วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

สมรรถนะของผู้บริหาร(ต่อ)

การทำงานเป็นทีม ( TEAMWORK )
การทำงานเป็นทีมเป็นเทคนิคการทำงานที่มุ่งประสิทธิภาพ ประสิทธิผลของงานรวมถึงความพึงพอใจของผู้ร่วมงานที่ทำงาน
หัวใจของความสำเร็จของการทำงานเป็นทีมนั้นอยู่ที่ตัวสมาชิกทุกคนซึ่งมีความสำคัญเท่าเทียมกัน
การทำงานเป็นทีม ( TEAMWORK )
T = Trust ( เชื่อถือได้ )
E = Empathy ( เห็นใจกัน )
A = Agreement ( มีข้อตกลงร่วมกัน )
M = Mutual Benefit ( แบ่งปันผลประโยชน์ )
W = Willingness ( ต้องการ/อยากทำงาน )
O = Opportunity ( โอกาส )
R = Recognition ( ชื่นชม ยินดี สนับสนุน )
K = Knowledge ( ความรู้ แลกเปลี่ยนความรู้ )


ความสำคัญของการทำงานเป็นทีม
1. เกิดความสามัคคี
2. ทีมงานจะเป็นผู้ก่อกำเนิดงานเล็กๆไปสู่งานใหญ่ และงานใหญ่จะประสบความสำเร็จจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจกันทำงาน
3. สมาชิกทุกคนมีโอกาสปรึกษาหารือกันเพื่อสร้างมาตรฐานของงาน
4. มาตรฐานการทำงานที่ดีของทีมหนึ่งในองค์การจะมีผลดีต่อการกำหนดมาตรฐานงานแก่ทีมงานในองค์การในหน่วยอื่นๆ
5. ทำให้องค์การมีการมีการเจริญเติบโต

องค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญของการทำงานเป็นทีม มีดังนี้
1. ต้องประกอบไปด้วยบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป
2. บุคคลในกลุ่มต้องมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน
3. บุคคลในกลุ่มต้องสัมพันธ์ต่อกันอย่างมีแบบแผน
4. บุคคลในกลุ่มต้องพึ่งพากันในการปฏิบัติงาน
5. บุคคลในกลุ่มถือว่าเป็นตนเองเป็นสมาชิกของทีมงาน
6. บุคคลในกลุ่มมีวัตถุประสงค์และเป้าหมายเดียวกัน
7. บุคคลในกลุ่มคิดว่าการทำงานร่วมกันช่วยให้งานสำเร็จ
8. บุคคลในกลุ่มมีความสมัครใจที่จะทำงานร่วมกัน
9. บุคคลในกลุ่มมีความเพลิดเพลินที่จะทำงานและผลิตผลงานคุณภาพสูง
10. บุคคลในกลุ่มพร้อมที่จะเผชิญปัญหาร่วมกัน

การทำงานเป็นทีม มีหลักปฏิบัติดังนี้
1. กำหนดเป้าหมาย
2. กำหนดกิจกรรม
3. กำหนดบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของสมาชิกในทีมงาน
4. กระบวนการทำงานในทีม
4.1 การตัดสินใจ
4.2 การสื่อสาร
4.3 การประชุม
4.4 ภาวะผู้นำ
5. สัมพันธภาพระหว่างสมาชิกในทีม

ลักษณะของผู้นำที่ดีจะต้องมีคุณสมบัติดังนี้
1. มีความรู้ดี
2. มีความคิดริเริ่ม
3. สามารถใช้ดุลยพินิจในการตัดสินใจ
4. มีความอดทน
5. มีการสื่อสารที่ดี
6. มีความเห็นอกเห็นใจ
7. ยกย่องให้เกียรติทีมงาน
8. มีการวางแผนและดำเนินการตามแผน

รูปแบบในการทำงานเป็นทีมโดยยึดหลักสำคัญที่เรียกว่า 3H
1. Heart หรือความรู้สึกเป็นทีม การทำงานเป็นทีมเริ่มต้นต้องมีความรู้สึกร่วมกัน มีความผูกพันกันเป็นพวกเดียวกัน ( เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน )
2. Head หรือคิดเป็นทีม ช่วยกันคิดวิเคราะห์แก้ปัญหา ร่วมกันตัดสินใจ ( รวมหัวในการคิดแก้ปัญหา )
3. Hand หรือทำงานเป็นทีม เป็นขั้นตอนการทำงานหรือลงมือปฏิบัติ( ร่วมด้วยช่วยกัน )

ลักษณะของทีมที่ไม่มีประสิทธิภาพ
1. มีอาการคับข้องใจ
2. แก่งแย่ง ชิงดี
3. สีหน้าของสมาชิก
4. ความเปิดเผย ซื่อตรง
5. การประชุม
6. ความสัมพันธ์หัวหน้า,ลูกน้อง
7. สมาชิกไม่มีการพัฒนาตนเอง
8. บทบาทไม่ชัดเจน
9. ไม่ยอมรับความช่วยเหลือจากภายนอก
10. ไม่มีความคิดสร้างสรรค์
11. สมาชิกไม่ให้,ไม่รับความช่วยเหลือ



องค์ประกอบของทีมงาน มีดังนี้
1. คน
2. ทีม
3. งาน
4. องค์กร

การวิเคราะห์ และสังเคราะห์
การคิดวิเคราะห์ คือการแยกส่วน สิ่งที่ได้พบเห็น ได้ยิน ได้ฟัง ได้ประสบหรือปฏิบัติด้วยตนเอง การวิเคราะห์ แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
1. การคิดวิเคราะห์ความสำคัญ เป็นการวิเคราะห์มูลเหตุ ต้นกำเนิดผลลัพธ์ และความสำคัญของเรื่องราวทั้งปวงเช่น เลข 0 ถึง เลข 9 เลขใดใช้มากที่สุด ศีล 5 ข้อ ข้อใดสำคัญที่สุด สอบแบบใดเด็กจึงจะชอบมากที่สุด
2. การคิดวิเคราะห์ความสัมพันธ์ เป็นความสามารถในการค้นหาว่าความสำคัญย่อยๆของเรื่องราวหรือเหตุการณ์นั้นต่างติดต่อเกี่ยวข้องกันอย่างไร สอดคล้องหรือขัดแย้งกัน เช่น เหตุใดแสงจึงเร็วกว่าเสียง อะไรเป็นต้นเหตุแห่งการรัฐประหาร
3. การวิเคราะห์หลักการ เป็นความสามารถที่จะจับเค้าเงื่อนของเรื่องราวนั้นว่ายึดถือหลักการใด เช่นเครื่องบินทะยานสู่ท้องฟ้าได้โดยอาศัยหลักการใด ใช้หลักการใดในการอ่านหนังสือเตรียมสอบ

การสังเคราะห์ คือการรวม หรือการสร้างขึ้นจากของเก่าและหรือของใหม่ที่คิดได้เองหรือเรียนรู้จากผู้อื่น จากตัวอย่างข้างต้น เมื่อวิเคราะห์และศึกษาข้อมูลต่างๆประกอบกันแล้วอาจสังเคราะห์ว่าบุคคลนั้นเป็นคนเข้าไปขโมยของ ซึ่งอาจจะผิดหรือถูกก็ได้ การฝึกสังเคราะห์ทำได้หลายวิธี เช่น เล่านิทานให้ฟังแล้วให้แต่งต่อไปให้จบหรือแต่งขึ้นมาใหม่โดยใช้ตัวละครเดิม การต่อรูปภาพ การต่อแท่งไม้ การสังเคราะห์แบ่งออกเป็น 3 ด้านคือ
1. การสังเคราะห์ข้อความ เช่นความสามารถในการเขียนเรียงความ เรื่องสั้น ปาฐกถา การแต่งเพลง การวิจารณ์เหตุการณ์ เป็นต้น
2. การสังเคราะห์แผนงาน เช่นการออกแบบบ้านเรือน การออกแบบเรือ การออกแบบรถ การออกแบบเสื้อผ้า ความสามารถในการจัดภูมิทัศน์ของโรงเรียน ความสามารถในการวางแผนปฏิบัติการประจำปี ความสามารถในการวางแผนการเรียนรู้ ความสามารถในการออกแบบสื่อนวัตกรรมการเรียนการสอน
3. การสังเคราะห์ความสัมพันธ์ เช่น ความสามารถในการตั้งสมมติฐานของโครงงาน ความสามารถในการสร้างทฤษฏีการเรียนรู้ ง

การวางแผน ช่วยให้องค์การมีทิศทางและเป็นสิ่งที่นักบริหารในยุคปัจจุบันจำเป็นต้องให้ความสนใจและไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ทั้งนี้เพราะสภาพแวดล้อมที่มีข้อจำกัด ตลอดจนทรัพยากรต่างๆก็มีอย่างจำกัดเช่น ทำให้องค์การต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องจัดทำแผนงาน
แผน คือสิ่งที่แสดงความตั้งใจไว้ล่วงหน้าว่าจะดำเนินการอะไร อย่างไร ภายในระยะเวลาที่กำหนด เพื่อให้สามารถบรรลุตามวัตถุประสงค์ ซึ่งจะมีรายละเอียดระบุถึงสิ่งที่จะทำตลอดจนวิธีการดำเนินการต่างๆ
ภารกิจ คือ หน้าที่หรืองานหรือภารกิจพื้นฐานขององค์การที่ทุกองค์การต้องมีภารกิจหรือมีจุดมุ่งหมาย
วัตถุประสงค์ หมายถึง เป้าหมายที่องค์การต้องการให้กิจกรรมบรรลุผล เพราะฉะนั้น วัตถุประสงค์ที่ดีควรคำนึงถึงความ SMART ของวัตถุประสงค์ ดังนี้
S - Sensibility - มีความชัดเจนเป็นไปได้
M - Measurable - สามารถวัดได้
A - Attainable - สามารถบรรลุจุดมุ่งหมายได้
R - Reasonable - มีเหตุผลและอธิบายได้
T - Time - มีระยะเวลา
ความสำคัญของการวางแผน
1. ช่วยลดการทำงานตามยถากรรม
2. ช่วยให้การทำงานประสานสัมพันธ์กัน รวมทั้งลดการทำงานซ้ำซ้อน
3. การปฏิบัติงานตามแผนงานย่อมก่อให้เกิดการประหยัดทั้งเงินทุนและเวลา
4. ช่วยให้การตรวจสอบและการควบคุมมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
5. ช่วยแบ่งเบาภาระหน้าที่การงานของผู้บริหารให้ลดน้อยลง
6. ช่วยให้ผู้บริหารมีความเชื่อมั่นในการบริหารมากขึ้น
7. ช่วยให้ผู้บริหารสามารถตรวจสอบความสำเร็จของเป้าหมายได้
8. แผนงานที่ดีจะสามารถระดมกำลังคนและทรัพยากรต่างๆขององค์การมาใช้อย่างทั่วถึง

ประเภทของแผน
1. การจำแนกแผนตามระยะเวลา
1.1 แผนระยะสั้น เป็นแผนงานในรูปของกิจกรรมเฉพาะอย่างที่มุ่งหวังให้เกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ และสอดคล้องกับแผนระยะยาว โดยมากมักมีกำหนดเวลา 1 ปี เช่น แผนประจำปี แผนงบประมาณ
1.2 แผนระยะปานกลาง เป็นแผนที่มีระยะเวลาปฏิบัติการมากกว่า 1 ปี ตามปกติอยู่ในระยะเวลา 3 – 5 ปี เช่น แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีระยะเวลา 5 ปี
1.3 แผนระยะยาว เป็นแผนของกิจกรรมขนาดใหญ่ ที่มีความเกี่ยวข้องกับหน่วยงานหลายฝ่ายหลายสาขา ต้องใช้กระบวนการวางแผนและการทำงานสลับซับซ้อนตลอดจนต้องใช้การศึกษาวิจัยเป็นเวลานานมากกว่า 5 ปีขึ้นไป เช่น แผนสืบราชการลับ
2. การจำแนกตามระดับของการวางแผน
2.1 แผนระดับสูง
2.2 แผนระดับกลาง
2.3 แผนระดับต้น
3. จำแนกตามลำดับขั้นของแผนในองค์การ
3.1 แผนกลยุทธ์
3.2 แผนปฏิบัติการ
4. การจำแนกแผนตามระดับการบริหารประเทศ
4.1 แผนระดับชาติ
4.2 แผนระดับภาค
4.3 แผนระดับท้องถิ่น

กระบวนการวางแผน
1. การศึกษาสภาพปัญหาและการพยากรณ์เกี่ยวกับสภาพแวดล้อม
2. การกำหนดโครงรูปของการวางแผน
3. การกำหนดวัตถุประสงค์
4. การวิเคราะห์ทางเลือกและการจัดทำแผน
5. การปฏิบัติตามแผน
6. การประเมินผลและการปรับปรุงแผน

ปัญหาและอุปสรรคของการวางแผน
1. ผู้บริหารขาดความเชื่อถือความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคุณค่าของการวางแผน
2. การวางแผนต้องใช้ทรัพยากร ทั้งงบประมาณ บุคคลและเวลา
3. การวางแผนต้องใช้ข้อมูลที่เที่ยวตรงและเชื่อถือได้
4. การวางแผนแล้วไม่นำไปปฏิบัติ
5. ผู้ปฏิบัติไม่เข้าใจคุณค่าและความสำคัญของแผน



ความสัมพันธ์ของแผน แผนงาน โครงการ / งาน กิจกรรม
แผน หมายถึง สิ่งที่ได้เตรียมไว้เพื่อยึดถือเป็นหลักหรือเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานให้สำเร็จตามเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ มักจะเป็นแผนอย่างกว้างๆหรือเป็นแผนระยะยาว
แผนงาน หมายถึง กลุ่มของโครงการที่มีมากกว่า 2 โครงการขึ้นไป โดยมีวัตถุประสงค์ เดียวกัน
โครงการ มีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดแน่นอน
งาน มีระยะเวลาสิ้นสุดไม่แน่นอน
กิจกรรม ในแต่ละโครงการอาจจะมีหนึ่งกิจกรรมหรือหลายกิจกรรมก็ได้

2 ความคิดเห็น:

  1. ดีค่ะคุณเขียนได้ละเอียด แต่ยังไม่เข้าประเด็นที่ดิฉันต้องการโดยตรงค่ะ ขอเพิ่มอีกหน่อยได้มั๊ยคะโดยเฉพาะ สมรรถนะผู้นำของผู้บริหาร

    ตอบลบ
  2. ดีหลายเด้อท่าน

    ตอบลบ