบ ชอบการบังคับ ลงโทษและการควบคุม
· มักต่อต้านการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
· เห็นแก่ตัว ไม่ฉลาด เฉื่อยชา
ทฤษฏี Y
· มนุษย์จะมีการทำงานตามธรรมชาติ ไม่หลีกเลี่ยงการทำงาน
· การควบคุมมิใช่วิธีเดียวที่จะทำให้งานบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ
· มนุษย์มีจิตสำนึกในการควบคุมตนเองได้
· มนุษย์มีความทะเยอทะยานใฝ่สำเร็จและพัฒนาตนเองได้
· มนุษย์มีความคิดริเริ่มในการแก้ไขปัญหาได้ และมีความเฉลียวฉลาด

ประโยชน์ของการจูงใจ
1. เกิดความมั่นใจและพอใจในงาน
2. พึงพอใจในตัวผู้บริหาร
3. การร้องทุกข์มีน้อยลง
4. การควบคุมขององค์การ ดำเนินไปด้วยความราบรื่น
5. เกิดความจงรักภักดี และความภาคภูมิใจ
6. เกิดความร่วมมือร่วมใจในการทำงาน
7. เกิดความศรัทธาในองค์การ และลดการลาออก
8. เกิดประสิทธิภาพใจการปฏิบัติงานสูง

การมีวิสัยทัศน์
วิสัยทัศน์ ( Vision ) เป็นคำที่นิยมใช้เพื่อสื่อความหมายในลักษณะเดียวกับคำว่าจินตภาพ ญาณทรรศน์ และทัศนภาพ
( Vision ) มีคำนิยามตามพจนานุกรมว่า พลังแห่งการมองเห็น จินตนาการ การมองไปข้างหน้า การเข้าใจความจริงบนพื้นฐานของข้อเท็จจริง สิ่งที่มองเห็นด้วยตาของของ หรือพลังแห่งจินตนาการ
มีผู้ให้คำนิยามคำว่า วิสัยทัศน์ ( Vision ) แตกต่างกันออกไปหลายความหมายเช่น หมายถึง
การมองการณ์ไกล
การมองเห็นถึงขอบเขตลักษณะ
การมองเห็นแบบหยั่งรู้
การรู้จักมองไปข้างหน้าว่าจะเกิดอะไรขึ้น
เมื่อพิจารณาจากคำนิยามข้างต้น พอสรุปได้ว่า วิสัยทัศน์ ( Vision ) หมายถึง ศักยภาพของบุคคลในการหยั่งรู้สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เป็นการสร้างภาพอนาคตเพื่อกำหนดเป้าหมายการทำงาน โดยอาศัยข้อมูลข้อเท็จจริงหรือความรู้และพลังแห่งการจินตนาการ
องค์ประกอบของวิสัยทัศน์ 3 ประการ
1. ภารกิจ ( Mission ) คืองานที่หน่วยงาน องค์การ โรงเรียน วิทยาลัยหรือสถานศึกษารับผิดชอบอยู่เป็นหน้าที่หลักของสถานศึกษาแห่งนั้น ๆในแก่นสำคัญ ซึ่งก็คือวิสัยทัศน์ที่สถานศึกษาต้องการเป็นและต้องการให้มีขึ้น
2. สมรรถภาพที่เป็นจุดแข็งแกร่ง ( Capacity ) หรือเป็นจุดเด่นของสถานศึกษาที่ทำให้สถานศึกษาประสบความสำเร็จและมีข้อได้เปรียบในเชิงการแข่งขันหรือเชิงบริหาร ซึ่งก็หมายถึงสิ่งที่ทำให้สถานศึกษาทำได้ดีกว่าคนอื่น เป็นกิจกรรมหรือสมรรถนะเชิงการแข่งขันที่เหนือกว่า
3. ค่านิยม ( Value ) คือคุณค่า ความเชื่อ หรือปรัชญาของสถานศึกษา เป็นคุณค่าและความเชื่อกว้างๆว่าอะไรเป็นสิ่งที่ควรและไม่ควรปฏิบัติในการทำงาน ซึ่งจะถูกยึดถือเป็นแนวปฏิบัติ ที่สอดคล้องกับพฤติกรรมการทำงาน

ระดับของวิสัยทัศน์
วิสัยทัศน์ นำไปใช้ใน 4 ระดับ คือ
1. ตนเองมองภาพอนาคต เกี่ยวกับ อาชีพการงาน เป็นการมองเพื่อตนเอง โดยการมองสภาพภายนอกรอบตัวหน้าที่การงาน หากมีอะไรเปลี่ยนแปลงจะปฏิบัติอย่างไร
2. ตนเองมองภาพอนาคตเกี่ยวกับตนเอง เป็นการมองภายใน มองสุขภาพร่างกายและจิตใจจะพัฒนาร่างกายและจิตใจอย่างไร เป็นการย้อนดีจิตใจ ความผิดหวัง ความสมหวัง ซึ่งมีผลกระทบต่อจิตใจและจะสามารถทำงานภายใต้ความเครียดอย่างไร จะแก้ปัญหาอย่างไร จะพัฒนาอย่างไร ภายใต้สภาวการณ์ที่เปลี่ยนไป
3. การมองภาพอนาคตเกี่ยวกับองค์การ เป็นการศึกษาระบบบริหารที่เหมาะสมกับองค์การเป็นการศึกษาให้รู้ถึงสิ่งที่เกิดขึ้น ที่มีผลกระทบต่อหน่วยงาน เช่นผลกระทบจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ผลกระทบที่เกิดจากสภาพแวดล้อมทางสังคมที่มีต่อหน่วยงาน บุคลากร ในองค์การในกรณีเช่นนี้จะบริหารงานอย่างไร
4. การมองภาพอนาคตเกี่ยวกับองค์การในระบบสังคมโลก ( Globalization ) เป็นการมองคู่แข่งจากประเทศต่างๆสินค้าที่ผลิตจากประเทศอื่น จะเป็นคู่แข่งจากบริษัทในประเทศใดก็ตาม ซึ่งถ้าผลิตสินค้าที่มีคุณภาพดีกว่า แต่ราคาถูกกว่า ก็จะได้เปรียบคู่แข่งอื่นๆเป็นต้น

วิสัยทัศน์ที่ดี ควรมีลักษณะ ดังนี้
1. สั้นๆ กระชับ ชัดเจน
2. เข้าใจง่ายโดยบุคคลทุกระดับ
3. มีความหมายครอบคลุมเนื้อหาที่ต้องการ ครบถ้วน
4. มีความหมายในเชิงท้าทาย
5. หรูเลิศ จับต้องได้ เป็นจริงได้ วัดผลได้
6. กระตุ้นให้เกิดความรู้สึกคึกคัก กระตือรือร้น
7. ก่อให้เกิดความสมานสามัคคี

วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

สมรรถนะของผู้บริหาร(ต่อ)

การทำงานเป็นทีม ( TEAMWORK )
การทำงานเป็นทีมเป็นเทคนิคการทำงานที่มุ่งประสิทธิภาพ ประสิทธิผลของงานรวมถึงความพึงพอใจของผู้ร่วมงานที่ทำงาน
หัวใจของความสำเร็จของการทำงานเป็นทีมนั้นอยู่ที่ตัวสมาชิกทุกคนซึ่งมีความสำคัญเท่าเทียมกัน
การทำงานเป็นทีม ( TEAMWORK )
T = Trust ( เชื่อถือได้ )
E = Empathy ( เห็นใจกัน )
A = Agreement ( มีข้อตกลงร่วมกัน )
M = Mutual Benefit ( แบ่งปันผลประโยชน์ )
W = Willingness ( ต้องการ/อยากทำงาน )
O = Opportunity ( โอกาส )
R = Recognition ( ชื่นชม ยินดี สนับสนุน )
K = Knowledge ( ความรู้ แลกเปลี่ยนความรู้ )


ความสำคัญของการทำงานเป็นทีม
1. เกิดความสามัคคี
2. ทีมงานจะเป็นผู้ก่อกำเนิดงานเล็กๆไปสู่งานใหญ่ และงานใหญ่จะประสบความสำเร็จจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจกันทำงาน
3. สมาชิกทุกคนมีโอกาสปรึกษาหารือกันเพื่อสร้างมาตรฐานของงาน
4. มาตรฐานการทำงานที่ดีของทีมหนึ่งในองค์การจะมีผลดีต่อการกำหนดมาตรฐานงานแก่ทีมงานในองค์การในหน่วยอื่นๆ
5. ทำให้องค์การมีการมีการเจริญเติบโต

องค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญของการทำงานเป็นทีม มีดังนี้
1. ต้องประกอบไปด้วยบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป
2. บุคคลในกลุ่มต้องมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน
3. บุคคลในกลุ่มต้องสัมพันธ์ต่อกันอย่างมีแบบแผน
4. บุคคลในกลุ่มต้องพึ่งพากันในการปฏิบัติงาน
5. บุคคลในกลุ่มถือว่าเป็นตนเองเป็นสมาชิกของทีมงาน
6. บุคคลในกลุ่มมีวัตถุประสงค์และเป้าหมายเดียวกัน
7. บุคคลในกลุ่มคิดว่าการทำงานร่วมกันช่วยให้งานสำเร็จ
8. บุคคลในกลุ่มมีความสมัครใจที่จะทำงานร่วมกัน
9. บุคคลในกลุ่มมีความเพลิดเพลินที่จะทำงานและผลิตผลงานคุณภาพสูง
10. บุคคลในกลุ่มพร้อมที่จะเผชิญปัญหาร่วมกัน

การทำงานเป็นทีม มีหลักปฏิบัติดังนี้
1. กำหนดเป้าหมาย
2. กำหนดกิจกรรม
3. กำหนดบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของสมาชิกในทีมงาน
4. กระบวนการทำงานในทีม
4.1 การตัดสินใจ
4.2 การสื่อสาร
4.3 การประชุม
4.4 ภาวะผู้นำ
5. สัมพันธภาพระหว่างสมาชิกในทีม

ลักษณะของผู้นำที่ดีจะต้องมีคุณสมบัติดังนี้
1. มีความรู้ดี
2. มีความคิดริเริ่ม
3. สามารถใช้ดุลยพินิจในการตัดสินใจ
4. มีความอดทน
5. มีการสื่อสารที่ดี
6. มีความเห็นอกเห็นใจ
7. ยกย่องให้เกียรติทีมงาน
8. มีการวางแผนและดำเนินการตามแผน

รูปแบบในการทำงานเป็นทีมโดยยึดหลักสำคัญที่เรียกว่า 3H
1. Heart หรือความรู้สึกเป็นทีม การทำงานเป็นทีมเริ่มต้นต้องมีความรู้สึกร่วมกัน มีความผูกพันกันเป็นพวกเดียวกัน ( เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน )
2. Head หรือคิดเป็นทีม ช่วยกันคิดวิเคราะห์แก้ปัญหา ร่วมกันตัดสินใจ ( รวมหัวในการคิดแก้ปัญหา )
3. Hand หรือทำงานเป็นทีม เป็นขั้นตอนการทำงานหรือลงมือปฏิบัติ( ร่วมด้วยช่วยกัน )

ลักษณะของทีมที่ไม่มีประสิทธิภาพ
1. มีอาการคับข้องใจ
2. แก่งแย่ง ชิงดี
3. สีหน้าของสมาชิก
4. ความเปิดเผย ซื่อตรง
5. การประชุม
6. ความสัมพันธ์หัวหน้า,ลูกน้อง
7. สมาชิกไม่มีการพัฒนาตนเอง
8. บทบาทไม่ชัดเจน
9. ไม่ยอมรับความช่วยเหลือจากภายนอก
10. ไม่มีความคิดสร้างสรรค์
11. สมาชิกไม่ให้,ไม่รับความช่วยเหลือ



องค์ประกอบของทีมงาน มีดังนี้
1. คน
2. ทีม
3. งาน
4. องค์กร

การวิเคราะห์ และสังเคราะห์
การคิดวิเคราะห์ คือการแยกส่วน สิ่งที่ได้พบเห็น ได้ยิน ได้ฟัง ได้ประสบหรือปฏิบัติด้วยตนเอง การวิเคราะห์ แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
1. การคิดวิเคราะห์ความสำคัญ เป็นการวิเคราะห์มูลเหตุ ต้นกำเนิดผลลัพธ์ และความสำคัญของเรื่องราวทั้งปวงเช่น เลข 0 ถึง เลข 9 เลขใดใช้มากที่สุด ศีล 5 ข้อ ข้อใดสำคัญที่สุด สอบแบบใดเด็กจึงจะชอบมากที่สุด
2. การคิดวิเคราะห์ความสัมพันธ์ เป็นความสามารถในการค้นหาว่าความสำคัญย่อยๆของเรื่องราวหรือเหตุการณ์นั้นต่างติดต่อเกี่ยวข้องกันอย่างไร สอดคล้องหรือขัดแย้งกัน เช่น เหตุใดแสงจึงเร็วกว่าเสียง อะไรเป็นต้นเหตุแห่งการรัฐประหาร
3. การวิเคราะห์หลักการ เป็นความสามารถที่จะจับเค้าเงื่อนของเรื่องราวนั้นว่ายึดถือหลักการใด เช่นเครื่องบินทะยานสู่ท้องฟ้าได้โดยอาศัยหลักการใด ใช้หลักการใดในการอ่านหนังสือเตรียมสอบ

การสังเคราะห์ คือการรวม หรือการสร้างขึ้นจากของเก่าและหรือของใหม่ที่คิดได้เองหรือเรียนรู้จากผู้อื่น จากตัวอย่างข้างต้น เมื่อวิเคราะห์และศึกษาข้อมูลต่างๆประกอบกันแล้วอาจสังเคราะห์ว่าบุคคลนั้นเป็นคนเข้าไปขโมยของ ซึ่งอาจจะผิดหรือถูกก็ได้ การฝึกสังเคราะห์ทำได้หลายวิธี เช่น เล่านิทานให้ฟังแล้วให้แต่งต่อไปให้จบหรือแต่งขึ้นมาใหม่โดยใช้ตัวละครเดิม การต่อรูปภาพ การต่อแท่งไม้ การสังเคราะห์แบ่งออกเป็น 3 ด้านคือ
1. การสังเคราะห์ข้อความ เช่นความสามารถในการเขียนเรียงความ เรื่องสั้น ปาฐกถา การแต่งเพลง การวิจารณ์เหตุการณ์ เป็นต้น
2. การสังเคราะห์แผนงาน เช่นการออกแบบบ้านเรือน การออกแบบเรือ การออกแบบรถ การออกแบบเสื้อผ้า ความสามารถในการจัดภูมิทัศน์ของโรงเรียน ความสามารถในการวางแผนปฏิบัติการประจำปี ความสามารถในการวางแผนการเรียนรู้ ความสามารถในการออกแบบสื่อนวัตกรรมการเรียนการสอน
3. การสังเคราะห์ความสัมพันธ์ เช่น ความสามารถในการตั้งสมมติฐานของโครงงาน ความสามารถในการสร้างทฤษฏีการเรียนรู้ ง

การวางแผน ช่วยให้องค์การมีทิศทางและเป็นสิ่งที่นักบริหารในยุคปัจจุบันจำเป็นต้องให้ความสนใจและไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ทั้งนี้เพราะสภาพแวดล้อมที่มีข้อจำกัด ตลอดจนทรัพยากรต่างๆก็มีอย่างจำกัดเช่น ทำให้องค์การต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องจัดทำแผนงาน
แผน คือสิ่งที่แสดงความตั้งใจไว้ล่วงหน้าว่าจะดำเนินการอะไร อย่างไร ภายในระยะเวลาที่กำหนด เพื่อให้สามารถบรรลุตามวัตถุประสงค์ ซึ่งจะมีรายละเอียดระบุถึงสิ่งที่จะทำตลอดจนวิธีการดำเนินการต่างๆ
ภารกิจ คือ หน้าที่หรืองานหรือภารกิจพื้นฐานขององค์การที่ทุกองค์การต้องมีภารกิจหรือมีจุดมุ่งหมาย
วัตถุประสงค์ หมายถึง เป้าหมายที่องค์การต้องการให้กิจกรรมบรรลุผล เพราะฉะนั้น วัตถุประสงค์ที่ดีควรคำนึงถึงความ SMART ของวัตถุประสงค์ ดังนี้
S - Sensibility - มีความชัดเจนเป็นไปได้
M - Measurable - สามารถวัดได้
A - Attainable - สามารถบรรลุจุดมุ่งหมายได้
R - Reasonable - มีเหตุผลและอธิบายได้
T - Time - มีระยะเวลา
ความสำคัญของการวางแผน
1. ช่วยลดการทำงานตามยถากรรม
2. ช่วยให้การทำงานประสานสัมพันธ์กัน รวมทั้งลดการทำงานซ้ำซ้อน
3. การปฏิบัติงานตามแผนงานย่อมก่อให้เกิดการประหยัดทั้งเงินทุนและเวลา
4. ช่วยให้การตรวจสอบและการควบคุมมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
5. ช่วยแบ่งเบาภาระหน้าที่การงานของผู้บริหารให้ลดน้อยลง
6. ช่วยให้ผู้บริหารมีความเชื่อมั่นในการบริหารมากขึ้น
7. ช่วยให้ผู้บริหารสามารถตรวจสอบความสำเร็จของเป้าหมายได้
8. แผนงานที่ดีจะสามารถระดมกำลังคนและทรัพยากรต่างๆขององค์การมาใช้อย่างทั่วถึง

ประเภทของแผน
1. การจำแนกแผนตามระยะเวลา
1.1 แผนระยะสั้น เป็นแผนงานในรูปของกิจกรรมเฉพาะอย่างที่มุ่งหวังให้เกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ และสอดคล้องกับแผนระยะยาว โดยมากมักมีกำหนดเวลา 1 ปี เช่น แผนประจำปี แผนงบประมาณ
1.2 แผนระยะปานกลาง เป็นแผนที่มีระยะเวลาปฏิบัติการมากกว่า 1 ปี ตามปกติอยู่ในระยะเวลา 3 – 5 ปี เช่น แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีระยะเวลา 5 ปี
1.3 แผนระยะยาว เป็นแผนของกิจกรรมขนาดใหญ่ ที่มีความเกี่ยวข้องกับหน่วยงานหลายฝ่ายหลายสาขา ต้องใช้กระบวนการวางแผนและการทำงานสลับซับซ้อนตลอดจนต้องใช้การศึกษาวิจัยเป็นเวลานานมากกว่า 5 ปีขึ้นไป เช่น แผนสืบราชการลับ
2. การจำแนกตามระดับของการวางแผน
2.1 แผนระดับสูง
2.2 แผนระดับกลาง
2.3 แผนระดับต้น
3. จำแนกตามลำดับขั้นของแผนในองค์การ
3.1 แผนกลยุทธ์
3.2 แผนปฏิบัติการ
4. การจำแนกแผนตามระดับการบริหารประเทศ
4.1 แผนระดับชาติ
4.2 แผนระดับภาค
4.3 แผนระดับท้องถิ่น

กระบวนการวางแผน
1. การศึกษาสภาพปัญหาและการพยากรณ์เกี่ยวกับสภาพแวดล้อม
2. การกำหนดโครงรูปของการวางแผน
3. การกำหนดวัตถุประสงค์
4. การวิเคราะห์ทางเลือกและการจัดทำแผน
5. การปฏิบัติตามแผน
6. การประเมินผลและการปรับปรุงแผน

ปัญหาและอุปสรรคของการวางแผน
1. ผู้บริหารขาดความเชื่อถือความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคุณค่าของการวางแผน
2. การวางแผนต้องใช้ทรัพยากร ทั้งงบประมาณ บุคคลและเวลา
3. การวางแผนต้องใช้ข้อมูลที่เที่ยวตรงและเชื่อถือได้
4. การวางแผนแล้วไม่นำไปปฏิบัติ
5. ผู้ปฏิบัติไม่เข้าใจคุณค่าและความสำคัญของแผน



ความสัมพันธ์ของแผน แผนงาน โครงการ / งาน กิจกรรม
แผน หมายถึง สิ่งที่ได้เตรียมไว้เพื่อยึดถือเป็นหลักหรือเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานให้สำเร็จตามเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ มักจะเป็นแผนอย่างกว้างๆหรือเป็นแผนระยะยาว
แผนงาน หมายถึง กลุ่มของโครงการที่มีมากกว่า 2 โครงการขึ้นไป โดยมีวัตถุประสงค์ เดียวกัน
โครงการ มีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดแน่นอน
งาน มีระยะเวลาสิ้นสุดไม่แน่นอน
กิจกรรม ในแต่ละโครงการอาจจะมีหนึ่งกิจกรรมหรือหลายกิจกรรมก็ได้

วันอาทิตย์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

สมรรถนะของผู้บริหาร

ใกล้สอบแล้ว ครูสุโขทัย..ขอเป็นกำลังใจให้กับผู้ที่กำลังจะสอบนะขอรับ และวันนี้ก็มาศึกษาหาความรู้กันต่อดีกว่านะ.........
การบริการที่ดี ( Service Mind )
ปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้การปรับปรุงการให้บริการภาครัฐประสบความสำเร็จได้ คือการมีทรัพยากรมนุษย์ที่มีจิตสำนึก ในการให้บริการและปรารถนาที่จะปรับปรุงบริการภาครัฐ
การบริการ หมายถึง กิจกรรมหรือกระบวนการดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งของบุคคลหรือองค์การเพื่อตอบสนองความต้องการของบุคคลอื่น และก่อให้เกิดความพึงพอใจจากผลของการกระทำนั้น
คุณลักษณะ 7 ประการของการบริการที่ดี
( SERVICE )
S = Smiling & Sympathy ยิ้มแย้มและเอาใจเขามาใส่ใจเรา เห็นอกเห็นใจต่อความลำบากยุ่งยากของผู้มารับบริการ
E = Early Response ตอบสนองต่อความประสงค์จากผู้มารับบริการอย่างรวดเร็วทันใจโดยไม่ต้องให้เอ่ยปากเรียกร้อง
R = Respectful แสดงออกถึงความนับถือให้เกียรติผู้มารับบริการ
V = Voluntariness manner การให้บริการที่ทำอย่างสมัครใจเต็มใจทำ ไม่ใช่ทำงานอย่างเสียไม่ได้
I = Image Enhancing การรักษาภาพลักษณ์ของผู้ให้บริการและภาพลักษณ์ขององค์การด้วย
C = Courtesy ความอ่อนน้อม อ่อนโยน สุภาพ มีมารยาทดี
E = Enthusiasm ความกระฉับกระเฉง กระตือรือร้นขณะบริการและให้บริการมากกว่าที่ผู้รับบริการคาดหวังเอาไว้

หลักพื้นฐานของการบริการ
1. ทำให้ผู้รับบริการพอใจ
2. อย่าให้ผู้รับบริการอยู่นานเกินไป
3. อย่าทำผิดพลาดจนผู้รับบริการเดือดร้อน
4. สร้างบรรยากาศของหน่วยบริการ
5. ทำให้ผู้รับบริการเกิดความคุ้นเคย
6. เตรียมความสะดวกให้พร้อม

ลักษณะของการบริการ
1. เป็นเรื่องของความไว้วางใจ
2. เป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้
3. เป็นลักษณะที่แบ่งแยกออกจากกันไม่ได้
4. เป็นสิ่งที่ไม่คงที่
5. เป็นสิ่งที่ไม่สามารถเก็บรักษาไว้ได้
6. ไม่สามารถแสดงความเป็นเจ้าของได้

ระดับของการบริการ
การบริการ มี 2 ระดับ ได้แก่
1. ความหมายในระดับพฤติกรรม เป็นการมุ่งพิจารณาถึงการบริการในฐานะที่เป็นกระบวนการในการปฏิบัติหรือลงมือกระทำในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยมุ่งตอบสนองความต้องการของผู้ที่รับบริการ เช่นการให้คำปรึกษาทางกฎหมาย การให้บริการด้านการท่องเที่ยว
2. ความหมายในระดับสถาบัน เป็นการมุ่งพิจารณาถึงการบิรการในฐานะที่เป็นเรื่องของการประกอบธุรกิจบริการ หรืออุตสาหกรรมบริการ ซึ่งถือเป็นสถาบันทางสังคมสถาบันหนึ่ง มีบทบาทหน้าที่ต่อสังคมในด้านต่างๆเช่นอุตสาหกรรมขนส่ง

ประเภทของการบริการ
1. การบริการทางด้านธุรกิจ หมายถึง การบริการที่มีลักษณะการดำเนินงานในเชิงธุรกิจมุ่งแสวงหากำไรเป็นสำคัญ มักจะอยู่ภายใต้การดำเนินงานขององค์การ บริษัท และห้างร้านของเอกชน เช่น การบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ การบริการเคเบิลทีวี
2. การบริการสาธารณะ หมายถึง การบริการที่มีลักษณะการดำเนินงานโดยระบบราชการ มุ่งประโยชน์สุขและสวัสดิภาพของประชาชนในสังคมเป็นสำคัญ ได้แก่การบริการของหน่วยงานต่างๆของรัฐเช่น การบริการการศึกษา เป็นต้น

ธรรมะของผู้ให้บริการ คือ พรหมวิหาร 4 ( เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา )



Karl Albrecht ได้เสนอแนวคิดปัจจัยสำคัญในการปฏิบัติการให้บริการ อันเปรียบเสมือนด้านแต่ละด้านของรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า ซึ่งภายในบรรจุผู้รับบริการไว้ หากขาดปัจจัยด้านหนึ่งไปสามเหลี่ยมนี้จะไม่ครบถ้วน จะเป็นสามเหลี่ยมไปไม่ได้ นั้นคือ องค์การจะให้บริการที่ดีต่อไปไม่ได้ รูปนี้เรียกว่า The Service Triangle หรือสามเหลี่ยมบริการ ดังภาพ

ผู้รับบริการ
กลยุทธ์การบริการ ข้าราชการ

ระบบงาน


1. กลยุทธ์การบริการ ( Strategy ) หรือวัตถุประสงค์หลัก อันใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติต้องกำหนดไว้เพื่อทำให้การปฏิบัติเข้าสู่เป้าหมายโดยมีความยืดหยุ่นตัวพอเพียง มีความแม่นยำตรงเข้าเป้าหมายได้ดี โดยหลักฐานของการสนองตอบความต้องการของประชาชนได้อย่างจริงจัง
2. ระบบงาน ( System ) หรือกระบวนการอันต้องเน้นให้ระบบการบริการประชาชนเป็นเรื่องเรียบง่าย ประชาชนสบายใจเมื่อมาใช้บริการ ไม่ยุ่งยากซับซ้อน ดูเป็นเจ้าขุนมูลนาย ประชาชน ต้องเข้าใจได้ง่ายๆ เข้าพบเข้าปรึกษา เข้ารับบริการได้อย่างเป็นกันเอง มีความคล่องตัวสูง
3. ข้าราชการ ( Staff ) ผู้ให้บริการในทุกระดับต้องได้รับการสรรหาพัฒนาและปรับพฤติกรรม ตลอดจนวิธีการทำงานให้มีลักษณะเน้นความสำคัญของประชาชน นั้นคือ มีจิตสำนึกต่อการให้บริการที่ดี

การพัฒนาตนเอง
การพัฒนาตน หมายถึง การที่บุคคลพยายามที่จะปรับปรุง เปลี่ยนแปลงตนด้วยตนเองให้ดีขึ้นกว่าเดิมเหมาะสมกว่าเดิม ทำให้สามารถดำเนินกิจกรรม แสดงพฤติกรรม เพื่อสนองความต้องการแรงจูงใจหรือเป้าหมายที่ตนตั้งไว้
จุดมุ่งหมายของการพัฒนาตนเอง
1. เพื่อให้บุคคลสามารถพึ่งตนเอง ดูแลตนเอง ควบคุมตนเองแนะนำตนเองไปสู่ความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้โดยไม่เบียดเบียนผู้อื่น
2. เพื่อให้บุคคลสามารถทำคุณประโยชน์ต่อครอบครัว ชุมชน สังคมและประเทศชาติได้อย่างเต็มที่ตามอัตภาพของตน
3. เพื่อปรับปรุงตนให้เป็นคนมีประสิทธิภาพ สามารถปรับตัว และดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
4. เพื่อพัฒนาจิตใจของตนให้เป็นผู้ที่มี คุณภาพจิตดี สมรรถภาพจิตดี และสุขภาพจิตดี
ความสำคัญของการพัฒนาตน
1. ความสำคัญต่อตนเอง
1.1 เป็นการเตรียมตนให้พร้อมในด้านต่างๆ เพื่อรับกับสถานการณ์ทั้งหลายได้ด้วยความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง
1.2 เป็นการปรับปรุงสิ่งที่บกพร่องและพัฒนาพฤติกรรมให้เหมาะสม ขจัดคุณลักษณะที่ไม่ต้องการออกจากตัวเองและเสริมสร้างคุณลักษณะที่สังคมต้องการ
1.3 เป็นการวางแนวทางให้ตนเองสามารถพัฒนาไปสู่เป้าหมายในชีวิตได้อย่างมั่นใจ
1.4 ส่งเสริมความรู้สึกในคุณค่าแห่งตนสูงให้ขึ้น มีความเข้าใจตนเอง สามารถทำหน้าที่ตามบทบาทของตนได้เต็มศักยภาพ
2. ความสำคัญต่อบุคคลอื่น
พัฒนาตนเองเป็นการเตรียมตนให้เป็นสิ่งแวดล้อมที่ดีของผู้อื่น ทั้งบุคคลในครอบครัวและเพื่อนในทำงาน สามารถเป็นตัวอย่างหรือเป็นที่อ้างอิงให้เกิดการพัฒนาในคนอื่นๆต่อไป เป็นประโยชน์ร่วมกันทั้งชีวิตส่วนตัวและการทำงานและการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขในชุมชน ที่จะส่งผลให้ชุมชนมีความเข้มแข็งและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
3. ความสำคัญต่อสังคมโดยรวม
ภารกิจที่แต่ละหน่วยงานในสังคมต้องรับผิดชอบ ล้วนต้องอาศัยทรัพยากรบุคคลเป็นผู้ปฏิบัติงานการที่ผู้ปฏิบัติงานแต่ละคนได้พัฒนาและปรับปรุงตนเองให้ทันต่อพัฒนาการของรูปแบบการทำงานหรือเทคโนโลยี การพัฒนาเทคนิควิธี หรือวิธีคิดและทักษะใหม่ๆที่จำเป็นต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและคุณภาพของผลผลิต ทำให้หน่วยงานนั้นสามารถแข่งขันในเชิงคุณภาพและประสิทธิภาพกับสังคมอื่นได้สูงขึ้น ส่งผลให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศโดยรวมได้

วิธีการพัฒนาตนเอง
วิธีการพัฒนาตนเองมีลำดับขั้นตอนที่สำคัญ 4 ขั้น ดังนี้
1. ตระหนักถึงความสำคัญ และความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุง
ขั้นตอนแรกนี้ถือว่าเป็น หัวใจสำคัญในการพัฒนาตนเอง กล่าวคือผู้ที่จะพัฒนาตนเองได้ต้องมองเห็นประโยชน์ของการมีบุคลิกลักษณะที่ดีเสียก่อน
2. มีความปรารถอย่างแรงกล้าที่จะปรับปรุงแก้ไข
เป็นการสร้างความตั้งใจอย่างหนักแน่นว่าเราพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงตนเองในด้านใดบ้าง ให้ระบุลักษณะต่างๆของตนเองที่คิดว่าควรจะพัฒนา หรือควรปรับปรุงแก้ไข พยายามบันทึกไว้ให้หมดและพิจารณาลำดับความสำคัญของเรื่องที่จะปรับปรุง ในขั้นตอนนี้เราควรตั้งความปรารถนาให้สูงไว้เพื่อให้ตนเองเกิดกำลังใจ
3. วิเคราะห์ส่วนดีและส่วนเสียของตนเอง
ควรมีการวิเคราะห์ตนเองก่อนเพื่อให้ทราบว่าอะไรเป็นจุดเด่น อะไรเป็นจุดด้อย ในตัวเรา วิธีการหนึ่งที่สามารถใช้ในการวิเคราะห์ตนเองได้แก่ การเขียนรายงานเกี่ยวกับตนเอง ( self report )
4. วางแผนในการพัฒนาตนเองอย่างมีระบบ

หลักการพัฒนาตน
การพัฒนาตนเองเพื่อสร้างความงอกงามและเพิ่มความสมบูรณ์ในชีวิตของบุคคลมีหลายแนวทางและหลายแนวความคิด ซึ่งสรุปหลักการที่สำคัญอยู่ใน 3 แนวทาง คือ
1. การพัฒนาตนเองเชิงการแพทย์
2. การพัฒนาตนเองเชิงจิตวิทยา
3. การพัฒนาตนเองเชิงพุทธศาสตร์

การพัฒนาตนเองเชิงการแพทย์
เน้นความสำคัญของการรักษาสภาวะแวดล้อมภายในร่างกายให้สมดุล หรือมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเหมาะสม กับการทำหน้าที่ต่างๆของร่างกาย เพราะถ้าหากระบบใดระบบหนึ่งของร่างกายไม่สามารถทำงานตามหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ย่อมเป็นอุปสรรคต่อการดำรงชีวิต ต่อการเจริญเติบโตและการพัฒนาทำให้เกิดปัญหาต่อบุคคลนั้นซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหาต่อการเรียนรู้ กระบวนการคิด อารมณ์ การทำงานและพฤติกรรมต่างๆได้
เทคนิคการพัฒนาตนเองเชิงการแพทย์ที่สำคัญได้แก่
1. ตรวจร่างกายโดยทั่วไปทั้งระบบภายในและภายนอก ด้วยการสังเกตตนเองอย่างสม่ำเสมอ และรับการตรวจจากแพทย์อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
2. ปรึกษาผู้ชำนาญการเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันตนเองจากโรคภัยต่างๆ
3. ส่งเสริมความสมบูรณ์ของร่างกายและจิตใจด้วยวิธีการต่างๆเช่น การฝึกนิสัยการกินที่ดี
4. หมั่นการออกกำลังกายในที่อากาศบริสุทธิ์
5. มองโลกในแง่ดี ทำอารมณ์และจิตใจแจ่มใส
6. ศึกษาหาความรู้เรื่องการผ่อนคลายความเครียดและการลดความวิตกกังวลด้วย
หลักการพัฒนาตนเองเชิงจิตวิทยา
แนวคิดทางจิตวิทยามีหลายกลุ่ม แต่แนวคิดจิตวิทยาพฤติกรรมนิยมและจิตวิทยาปัญญานิยม ให้หลักการที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองค่อนข้างมาก
จิตวิทยาพฤติกรรมนิยม ได้แก่ ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำของสกินเนอร์
จิตวิทยาปัญญานิยม มีแนวความเชื่อว่า พฤติกรรมของมนุษย์ไม่ได้เกิดขึ้น และเปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากปัจจัยทางสภาพแวดล้อมแต่เพียงอย่างเดียว แต่จะเกี่ยวข้องกับ 3 ปัจจัยสำคัญได้แก่
1. ปัจจัยส่วนบุคคล
2. ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม
3. ปัจจัยด้านพฤติกรรม
การพัฒนาตนเชิงพุทธศาสตร์
ตามแนวคิดทางพุทธศาสตร์ การพัฒนาตนเป็นการเรียนรู้และการปฏิบัติเพื่อไปสู่ความพอดีหรือการมีดุลยภาพของชีวิตมีความเข้าใจตนเองมากกว่าการพึ่งพาอาศัยวัตถุ จึงเป็นแนวทางการพัฒนาชีวิตที่ยั่งยืน หลักการพัฒนาตนตามแนวพุทธศาสตร์ประกอบด้วยสาระสำคัญ 3 ประการคือ
1. ทมะ คือ การฝึกนิสัยดั้งเดิมที่ยังไม่ได้ขัดเกลาให้เหมาะสม มีขั้นตอนสำคัญ ได้แก่
1.1 การรู้จักข่มใจ
1.2 การฝึกปรับปรุงตนเองโดยทำคุณงามความดี
2. สิกขา คือการศึกษา เพื่อให้รู้แจ้ง รู้จักประโยชน์มองทุกอย่างเป็นการเรียนรู้เพื่อปรับปรุงและพัฒนาตนเอง เรียกว่า ไตรสิกขา มี 3 ประการ คือ
2.1 ศีล
2.2 สมาธิ
2.3 ปัญญา
3. ภาวนา คือการพัฒนาทั้งทางกายภาวนา ศีลภาวนา จิตตภาวนา และปัญญาภาวนา

พอแค่นี้ก่อนเด้อ......

วันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

สมรรถนะ

วันนี้เรามาศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับสมรรถนะกันดีกว่านะขอรับ..........ลองศึกษาดูก็แล้วกันว่าเป็นอย่างไร.........
สมรรถนะสำหรับผู้บริหาร สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

สมรรถนะหลัก มี 4 หลัก 12 ตัวบ่งชี้
1. การมุ่งผลสัมฤทธิ์ มี 3 ตัวบ่งชี้
2. การบริการที่ดี มี 2 ตัวบ่งชี้
3. การพัฒนาตนเอง มี 3 ตัวบ่งชี้
4. การทำงานเป็นทีม มี 4 ตัวบ่งชี้
สมรรถนะประจำสายงาน มี 4 หลัก 14 ตัวบ่งชี้
1. การวิเคราะห์และสังเคราะห์ มี 3 ตัวบ่งชี้
2. การสื่อสารและการจูงใจ มี 3 ตัวบ่งชี้
3. การพัฒนาศักยภาพบุคลากร มี 4 ตัวบ่งชี้
4. การมีวิสัยทัศน์ มี 4 ตัวบ่งชี้
เกณฑ์การให้คะแนน
1 - ควรปรับปรุง ต่ำกว่าร้อยละ 60
2 - พอใช้ ร้อยละ 60 – 69
3 - ดี ร้อยละ 70 – 79
4 - ดีมาก ร้อยละ 80 ขึ้นไป
การตัดสินผลการประเมินคุณภาพการปฏิบัติงาน
1. วิทยฐานะชำนาญการ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 65 หรือไม่ต่ำกว่า 2.60
2. วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 หรือไม่ต่ำกว่า 2.80
3. วิทยฐานะเชี่ยวชาญ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75 หรือไม่ต่ำกว่า 3.00
4. วิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 หรือไม่ต่ำกว่า 3.20
65 – 70 – 75 – 80 / 2.60 - 2.80 - 3.00 - 3.20
เพิ่มทีละ 5 เพิ่มทีละ 0.20


สมรรถนะหลัก
1. การมุ่งผลสัมฤทธิ์
ตัวบ่งชี้
1. คุณภาพงานด้านความถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์
2. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์การนำนวัตกรรมทางเลือกใหม่มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของงาน
3. ความมุ่งมั่นในการพัฒนาผลงานอย่างต่อเนื่อง

2. การบริการที่ดี
ตัวบ่งชี้
1. การปรับปรุงระบบบริการ
2. ความพึงพอใจของผู้รับบริการหรือผู้เกี่ยวข้อง

3. การพัฒนาตนเอง
ตัวบ่งชี้
1. การศึกษาค้นคว้า หาความรู้ด้วยการเข้าประชุมทางวิชาการอบรม สัมมนา หรือวิชาการอื่นๆ
2. การรวบรวมและประมวลความรู้ในการพัฒนาองค์กรและวิชาชีพ
3. การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านวิชาการในหมู่เพื่อนร่วมงาน

4. การทำงานเป็นทีม
ตัวบ่งชี้
1. การให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือ สนับสนุนเพื่อนร่วมงาน
2. การแสดงบทบาทผู้นำหรือผู้ตามได้อย่างเหมาะสม
3. การปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และกลุ่มคนที่หลากหลาย
4. การเสริมแรง ให้กำลังใจส่งเสริม สนับสนุนเพื่อนร่วมงานในการปฏิบัติงาน

สมรรถนะประจำสายงาน
1. การวิเคราะห์ และสังเคราะห์
ตัวบ่งชี้
1. การวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ปัญหา ความต้องการของงาน และเสนอทางเลือก หรือแนวทางป้องกัน แก้ไขปัญหางานในความรับผิดชอบ
2. ความเหมาะสมของแผนงาน โครงการในความรับผิดชอบ
3. ความคิดเชิงระบบในการแก้ปัญหาหรือพัฒนางาน

2. การสื่อสารและจูงใจ
ตัวบ่งชี้
1. ความสามารถในการพูดและเขียนในโอกาสต่างๆ
2. ความสามารถในการสื่อสารผ่านสื่อเทคโนโลยี
3. ความสามารถในการจูงใจ โน้มน้าวให้ผู้อื่นเห็นด้วย ยอมรับ คล้อยตาม

3. การพัฒนาศักยภาพบุคลากร
ตัวบ่งชี้
1. การให้คำปรึกษา แนะนำและช่วยแก้ปัญหาแก่เพื่อนร่วมงานและผู้เกี่ยวข้อง
2. การมีส่วนร่วมในการพัฒนาบุคลากร
3. การปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างและสร้างเครื่อข่ายรายการ
4. การส่งเสริมสนับสนุนและให้โอกาสเพื่อนร่วมงานได้พัฒนาในรูปแบบต่างๆ

4. การมีวิสัยทัศน์
ตัวบ่งชี้
1. การใช้กระบวนการมีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์หรือทิศทางการพัฒนาองค์การ
2. ความทันสมัยและสร้างสรรค์ของวิสัยทัศน์หรือทิศทางการพัฒนางานและความสอดคล้องกับนโยบายขององค์กรที่สังกัด
3. ความเป็นรูปธรรม ความเป็นไม่ได้ หรือโอกาสความสำเร็จตามวิสัยทัศน์
4. การยอมรับการปรับเปลี่ยนเทคนิควิธีการ เพื่อสถานการณ์แวดล้อม เปลี่ยนไป

การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ ( Results Based Management )
ในประเทศทวีปยุโรป อเมริกาเหนือ และออสเตรเลีย ซึ่งเหตุผลหลักของรัฐบาลประเทศเหล่านี้ในการปฏิรูปราชการคือ
1. ความพยายามเรียกความเชื่อมั่นจากประชาชนคืนมา
2. ให้ความสำคัญและเชื่อมั่นต่อภาคราชการ
การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ เป็นรูปแบบการบริหารที่เน้นความรับผิดชอบ ( Accountability ) ของรัฐบาลต่อประชาชน กล่าวคือ รัฐบาลจะต้องแสดงให้เป็นที่ประจักษ์แก่ประชาชนว่า
1. รัฐได้ใช้งบประมาณแผ่นดินอย่างมีประสิทธิภาพและได้ผลอย่างไร
2. การแสดงถึงว่าได้ผลงานอะไรบ้าง
3. ได้ให้บริการประชาชนในเรื่องใดบ้าง
4. ผลงานหรือบริการเหล่านั้นเป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตต่อการทำมาหากินของประชาชนอย่างไร
5. รัฐบาลจะต้องสามารถอธิบายต่อประชาชนได้ว่ากิจกรรมทำลงไปนั้นเป็นการใช้เงินภาษีของประชาชนอย่างประหยัด มีประสิทธิภาพก่อให้เกิดประสิทธิผล และคุ้มค่า
การปฏิรูปที่สำคัญคือ การจัดทำระบบการวัดผลการปฏิบัติงาน ( Performance Measurement ) เพื่อประเมินผลการทำงานและเพื่อเป็นข้อมูลการปรับปรุงการบริหารภายในและการรายงานผลงานต่อประชาชน ประสบการณ์ของประเทศ
การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ คือ การบริหารที่เน้นผลสัมฤทธิ์ ( Result ) โดยมีตัวชี้วัดผล ( Indicators ) ที่เป็นรูปธรรม
ผลสัมฤทธิ์ ( Result ) = ผลผลิต ( Output ) + ผลลัพธ์ ( Outcomes )
การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์จะเน้นที่ผลลัพธ์ ( Outcomes ) ของงานโดยให้ความสำคัญกับ
1. การกำหนดพันธกิจ และวัตถุประสงค์ของโครงการ/งาน
2. เป้าหมายชัดเจน
3. การกำหนดผลผลิตและผลลัพธ์ที่ต้องการให้สอดคล้อง/เป็นไปในทิศทางเดียวกับภารกิจและวัตถุประสงค์ขององค์การ
4. มีการกำหนดตัวชี้วัดผลการทำงานหลัก ( KPI )
5. วัดความก้าวหน้าของการปฏิบัติงาน
6. การยืดหยุ่นในการบริหารและสนับสนุนทรัพยากรแก่ผู้บริหารระดับล่าง
7. การประเมินผลการปฏิบัติงานและให้ค่าตอบแทนตามผลงาน
8. ปรับปรุงพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นและตรงตามความต้องการของลูกค้าคือประชาชน

ปัจจัยหลักพื้นฐานที่ทำให้การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ประสบความสำเร็จ คือ การมีระบบข้อมูลที่เที่ยงตรงและเชื่อถือได้
การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ เป็นการจัดหาให้ได้ทรัพยากรการบริหารมาอย่างประหยัด ( Economy ) การบริหารทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ( Efficiency ) และการได้ผลงานที่บรรลุเป้าหมายขององค์กร ( Effectiveness )
ความประหยัด ( Economy ) คือการใช้ทรัพยากรน้อยที่สุดในการผลิตโดยการใช้ปัจจัยนำเข้า ( Input ) ซึ่งได้แก่ทรัพยากรในการผลิตด้วยราคาที่ต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
กรณีการไม่ประหยัด
1. การมีคนงานมากกว่าปริมาณงาน
2. การใช้อุปกรณ์เครื่องมือที่ราคาแพงหรือคุณภาพสูงเกินความจำเป็น

ความมีประสิทธิภาพ ( Efficiency คือ การเปรียบเทียบระหว่างปัจจัยนำเข้า ( Input ) กับผลผลิต ( Output ) ได้แก่ การสร้างผลผลิตในระดับสูงกว่าปัจจัยนำเข้า ความมีประสิทธิภาพสามารถวัดได้โดยนำปัจจัยนำเข้าจริงหารด้วยผลผลิตจริง หากได้ค่าน้อยแสดงว่ามีผลผลิตเพิ่มขึ้น แสดงว่าองค์กรมีประสิทธิภาพ
สมการ
Efficiency = Input
Output
Input น้อย Output มาก จะมี Efficiency มาก

วิธีเพิ่มประสิทธิภาพ คือ การทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นในขณะที่ปัจจัยนำเข้าคงที่หรือโดยการประหยัด คือรักษาระดับผลผลิตให้คงที่แต่ลดปัจจัยนำเข้า

ความมีประสิทธิผล ( Effectiveness ) คือการเปรียบเทียบระหว่างวัตถุประสงค์กับผลลัพธ์ของโครงการ ซึ่งหมายถึงระดับของการบรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้ล่วงหน้าของโครงการนั้นๆว่าได้ผลลัพธ์ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้เพียงไร ความมีประสิทธิผล มีความเกี่ยวข้องกับ ผลผลิตและผลลัพธ์


ตัวอย่าง
ผลผลิต ( Outputs )
1. จำนวนคนไข้ที่เข้ารักษา
2. จำนวนกิโลเมตรของถนนที่ซ่อม
3. จำนวนโครงการอบรมที่จัดขึ้นหรือจำนวนผู้เข้ารับการอบรม
4. จำนวนผู้ต้องหาที่รับการสอบสวน
5. จำนวนครั้งที่ตอบโทรศัพท์
ผลลัพธ์ ( Outcomes )
1. จำนวนคนไข้ที่สุขภาพดีขึ้น
2. ร้อยละของถนนที่อยู่ในสภาพดี
3. จำนวนผู้ที่รับการอบรมได้ใช้ประโยชน์จาการอบรมจริง
4. ร้อยละของผู้ต้องหาที่กระทำผิดจริง
5. จำนวนครั้งที่ได้รับตอบโทรศัพท์อย่างถูกต้องเหมาะสม
เชิงคุณภาพ
( Information ) สารสนเทศ

เทคนิคที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์
1. การวัดผลการปฏิบัติงาน ( Performance Measurement ) หัวใจสำคัญของการบริหารงานมุ่งผลสัมฤทธิ์
2. การเทียบงาน (Benchmarking )
3. เทียบวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด ( Best Practice )
4. คุณภาพการให้บริการ ( Service Quality )
5. ตรวจสอบผลการปฏิบัติงาน ( Performance Auditing )
6. การประเมินผลโครงการ ( Program Evaluation )
7. การมอบอำนาจและให้อิสระในการทำงาน ( Devolution and Autonomy )
8. การวางแผนองค์การและแผนกลยุทธ์ ( Corporate and Strategic )
9. การทำสัญญาผลการปฏิบัติงาน ( Performance contracting )

ประโยชน์ของการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์
1. ช่วยให้ผู้บริหารรู้ตำแหน่งขององค์กร
2. สนับสนุนองค์กรให้บรรลุวิสัยทัศน์
3. แปลงกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ
4. ให้ข้อมูลเพื่อการสื่อสารและสร้างความเข้าใจ
5. สร้างพันธะรับผิดชอบของผู้บริหาร
6. จัดสรรงบประมาณได้ตรงตามความต้องการและสถานการณ์ที่เป็นจริง
7. ให้ข้อมูลประกอบการกำหนดนโยบาย


เงื่อนไขความสำเร็จของการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์
ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ประสบผลสำเร็จ อยู่ที่ความเข้าใจแนวความคิดวิธีการ และประโยชน์ของการบริหารแบบนี้ของเจ้าหน้าที่ในองค์กร เจ้าหน้าที่ทุกระดับ สามารถปรับตัวและสามารถทำงานภายใต้ระบบงานที่จะต้องรับผิดชอบต่อผลการปฏิบัติงานและเงื่อนไขอื่นที่สำคัญ ดังนี้
1. ผู้บริหารระดับสูงมีความเข้าใจและสนับสนุน
2. การจัดทำระบบข้อมูลผลการปฏิบัติงาน
3. การพัฒนาบุคลากรและองค์กร

วันพรุ่งนี้เราค่อยมาศึกษาเกี่ยวกับสมรรถนะต่อไปกันนะครับ..............

วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การบริหารทั่วไป(ต่อ)

.............ไม่เจ๊อะ กันนาน คิดถึงจังเลย..............ครูสุโขทัยมาแล้วจ้า วันนี้จะสรุปเกี่ยวกับระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ นะขอรับ ที่ผ่านมาไม่รู้ว่าอ่านแล้วหรือยัง ถ้าอ่านแล้วจำได้หรือเปล่าน้า
ระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ.2517

การรักษาความปลอดภัย หมายถึง บรรดามาตรการที่กำหนดขึ้น ตลอดจนการดำเนินการทั้งหลายทั้งปวงเพื่อพิทักษ์และคุ้มครองป้องกัน สิ่งที่เป็นความลับของทางราชการ ข้าราชการส่วนราชการและทรัพย์สินของแผ่นดินให้พ้นจาก **การรั่วไหล
** การจารกรรม
**การก่อวินาศกรรม
**การบ่อนทำลาย
**และการทำอื่นใด ที่ผลกระทบกระเทือนหรือเป็นภัยต่อความมั่นคงแห่งชาติ
การจารกรรม หมายถึง การกระทำใดๆโดยทางลับเพื่อให้ล่วงรู้หรือได้ไป และหรือสิ่งที่เป็นความลับของทางราชการให้แก่ผู้ไม่มีอำนาจหน้าที่หรือผุ้ไม่มีความจำเป็นต้องทราบ
การก่อวินาศกรรม หมายถึง การกระทำใดๆเพื่อทำลาย ทำความเสียหายต่อทรัพย์สินหรือรบกวน ขัดขวาง หน่วงเหนี่ยวระบบการปฏิบัติงานใดๆรวมทั้งการประทุษร้ายต่อบุคคลซึ่งทำให้เกิดความปั่นป่วนทางการเมือง การทหาร การเศรษฐกิจ
การบ่อนทำลาย หมายถึง การกระทำใดๆที่มุ่งก่อให้เกิดความแตกแยก ความปั่นป่วน ความกระด้างกระเดื่อง อันจะนำไปสู่การก่อความไม่สงบหรืออ่อนแอภายในชาติ

สิ่งที่เป็นความลับของทางราชการ หมายถึง เอกสาร บริภัณฑ์ ยุทธภัณฑ์ ที่สงวนและสิ่งอื่นๆทั้งข่างสารที่เป็นความลับของทางราชการซึ่งส่งถึงกันด้วยคำพูด หรือวิธีอื่นๆ
เอกสาร หมายถึง ข่าวสารที่บันทึกไว้ในแบบใดๆ รวมทั้งสิ่งที่พิมพ์ เขียน วาด ระบาย สี แถบบันทึก ภาพถ่าย ฟิล์ม และอื่นๆ
บริภัณฑ์ หมายถึง เครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องกล สิ่งอุปกรณ์อื่นทำนองนี้
ยุทธภัณฑ์ หมายถึง สิ่งของทั้งหลายที่ใช้ประจำกาย หรือประจำหน่วยกำลัง หรืออาวุธของทางราชการเช่นทหาร ตำรวจ ได้แก่ เครื่องห่ม เครื่องใช้ พาหนะ อาวุธ และสิ่งอื่นๆทำนองนี้

หลักการรักษาความปลอดภัย
1. ยึดถือหลัก การจำกัดให้ทราบเท่าที่จำเป็น ห้ามผู้ไม่มีหน้าที่หรือได้รับคำสั่งหรือการมอบหมายที่ถูกต้องอ้างยศ ตำแหน่ง หรืออิทธิพลใดๆเพื่อเข้าถึงความลับของทางราชการเป็นอันขาด
2. ในการรักษาความปลอดภัยจะกำหนดมาตรการป้องกันแต่เพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอควรกำหนดมาตรการอื่นควรควบคู่ไปด้วย
3. การรักษาความปลอดภัยที่ดีที่สุดนั้นต้องมีจุดอ่อนน้อยที่สุด
4. ต้องมีการสอดส่องดูแล และตรวจสอบมาตรการที่ไว้วางใจเป็นประจำ
5. มาตรการและวิธีการรักษาความปลอดภัยที่ดีจะต้องสอดคล้องและไม่เป็นอุปสรรคต่อการบริหารต่อส่วนราชการ
6. เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการรักษาความปลอดภัยอย่างแท้จริง การวางแผนจะต้องประสานมาตรการรักษาความปลอดภัยต่างๆเข้าด้วยกัน

การรักษาความปลอดภัย แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
1. การรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับบุคคล
2. การรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับเอกสาร
3. การรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับสถานที่

มาตรการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับสถานที่
1. เครื่องกีดขวาง
· เครื่องกีดขวางตามธรรมชาติ
· เครื่องกีดขวางทีประดิษฐ์ขึ้น เช่นรั้วทึบ เครื่องกั้นถนน ลวด ลูกกรงเหล็ก
2. การให้แสงสว่าง
· ใช้แสงสว่างส่องตรง
· ใช้แสงสองกระจายรอบตัว
3. เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยสถานที่ ( เวร ยาม )
4. ควบคุมบุคคล
5. การควบคุมยานพาหนะ ( ทำการบันทึกการเข้าออก ตรวจค้น กำหนดที่จอด)
6. พื้นที่มีการรักษาความปลอดภัยได้แก่
· พื้นที่ควบคุม คือพื้นที่ที่อยู่ติดต่อหรือที่อยู่โดยรอบพื้นที่หวงห้าม
· พื้นที่หวงห้าม คือ พื้นที่ที่มีการพิทักษ์รักษาสิ่งที่เป็นความลับ ตลอดจนบุคคลสำคัญ ทรัพย์สินหรือวัสดุที่สำคัญของทางราชการ แบ่งออกเป็น
1. เขตหวงห้ามเฉพาะ
2. เขตหวงห้ามเด็ดขาด
เขตหวงห้ามเฉพาะ คือเขตพื้นที่ซึ่งมีสิ่งที่เป็นความลับตลอดจนบุคคลหรือสิ่งที่มีความสำคัญ ซึ่งจะต้องพิทักษ์รักษาและการเข้าไปในเขตพื้นที่นี้จะต้องได้รับอนุญาตตามชั้นความลับที่เหมาะสม เช่น ที่เก็บอาวุธ ที่เก็บเชื้อเพลิง ชุมสายโทรศัพท์
เขตหวงห้ามเด็ดขาด คือ เขตพื้นที่ซึ่งมีสิ่งที่เป็นความลับตลอดจนบุคคลหรือสิ่งที่มีความสำคัญยิ่ง ซึ่งต้องพิทักษ์รักษา เช่น ห้องปฏิบัติการลับต่างๆ

รปภ.1 นำบันทึกทำประวัติบุคคล
รปภ.2 บันทึกประวัติบุคคล
รปภ.3 ใบรับรองความไว้วางใจ
รปภ.7 ใบคุมเอกสารลับที่สุดหรือลับมาก
รปภ.8 ลับที่สุด
รปภ.9 ลับมาก
รปภ.10 ลับ
รปภ.19 ทะเบียนเอกสารลับ

วันนี้พอแค่นี้ก่อนละกันนะเดี๋ยวจำไม่ได้ บาย.........

วันอาทิตย์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การบริหารงานทั่วไป

สวัสดีครับพี่น้อง......ครูสุโขทัยมาพบพี่น้องอีกแล้วจ้า วันนี้จะสรุปเกี่ยวกับระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ นะขอรับ เพราะท่านผู้บริหารจะต้องรู้และนำไปใช้ได้อย่างถูกต้องตลอดจนนำไปใช้ในการสอบ...เริ่มเลยละกันนะ

ระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ.2544

ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามระเบียบนี้
ข้อมูลข่าวสารลับ หมายความว่า ข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 14 หรือมาตร 15 ที่มีคำสั่งไม่ให้เปิดเผยและอยู่ในความครอบครองหรือควบคุมดูแลของหน่วยงานของรัฐไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการดำเนินงานของรัฐหรือที่เกี่ยวกับเอกชน ซึ่งมีการกำหนดให้มีชั้นความลับเป็น ชั้นลับ ชั้นลับมาก ชั้นลับที่สุด
การปรับชั้นความลับ หมายความว่า การลดหรือเพิ่มชั้นความลับของข้อมูล ข่าวสารลับและให้หมายความรวมถึงการยกเลิกชั้นความลับของข้อมูลข่าวสารลับนั้นด้วย
ทุก 5 ปี เป็นอย่างน้อยให้ นายกรัฐมนตรี จัดให้มีการทบทวนการปฏิบัติตามระเบียบนี้และพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบนี้ให้เหมาะสม
ให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐมีหน้าที่รักษาข้อมูลข่าวสารลับในหน่วยงานของตน ( โรงเรียนให้ผู้อำนวยการโรงเรียน)

องค์การรักษาความปลอดภัย
1. สำนักข่าวกรองแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี เป็นองค์การรักษาความปลอดภัยฝ่ายพลเรือน
2. ศูนย์รักษาความปลอดภัย กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็นองค์การรักษาความปลอดภัยฝ่ายทหาร

ประเภทชั้นความลับ แบ่งออกเป็น 3 ชั้น
1. ลับที่สุด ( TOP SECRET ) สีเหลือง
2. ลับมาก ( SECRET ) สีแดง ( ผู้อำนวยการสถานศึกษามีอำนาจกำหนดชั้นนี้ได้ )
3. ลับ ( CONFIDENTIAL ) สีน้ำเงิน

ลับที่สุด หมายความว่า ข้อมูลขาวสารลับซึ่งหากเปิดเผยทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์แห่งรัฐอย่างร้ายแรงที่สุด

ลับมาก หมายความว่า ข้อมูลขาวสารลับซึ่งหากเปิดเผยทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์แห่งรัฐอย่างร้ายแรง
ลับ หมายความว่า ข้อมูลขาวสารลับซึ่งหากเปิดเผยทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์แห่งรัฐ

ให้หัวหน้าหน่วยงาน มีหน้าที่ รับผิดชอบในการกำหนดชั้นความลับ พร้อมทั้งให้เหตุผลประกอบการกำหนดชั้นความลับของข้อมูลข่าวสารลับนั้นด้วยว่าเป็นข้อมูลข่าวสารประเภทใดและเพราะเหตุใด
( สำหรับสถานศึกษา คือผู้อำนวยการโรงเรียน )
ในกรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วน เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง มีอำนาจกำหนดชั้นความลับเป็นการชั่วคราวได้และให้รีบเสนอต่อผู้มีอำนาจกำหนดชั้นความลับ เพื่อสั่งการเกี่ยวกับการกำหนดชั้นความลับต่อไปทันที
การกำหนดชั้นความลับข้อมูลข่าวสารที่มีชั้นความลับหลายชั้นในเรื่องเดียวกัน ให้กำหนดชั้นความลับเท่ากับ ชั้นความลับสูงสุด ที่มีอยู่ในข้อมูลข่าวสารนั้น
ให้นายทะเบียน จดแจ้งเหตุประกอบการกำหนดชั้นความลับของข้อมูลข่าวสารไว้ในทะเบียนควบคุมข้อมูลข่าวสารลับ

การกำหนดให้ข้อมูลข่าวสารลับอยู่ในชั้นความลับใด ให้พิจารณาถึงองค์ประกอบต่อไปนี้
1. ความสำคัญของเนื้อหา
2. แหล่งที่มาของข้อมูลข่าวสาร
3. วีการนำไปใช้ประโยชน์
4. จำนวนบุคลากรที่ควรรับทราบ
5. ผลกระทบหากมีการเปิดเผย
6. หน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบในฐานะเจ้าของเรื่องหรือผู้อนุมัติ

การแสดงชั้นความลับ
เครื่องหมายแสดงชั้นความลับให้ใช้ตัวอักษรตามชั้นความลับที่ขนาดใหญ่กว่าตัวอักษรธรรมดา โดยใช้สีแดง หรือสีอื่นที่สามารถมองเห็นได้เด่นและชัดเจน

การแสดงชั้นความลับให้แสดงดังนี้
1. ข้อมูลข่าวสารที่มีสภาพเป็นเอกสาร ให้แสดงชั้นความลับที่กลางหน้ากระดาษทั้งด้านบนและด้านล่างของทุกหน้าเอกสารนั้น ถ้าเอกสารเข้าปกให้แสดงไว้ที่ด้านนอกของปกหน้า ปกหลังด้วย
2. ข้อมูลข่าวสารที่มีสภาพเป็นภาพเขียน ภาพถ่าย แผนที่ แผนภูมิ แผนผังและสำเนา สิ่งของดังกล่าวนั้นให้แสดงชั้นความลับในลักษณะเดียวกับ ข้อ 1 ถ้าเอกสารนั้น ม้วนหรือพับได้ให้แสดงชั้นความลับไว้ให้ปรากฏเห็นได้ขณะที่เอกสารนั้นม้วนหรือพับอยู่ด้วย
3. ข้อมูลข่าวสารที่มีสภาพเป็นจานบันทึก แถบบันทึก ฟิล์มบันทึกภาพทุกประเภทหรือสิ่งบันทึกที่สามารถแสดงผลหรือสื่อความหมายโดยกรรมวิธีใดๆให้แสดงชั้นความลับไว้ที่ต้นและปลายม้วนฟิล์ม หรือต้นและปลายของข้อมูลข่าวสารหรือบนวัสดุ หรือบนภาชนะที่บรรจุ ถ้าไม่สามารถแสดงชั้นความลับไว้ในที่ดังกล่าวได้ ให้เก็บในกล่องหรือหีบห่อ ซึ่งมีเครื่องหมายแสดงชั้นความลับนั้น

การปรับชั้นความลับ
การปรับชั้นความลับ ต้องกระทำโดยผู้มีอำนาจกำหนดชั้นความลับของหน่วยงานเจ้าของเรื่องในกรณีที่หน่วยงาน โดยให้หน่วยงานเจ้าของเรื่องเดิมแสดงข้อความการปรับชั้นความลับไว้บนปกหน้า หรือหน้าแรก ของข้อมูลข่าวสารแต่ละฉบับ โดยแสดงไว้ใกล้กับเครื่องหมายแสดงชั้นความลับเดิม

นายทะเบียน
ให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐ แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ควบคุมและรับผิดชอบการดำเนินการเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารลับขึ้นภายในหน่วยงานที่ตนรับผิดชอบเรียกว่า นายทะเบียนข้อมูลข่าวสารลับ
นายทะเบียนข้อมูลข่าวสารลับ อย่างน้อยตั้งจัดให้มีทะเบียนข้อมูลข่าวสารประกอบด้วย ทะเบียนรับ ทะเบียนส่ง และทะเบียนควบคุมข่าวสารลับ แยกต่างหากจากทะเบียนงานสารบรรณ

การตรวจสอบ
ให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐ แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ ประกอบด้วย
นายทะเบียนข้อมูลข่าวสาร เป็นประธาน
เจ้าหน้าที่อื่นอีกไม่น้อยกว่าสองคน เป็นกรรมการ
ทำการตรวจสอบความถูกต้องในการปฏิบัติตามระเบียบนี้ อย่างน้อยทุก 6 เดือน และเสนอรายงานการตรวจสอบให้หัวหน้าหน่วยงานนั้นทราบและสั่งการต่อไป



การส่งและการรับ
การส่งข้อมูลข่าวสารลับ
** ภายในบริเวณหน่วยงานเดียวกันทุกชั้นความลับ ต้องใช้ใบปกข้อมูลข่าวสารลับปิด ทับข้อมูลข่าวสารลับแบบใบปกข้อมูลข่าวสารลับให้เป็นไปตามที่นายกรัฐมนตรีกำหนด
** การส่งออกนอกบริเวณหน่วยงาน ต้องบรรจุซองหรือภาชนะทึบแสงสองชั้นอย่างมั่นคงบนซอง หรือภาชนะชั้นใน ให้จ่าหน้าระบุเลขที่หนังสือนำส่ง ชื่อหรือตำแหน่งผู้รับ และหน่วยงานผู้ส่ง พร้อมทั้งทำเครื่องหมายแสดงชั้นความลับทั้งด้านหน้าและด้านหลังบนซองหรือภาชนะชั้นนอกจ่าหน้าระบุข้อความเช่นเดียวกับบนซองหรือภาชนะชั้นใน แต่ไม่ต้องมีเครื่องหมายแสดงชั้นความลับใดๆ
** ห้ามระบุชั้นความลับและชื่อเรื่องไว้ในใบตอบรับ แต่ให้ระบุเลขที่หนังสือส่ง วัน เดือนปี จำนวนหน้าและหมายเลขฉบับไว้ในใบตอบรับดังกล่าว
** การส่งข้อมูลข่าวสารลับออกนอกประเทศ ให้ปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงการต่างประเทศว่าด้วยถุงเมล์การทูตโดยอนุโลม หรือให้เจ้าหน้าที่ซึ่งมีฐานะทางการทูตถือไปด้วยตนเองก็ได้
** การส่งข้อมูลข่าวสารลับทั้งภายในประเทศและส่งออกนอกประเทศ จะส่งทางโทรคมนาคมไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ หรือโดยวิธีการอื่นใดก็ได้ แต่ต้องได้รับอนุญาตจากหัวหน้าหน่วงงานของรัฐก่อน กรณีการส่งทางโทรคมนาคม ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำขององค์การรักษาความปลอดภัย

การทำลาย
ในกรณีที่การเก็บรักษาข้อมูลข่าวสารลับชั้นลับที่สุด จะเสี่ยงต่อการรั่วไหลอันจะก่อให้เกิดอันตรายแก่ประโยชน์แห่งรัฐ
** หัวหน้าส่วนราชการ จะพิจารณาสั่งทำลายข้อมูลข่าวสารชั้นลับที่สุดนั้นได้ หากพิจารณาเห็นว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำลาย
** หัวหน้าส่วนราชการของรัฐ จะสั่งทำลายข้อมูลข่าวสารลับนอกจากกรณีตามวรรคหนึ่งได้ ต่อเมื่อได้ส่งข้อมูลข่าวสารลับให้หอจดหมายเหตุแห่งชาติ พิจารณาก่อนว่าไม่มีคุณค่าในการเก็บรักษา
** ในการสั่งทำลายข้อมูลข่าวสารลับ ให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐแต่งตั้งคณะกรรมการทำลายข้อมูลข่าวสารลับขึ้นคณะหนึ่งประกอบด้วย
นายทะเบียนข้อมูลข่าวสารลับ ประธานคณะกรรมการ
เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องอีกไม่น้อยกว่าสองคน กรรมการ
เมื่อคณะกรรมการดังกล่าวได้ทำลายข้อมูลข่าวสารลับเสร็จแล้ว ให้จดแจ้งการทำลายไว้ในทะเบียนควบคุมข้อมูลข่าวสารลับและจัดทำใบรับรองการทำลายข้อมูลข่าวสารลับด้วย ใบรับรองการทำลายให้เก็บรักษาไว้เป็นหลักฐานไม่น้อยกว่า 1 ปี

** ให้เอกสารลับชั้นปกปิด ให้ถือว่ามีชั้นความลับอยู่ในชั้นลับ

วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การบริหารทั่วไป

งานสารบรรณ(ต่อ)
วันนี้ครูสุโขทัย มาช้าหน่อยนะขอรับเนื่องจากไม่ค่อยสบาย...เหนื่อยจากการเดินทางไปศึกษาดูงานต่างจังหวัดนะขอรับ แต่ไม่ต้องห่วงรับรองเนื้อหาสาระครบถ้วนไม่เชื่ออ่านเลย
การเก็บรักษา ยืม และทำลายหนังสือ
การเก็บรักษา
การเก็บรักษาแบ่งออกเป็น 3 ประเภท
1. การเก็บระหว่างปฏิบัติ
2. การเก็บเมื่อปฏิบัติเสร็จแล้ว
3. การเก็บไว้เพื่อใช้ในการตรวจสอบ

การเก็บระหว่างปฏิบัติ การเก็บหนังสือที่ปฏิบัติยังไม่เสร็จให้อยู่ในความรับผิดชอบของเจ้าของเรื่องโดยให้กำหนดวิธีการเก็บให้เหมาะสม ตามขั้นตอนของการปฏิบัติงาน
การเก็บเมื่อปฏิบัติเสร็จแล้ว การเก็บหนังสือที่ปฏิบัติเสร็จเรียบร้อยแล้ว และไม่มีอะไรที่จะต้องปฏิบัติต่อไปอีก ให้เจ้าหน้าที่ของเจ้าของเรื่องปฏิบัติดังต่อไปนี้
1. จัดทำบัญชีหนังสือส่งเก็บอย่างน้อยให้มีต้นฉบับ และสำเนาคู่ฉบับ สำหรับเจ้าของเรื่องและหน่วยเก็บ เก็บไว้อย่างละฉบับ
2. ส่งหนังสือและเรื่องปฏิบัติทั้งปวงที่เกี่ยวข้องกับหนังสือนั้น พร้อมทั้งบัญชีหนังสือส่งเก็บไปให้หน่วยเก็บที่ส่วนราชการ นั้นๆกำหนด
( เมื่อได้รับเรื่องจากเจ้าของเรื่องแล้วให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการเก็บหนังสือปฏิบัตินี้
2.1 ประทับตรากำหนดเป็นหนังสือไว้ที่มุมล่างด้านขวาของกระดาษแผ่นแรกของหนังสือฉบับนั้น และลงลายมือชื่อย่อกำกับตรา
** หนังสือที่ต้องเก็บไว้ตลอดไป ให้ประทับตราคำว่า ห้ามทำลาย ด้วยหมึกสีแดง
** หนังสือที่เก็บโดยมีกำหนดเวลาให้ประทับตรา คำว่า เก็บถึง พ.ศ...........ด้วยหมึกสีน้ำเงิน
2.2 ลงทะเบียนหนังสือเก็บไว้เป็นหลักฐาน

การเก็บไว้เพื่อใช้ในการตรวจสอบ
*** การเก็บหนังสือที่ปฏิบัติเสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่จำเป็นจะต้องให้ในการตรวจสอบเป็นประจำไม่สะดวกในการส่งไปเก็บยังหน่วยเก็บของส่วนราชการ
*** ให้เจ้าของเรื่องเก็บเป็นเอกเทศ โดยแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ขึ้นรับผิดชอบก็ได้
*** เมื่อหมดความจำเป็นที่จะต้องใช้ในการตรวจสอบแล้วให้จัดส่งหนังสือนั้นไปยังหน่วยจัดเก็บของส่วนราชการ

อายุการเก็บหนังสือ โดยปกติให้เก็บไว้ไม่น้อยกว่า 10 ปี เว้นแต่หนังสือ ดังต่อไปนี้
1. หนังสือที่ต้องสงวนเป็นความลับ ให้ปฏิบัติตามกฎหมายหรือระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ
2. หนังสือที่เป็นหลักฐานทางอรรถคดี สำเนาของศาลหรือของพนักงานสอบสวน
3. หนังสือที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ขนบธรรมเนียมจารีตประเพณี สถิติหลักฐาน หรือเรื่องที่ต้องใช้สำหรับศึกษาค้นคว้า
4. หนังสือที่ได้ปฏิบัติงานเสร็จสิ้นแล้ว และเป็นคู่สำเนาที่มีต้นเรื่องจะค้นได้จากที่อื่นให้เก็บไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี
5. หนังสือที่เป็นเรื่องธรรมดาสามัญ ซึ่งไม่มีความสำคัญและเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นประจำเมื่อดำเนินการแล้วเสร็จให้เก็บไว้ไม่น้อยกว่า 1 ปี
6. หนังสือ หรือเอกสรเกี่ยวกับการรับเงิน การจ่ายเงิน ที่ไม่มีหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง เมื่อสำนักงานตรวจสอบแล้วไม่มีปัญหา และไม่มีความจำเป็นต้องใช้ประกอบการตรวจสอบ หรือเพื่อการใดๆอีก ให้เก็บไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี
( หนังสือที่เกี่ยวกับการเงินซึ่งเห็นว่าไม่มีความจำเป็นต้องเก็บไว้ถึง 10 ปี หรือ 5 ปีแล้วแต่กรณี ให้ทำความตกลงกับกระทรวงการคลัง )
หนังสือครบ 20 ปี
ทุกสิ้นปีปฏิทินให้ส่วนราชการจัดส่งหนังสือที่มีอายุครบ 20 ปี นับจากวันที่ได้จัดทำขึ้น ที่เก็บไว้ ณ ส่วนราชการใด พร้อมทั้งบัญชีส่งมอบหนังสือครบ 20 ปี ให้ สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร ภายในวันที่ 30 มกราคม ของปีถัดไป เว้นแต่หนังสือ ดังต่อไปนี้
1. หนังสือที่ต้องสงวนเป็นความลับให้ปฏิบัติตามกฎหมายหรือระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ
2. หนังสือที่มีกฎหมายข้อบังคับ หรือระเบียบที่ออกใช้เป็นการทั่วไปกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
3. หนังสือที่ส่วนราชการมีความจำเป็นต้องเก็บไว้ที่ส่วนราชการนั้น ให้จัดทำบัญชีหนังสือครบ 20ปี ที่ขอเก็บเองส่งมอบให้สำนักจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร

การรักษาหนังสือ
1. ให้เจ้าหน้าที่ระมัดระวังรักษาหนังสือให้อยู่ในสภาพใช้ราชการได้ทุกโอกาสหากชำรุดเสียหายต้องรีบซ่อมให้ใช้ราชการได้เหมือนเดิม
** หากสูญหายต้องหาสำเนามาแทน
** ถ้าชำรุดเสียหายจนไม่สามารถซ่อมแซมได้ ให้คงสภาพเดิมได้ ให้รายงานผู้บังคับบัญชาทราบและหมายเหตุไว้ในทะเบียนเก็บด้วย
2. ถ้าหนังสือที่สูญหายเป็นเอกสารสิทธิตามกฎหมายหรือหนังสือสำคัญเป็นการแสดงเอกสารสิทธิก็ให้ดำเนินการแจ้งความต่อพนักงานสอบสวน

การยืมหนังสือที่ส่งเก็บแล้ว
** การยืมหนังสือระหว่างส่วนราชการ ผู้ยืมและผู้อนุญาตให้ยืมต้องเป็นหัวหน้าส่วนราชการระดับกองขึ้นไป หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
** การยืมหนังสือภายในส่วนราชการเดียวกัน ผู้ยืมและผู้อนุญาตให้ยืมต้องเป็นหัวหน้าส่วนราชการระดับแผนกขึ้นไป หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
** การให้บุคคลภายนอกยืมหนังสือจะกระทำมิได้ เว้นแต่จะให้ดูหรือคัดลอกหนังสือ *ทั้งนี้จะต้องได้รับอนุญาตจากหัวหน้าส่วนราชการระดับกองขึ้นไป หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายก่อน

การทำลาย
ภายใน 60 วันหลังจากวันสิ้นปีปฏิทิน ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการเก็บหนังสือสำรวจหนังสือที่ครบอายุการเก็บในปีนั้น
** จัดทำบัญชีหนังสือขอทำลาย
** เสนอหัวหน้าส่วนราชการระดับกรม เพื่อพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการทำลายหนังสือ
( คณะกรรมการทำลายหนังสือ ประกอบด้วย ประธานกรรมการ และกรรมการอีกอย่างน้อย 2 คน โดยปกติให้แต่งตั้งจากข้าราชการระดับ 3 ขึ้นไป )

มาตรฐานตรา แบบพิมพ์ และซอง
ตราครุฑ มี 2 ขนาด คือ
1. ขนาดตัวครุฑสูง 3 เซนติเมตร
2. ขนาดตัวครุฑสูง 1.5 เซนติเมตร

ตราชื่อส่วนราชการ
มีลักษณะเป็นรูปวงกลมสองวงกลมซ้อนกัน เส้นผ่านศูนย์กลางวงนอก 4.5 เซนติเมตร วงใน 3.5 เซนติเมตร ล้อมครุฑ ระหว่างวงนอกและวงในมีอักษรไทยชื่อกระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นกรมหรือจังหวัดอยู่ขอบล่างของตรา
ส่วนราชการใดที่มีการติดต่อกับต่างประเทศ จะให้มีชื่อภาษาต่างประเทศเพิ่มขึ้นด้วยก็ได้ โดยให้อักษรไทยอยู่ขอบบนและอักษรโรมันอยู่ขอบล่างของตรา

ตรากำหนดเก็บหนังสือ
คือตราที่ใช้ประทับบนหนังสือเก็บ เพื่อให้ทราบกำหนดระยะเวลาการเก็บหนังสือนั้นมีคำว่า เก็บถึง พศ. .........หรือ คำว่า ห้ามทำลาย ขนาดไม่เล็กว่าตัวพิมพ์ 24 พอยท์

มาตรฐานกระดาษและซอง
มาตรฐานกระดาษโดยปกติให้ใช้กระดาษปอนด์ขาว น้ำหนัก 60 กรัมต่อตารางเมตร มี 3 ขนาดคือ
1. ขนาดเอ 4 หมายความว่า ขนาด 210 มิลลิเมตร X 297 มิลลิเมตร
2. ขนาดเอ 5 หมายความว่า ขนาด 148 มิลลิเมตร X 210 มิลลิเมตร
3. ขนาดเอ 8 หมายความว่า ขนาด 52 มิลลิเมตร X 74 มิลลิเมตร
มาตรฐานซอง โดยปกติให้กระดาษสีขาวหรือสีน้ำตาล น้ำหนัก 80 กรัมต่อตารางเมตร เว้นแต่ซองขนาด ซี 4 ให้ใช้กระดาษน้ำหนัก 120 กรัมต่อตารางเมตร มี 4 ขนาด คือ
1. ขนาดซี 4 หมายความว่า ขนาด 229 มม. X 324 มม.( กระดาษไม่ต้องพับ)
2. ขนาดซี 5 หมายความว่า ขนาด 162 มม. X 229 มม.(กระดาษพับ 2)
3. ขนาดซี 6 หมายความว่า ขนาด 114 มม. X 162 มม.( กระดาษพับ 4)
4. ขนาดดีแอลหมายความว่า ขนาด 110 มม. X 220 มม.(กระดาษพับ 3 )

ตรารับหนังสือ
มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 2.5 เซนติเมตร X 5 เซนติเมตร มีชื่อส่วนราชการอยู่ตอนบน
วันนี้พอแค่นี้ก่อนนะ เดี๋ยวอ่านไม่รู้เรื่อง เป็นอย่างไรบ้าง ส่งเสียงมาบอกบ้างนะ ออกความคิดเห็นหน่อย ดี...ไม่ดี.....อยากได้อะไร....บอกผ่านมาบ้าง พบกันใหม่วันพรุ่งนี้ หวัดหาย.....ซำบายดี

วันเสาร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การบริหารงานทั่วไป

งานสารบรรณ ( ต่อ )
ครูสุโขทัย มาพบกันอีกแล้วนะครับ ห่างหายไปนานเลยเนื่องจากว่าต้องไปศึกษาดูงานตามโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กต้นแบบ นะ เรามาต่อกันดีกว่านะขอรับ
หนังสือที่ต้องปฏิบัติให้เร็วกว่าปกติ
เป็นหนังสือที่จะต้องจัดส่งหรือดำเนินการทางสารบรรณด้วยความเร็วเป็นพิเศษ แบ่งได้ 3 ประเภทคือ
1. ด่วนที่สุด ให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติทันทีเมื่อได้รับหนังสือนั้น
2. ด่วนมาก ให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติโดยเร็ว
3. ด่วน ให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติเร็วกว่าปกติเท่าที่จะทำได้
ให้ระบุชั้นความเร็วด้วยอักษรสีแดง ขนาดไม่เล็กกว่า ตัวพิมพ์โป้ง 32 พอยท์ให้เห็นชัดเจนบนหนังสือหรือบนซอง
ในกรณีที่ที่อย่างให้หนังสือถึงมือผู้รับตามกำหนดให้ลงคำว่า ด่วนภายใน แล้วลงวันเดือน ปีและกำหนดเวลาที่ต้องการให้หนังสือนั้นไปถึงผู้รับ กับให้เจ้าหน้าที่ส่งถึงผู้รับซึ่งระบุหน้าซองภายในเวลาที่กำหนด
หนังสือที่ต้องการให้ส่วนราชการอื่นทราบด้วย ให้รับรองหนังสือว่า สำเนาถูกต้อง ให้เจ้าหน้าที่ระดับ 2 หรือเทียบเท่าขึ้นไปรับรอง

เรื่องราชการที่จะดำเนินการหรือสั่งการด้วยหนังสือได้ไม่ทัน
ให้ส่งข้อความทางเครื่องมือสื่อสารเช่น โทรเลข วิทยุโทรเลข โทรพิมพ์วิทยุ สื่อสาร วิทยุกระจายเสียง หรือวิทยุโทรทัศน์ เป็นต้น
และให้ผู้รับ ปฏิบัติเช่นเดียวกับได้รับหนังสือ ในกรณีที่จำเป็นต้องยืนยันเป็นหนังสือให้ทำหนังสือยืนยืนตามไปทันที
การส่งข้อความทางเครื่องมือสื่อสารซึ่งไม่มีหลักฐานปรากฏชัดแจ้ง เช่นทางโทรศัพท์ วิทยุสื่อสาร วิทยุกระจายเสียง หรือวิทยุโทรทัศน์ เป็นต้น ให้ผู้ส่งและผู้รับบันทึกข้อความไว้เป็นหลักฐาน

หนังสือที่จัดทำขึ้นโดยปกติให้มี ( 3 ฉบับ )
1. ฉบับจริง
2. สำเนาคู่ฉบับเก็บไว้ที่ต้นเรื่อง 1 ฉบับ
3. สำเนาเก็บไว้ที่หน่วยงานสารบรรณกลาง 1 ฉบับ
( สำเนาคู่ฉบับให้ผู้ลงชื่อลงลายมือชื่อ หรือลายมือชื่อย่อ และให้ผู้ร่าง ผู้พิมพ์ และผู้ตรวจ ลงลายมือชื่อหรือลายมือชื่อย่อไว้ที่ข้างล่างด้านขวาของหนังสือ )

หนังสือที่เจ้าของหนังสือเห็นว่า มีส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องควรได้รับทราบด้วยโดยปกติให้ส่งสำเนาไปให้ทราบด้วยโดยทำเป็นหนังสือประทับตรา( สำเนาหนังสือนี้ให้คำรับรองว่า สำเนาถูกต้อง โดยให้เจ้าหน้าที่ตั้งแต่ระดับ 2 หรือเทียบเท่าขึ้นไป ซึ่งเป็นเจ้าของเรื่องลงลายมือชื่อรับรอง พร้อมทั้งลงชื่อตัวบรรจง และตำแหน่งที่ขอบล่างของหนังสือ

หนังสือเวียน คือหนังสือที่มีถึงผู้รับเป็นจำนวนมาก มีใจความอย่างเดียวกัน ให้เพิ่มรหัสตัวพยัญชนะ ว หน้าเลขทะเบียนหนังสือส่ง ซึ่งกำหนดเป็นตัวเลขที่หนังสือเวียนโดยเฉพาะเริ่มตั้งแต่เลข 1 เรียงเป็นลำดับไปจนถึงปีปฏิทิน หรือใช้เลขที่ของหนังสือทั่วไปตามแบบหนังสือภายนอก



หนังสือต่างประเทศ
ให้ใช้กระดาษตราครุฑ หนังสือที่เป็นภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษให้ใช้ตามประเพณีนิยม
หนังสือที่เป็นภาษาอังกฤษ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. หนังสือที่ลงชื่อ
- หนังสือที่เป็นแบบพิธี (ใช้ติดต่อทางการทูต ระหว่างส่วนราชการไทยกับส่วนราชการต่างประเทศ)
- หนังสือที่ไม่เป็นแบบพิธี ( ใช้ติดต่อระหว่างส่วนราชการไทยกับส่วนราชการต่างประเทศ)
- หนังสือกลาง ( หนังสือที่ใช้สรรพนามบุรุษที่ 3 และประทับตราส่วนราชการ)
2. หนังสือที่ไม่ลงชื่อ
- บันทึกช่วยจำ ( ยืนยันข้อความที่ได้สนทนา)
- บันทึก ( แถลงรายละเอียด หรือข้อเท็จจริง)

การรับและส่งหนังสือ
การรับหนังสือ
ขั้นตอนการรับหนังสือ
1. จัดลำดับความสำคัญและความเร่งด่วนของหนังสือ
2. ลงทะเบียนตรารับหนังสือที่มุมด้านบนของหนังสือ
3. ลงทะเบียนรับหนังสือในทะเบียนหนังสือรับ
4. จัดแยกหนังสือที่ลงทะเบียนรับแล้ว ส่งให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการโดยให้ลงชื่อหน่วยงานที่รับหนังสือนั้นในช่อง การปฏิบัติถ้ามีชื่อบุคคล หรือตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับการรับหนังสือให้ลงชื่อหรือตำแหน่งไว้ด้วย
การส่งหนังสือ
ขั้นตอนการส่งหนังสือ
1. ให้เจ้าของเรื่องตรวจสอบความเรียบร้อยของหนังสือ รวมทั้งสิ่งที่จะส่งไปด้วยให้ครบถ้วนแล้วส่งเรื่องให้เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานสารบรรณกลางเพื่อส่งออก
2. เมื่อเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานสารบรรณกลางได้รับเรื่องแล้ว ให้ปฏิบัติ ดังนี้
- ลงทะเบียนส่งหนังสือในทะเบียนหนังสือ
-
ข้อสอบ**
จำให้ได้ลงเลขที่ และวัน เดือน ปี ในหนังสือที่จะส่งออกทั้งในต้นฉบับและสำเนาคู่ฉบับให้ตรงกับเลขทะเบียนส่ง และวัน เดือน ปี ในทะเบียนหนังสือส่ง
- ก่อนบรรจุซองให้เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานสารบรรณกลางตรวจความเรียบร้อยของหนังสือตลอดจนสิ่งที่ส่งไปด้วยอีกครั้งหนึ่ง แล้วปิดผนึก
- หนังสือที่ไม่มีความสำคัญมากนัก อาจส่งไปโดยวิธีพับยึดติดด้วยแถบกาวเย็บด้วยลวด หรือวิธีอื่นแทนการบรรจุซอง

การส่งหนังสือโดยทางไปรษณีย์
ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบ หรือวิธีการที่การสื่อสารแห่งประเทศไทยกำหนด
- การส่งหนังสือซึ่งมิใช่เป็นการส่งโดยการไปรษณีย์ เมื่อส่งหนังสือให้ผู้รับแล้ว ผู้ส่งต้องให้ผู้รับลงชื่อรับในสมุดส่งหนังสือหรือใบรับแล้วแต่กรณี
- ถ้าเป็นใบรับให้นำใบรับนั้นมาผนึกติดไว้ที่สำเนาคู่ฉบับ
วันนี้พอแค่นี้ก่อนนะครับ เดี๋ยวค่อยมาว่ากันต่อ