กรอบแนวทางการจัดตั้งงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2553
งบลงทุนรายการค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง
กรอบวงเงินการจัดตั้งงบประมาณ งบลงทุน รายการค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดกรอบวงเงินการดำเนินการจัดตั้งงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2553 รายการค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง กรอบวงเงินรวมทั้งสิ้น 4,000 ,000,000 บาท ดังนี้
1. จัดตั้งให้สถานศึกษา จำนวน 3,000,000,000 บาท
2. จัดตั้งสำหรับสถานศึกษาประสบภัยธรรมชาติ จำนวน 800,000,000 บาท โดยตั้งไว้ที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
3. จัดตั้งงบประมาณสำหรับอาคารเรียนและอาคารประกอบขนาดใหญ่ (งบผูกพัน)ให้สถานศึกษาตามความขาดแคลนและจำเป็น โดยพิจารณาที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 200,000,000 บาท
แนวทางการจัดตั้งงบประมาณ งบลงทุน รายการค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง
ระดับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
1. แต่งตั้งคณะทำงานจัดทำคู่มือการจัดตั้งงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2553 งบลงทุน ค่าครุภัณฑ์ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง
2. ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูล ดัชนี ความขาดแคลนและความต้องการงบลงทุนรายการที่ดินและสิ่งก่อสร้างของสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
3. กำหนดเกณฑ์จัดตั้งงบประมาณงบลงทุนรายการที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2553
4. กำหนดกรอบวงเงินจัดตั้งงบประมาณงบลงทุนรายการที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2553 จำแนกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่ 1 ก่อสร้างอาคารเรียน อาคารประกอบเพิ่มเติม
กลุ่มที่ 2 ก่อสร้างอาคารเรียนทดแทน
กลุ่มที่ 3 ปรับปรุงซ่อมแซมอาคารเรียน อาคารประกอบและสิ่งก่อสร้างอื่น
กลุ่มที่ 4 สร้างสนามกีฬา
5. กำหนดปฏิทินการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับสำนักงบประมาณ
6. แจ้งกรอบวงเงินงบประมาณให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
7. ประมวลผลคำขอตั้งงบประมาณของทุกสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
8. จัดทำคำขอตั้งงบประมาณงบลงทุนรายการค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้างในภาพรวมของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เสนอคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ และสำนักงบประมาณพิจารณา
ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
1. แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาจัดตั้งงบประมาณงบลงทุนรายการค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นประธาน ผู้แทนผู้บริหารสถานศึกษา ระดับช่วงชั้น 1–2 , 1–3 , 3–4 ผู้แทนคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา เจ้าหน้าที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องการจัดทำงบประมาณ และหัวหน้ากลุ่มนโยบายและแผน เป็นกรรมการและเลขานุการ เพื่อทำหน้าที่จัดตั้งงบประมาณให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์
2. การจัดตั้งงบประมาณรายการค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง จำแนกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่ 1 ก่อสร้างอาคารเรียน อาคารประกอบเพิ่มเติม
กลุ่มที่ 2 ก่อสร้างอาคารเรียนทดแทน
กลุ่มที่ 3 ปรับปรุงซ่อมแซมอาคารเรียน อาคารประกอบและสิ่งก่อสร้างอื่น
กลุ่มที่ 4 สร้างสนามกีฬา
3. ในการจัดตั้งงบประมาณของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาต้องเป็นไปตามคู่มือและแนวทางที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด โดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอาจพิจารณากำหนดรายละเอียด เกณฑ์ ประกอบการพิจารณาเพิ่มเติมได้ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาของแต่ละสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
4. การจัดตั้งงบประมาณของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ให้จัดตั้งงบประมาณตามกรอบวงเงินงบประมาณ ที่ได้รับแจ้งจัดสรร
5. ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจัดตั้งงบประมาณ งบลงทุนรายการค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง โดยใช้รายการและราคามาตรฐานตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนด
6. ในการจัดตั้งงบประมาณอาคารเรียน อาคารประกอบขนาดใหญ่(งบผูกพัน) ให้เสนอจัดตั้งงบประมาณ ที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยไม่กระทบกรอบวงเงินที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาได้รับแจ้งจัดสรร หากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาใดมีความจำเป็นให้เสนอขอได้ไม่เกินสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาละ 1 หลัง พร้อมรายละเอียดประกอบการพิจารณา ตามแบบฟอร์มที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด และเอกสารประกอบการขอ จัดตั้งงบประมาณเพิ่มเติม โดย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษารับรองข้อมูลทุกรายการตามแบบที่กำหนด ดังนี้
6.1 แผนการจัดชั้นเรียนเต็มรูป
6.2 แผนผังอาคารเรียน อาคารประกอบและสิ่งก่อสร้างของสถานศึกษา (Master Plan)
6.3 เหตุผลและความจำเป็นประกอบการพิจารณา
6.4 หนังสือยืนยันว่ามีสถานที่ก่อสร้างเพียงพอและพร้อมในการก่อสร้าง
6.5 ภาพถ่าย สภาพอาคารเรียน อาคารประกอบ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน
7. บันทึกข้อมูลคำขอตั้งงบประมาณทุกแบบฟอร์มที่กำหนดลงใน แผ่น CD–ROM ส่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
8. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาควรจัดทำแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (อาคารและสิ่งก่อสร้าง) ระยะ 3 ปี ของสถานศึกษาในสังกัดเพื่อหาแนวทางในการระดมทรัพยากรจากทุกภาคส่วนได้ เช่น จังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน เป็นต้น
ระดับสถานศึกษา
1. ให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีส่วนร่วมในการวางแผนกำหนดแนวนโยบายในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอาคารและสิ่งก่อสร้างของสถานศึกษา
2. ตรวจสอบ ทบทวนข้อมูลความขาดแคลน จำเป็น ด้านอาคารและสิ่งก่อสร้าง ให้สอดคล้องกับแผนการจัดชั้นเรียน และแนวโน้มการขยายตัวของประชากรวัยเรียนในอนาคต
3. เสนอขอตั้งงบประมาณ อาคารเรียน อาคารประกอบและสิ่งก่อสร้าง ที่มีความขาดแคลน จำเป็นตามเกณฑ์มาตรฐานสิ่งก่อสร้างส่งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
4. กรณีที่ต้องรื้อถอนอาคารเดิม เพื่อก่อสร้างอาคารทดแทนสถานศึกษาต้องเตรียมจัดทำแผนรองรับปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น
รายละเอียดประกอบการวิเคราะห์สภาพความจำเป็นด้านอาคารเรียน
อาคารประกอบและสิ่งก่อสร้าง
การวิเคราะห์สภาพความจำเป็นจำแนกเป็น 4 กลุ่ม
กลุ่มที่ 1 ก่อสร้างอาคารเรียน อาคารประกอบเพิ่มเติมเพื่อแก้ไขปัญหาความขาดแคลน ให้ดำเนินการ ดังนี้
1. วิเคราะห์ข้อมูลสภาพความขาดแคลนจำเป็น อาคารเรียน อาคารประกอบ และเรียงลำดับความสำคัญก่อนหลัง
2. พิจารณาจัดตั้งงบประมาณ
2.1 อาคารเรียน จัดตั้งงบประมาณตามลำดับความขาดแคลนโดยพิจารณาความขาดแคลนห้องเรียนเป็นอันดับแรก
2.2 อาคารประกอบ จัดตั้งงบประมาณตามความขาดแคลนตามเกณฑ์ที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด และความจำเป็นเร่งด่วน
3. พิจารณาจัดตั้งงบประมาณการก่อสร้าง โดยคำนึงถึงแผนการจัดชั้นเรียนและแนวโน้มการขยายตัวของประชากรวัยเรียนในอนาคตเป็นสำคัญ
กลุ่มที่ 2 ก่อสร้างอาคารเรียนทดแทน ให้พิจารณาเหตุผลความจำเป็น และเรียงลำดับความสำคัญก่อนหลัง ดังนี้
1. อาคารเรียนที่ชำรุดขั้นวิกฤตอาจเป็นอันตรายต่อนักเรียนหรือผู้ใช้อาคารหรืออาคารชำรุด ส่วนที่เป็นโครงสร้างหลัก เช่น ฐานราก คาน เสา ตอม่อ หลังคา ฯลฯ
2. อาคารที่มีสภาพชำรุดเกินกว่า 50 %
3. อาคารที่มีอายุเกิน 30 ปี และได้รับอนุญาตให้รื้อถอนแล้วแต่ในปัจจุบันใช้เป็นที่จัดการเรียนการสอนอยู่
กลุ่มที่ 3 ปรับปรุงซ่อมแซมอาคารเรียน อาคารประกอบและสิ่งก่อสร้างอื่นให้พิจารณาเหตุผล ความจำเป็นและเรียงลำดับความสำคัญก่อนหลัง ดังนี้
1. อาคารที่ชำรุดมาก อาจเป็นอันตรายต่อนักเรียนและผู้ใช้อาคาร
2. อาคารที่ปรับปรุงจะต้องใช้งบประมาณไม่เกิน 50 % ของราคาค่าก่อสร้างใหม่ในปัจจุบัน
3. เมื่อได้รับการปรับปรุงแล้ว อาคารจะต้องใช้ประโยชน์อย่างต่อเนื่อง
4. การจัดตั้งงบประมาณเพื่อปรับปรุงซ่อมแซมอาคารเรียน อาคารประกอบและสิ่งก่อสร้างอื่น ในงบลงทุนรายการค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ต้องมีวงเงินตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป
หมายเหตุ สิ่งก่อสร้างอื่น หมายถึง สนามกีฬา รั้ว ถนน รางระบายน้ำ เป็นต้น
กลุ่มที่ 4 สร้างสนามกีฬา
1. พิจารณาจัดตั้งงบประมาณตามความขาดแคลนจำเป็น โดยเรียงลำดับความสำคัญก่อนหลัง
2. พิจารณาจัดตั้งให้กับโรงเรียนที่ยังไม่มีสนามกีฬาเป็นลำดับแรกโดยเฉพาะโรงเรียนที่จำเป็นต้องใช้สอนตามหลักสูตร
หมายเหตุ สนามกีฬา หมายถึง ลานกีฬาอเนกประสงค์ สนามบาสเก็ตบอล สนามวอลเลย์บอล สนามฟุตบอล สนามตะกร้อ เป็นต้น
เกณฑ์มาตรฐานสิ่งก่อสร้างของโรงเรียน
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สิ่งก่อสร้างของโรงเรียนนับเป็นส่วนประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่ง เพราะเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนการสอน และอำนวยความสะดวกในการบริหารจัดการศึกษาในระบบโรงเรียนให้บรรลุจุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
1. อาคารเรียน หมายถึง อาคารที่ใช้เป็นสถานที่จัดกิจกรรมการเรียนการสอนทุกกลุ่มวิชาประกอบด้วยห้องเรียนและห้องพิเศษ
- ห้องเรียน หมายถึง ห้องที่ใช้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนทุกรายวิชา
- ห้องพิเศษ หมายถึง ห้องอำนวยความสะดวกในการบริหารและจัดกิจกรรมสนับสนุนการเรียนการสอน เช่น 1. ห้องพักครู 2.ห้องพยาบาล 3. ห้องวิทยาศาสตร์ 4.ห้องคอมพิวเตอร์ ฯลฯ
เกณฑ์การจัดอาคารเรียน 1.ใช้จำนวนนักเรียนเป็นเกณฑ์ 2. ใช้แผนการจัดชั้นเรียน
โดยมีเกณฑ์การจัดสรร ดังนี้
1.โรงเรียนที่มีนักเรียน 120 คนลงมา ใช้เกณฑ์ควรมีห้องเรียน 8 ห้อง และห้องพิเศษ 3 ห้อง รวมควรมี 11 ห้อง
2. โรงเรียนที่มีนักเรียน 121 – 300 คน ใช้เกณฑ์ควรมีห้องเรียน 8 ห้อง และห้องพิเศษ 4 ห้อง รวมควรมี 12 ห้อง (ยกเว้น โรงเรียนขยายโอกาส และระดับมัธยมศึกษา ให้ใช้เกณฑ์ตามตาราง หน้า 2 )
3. โรงเรียนที่มีนักเรียน 301 คนขึ้นไป ใช้เกณฑ์ควรมีห้องเรียนตามแผนจัดชั้นเรียน ดังนี้
2. อาคารประกอบ หมายถึง อาคารที่ใช้เป็นสถานที่จัดกิจกรรมการเรียนการสอน กลุ่มวิชาต่าง ๆ หรือจัดกิจกรรมอาหารกลางวัน หรือใช้สำหรับเป็นที่ประชุมนักเรียน หรือกิจกรรมอื่น ๆ
2.1 อาคารอเนกประสงค์ , หอประชุม, โรงอาหาร มีเกณฑ์ดังนี้
1. แผนจัดชั้นเรียน 3 -23 ห้องเรียน ควรมี อาคารอเนกประสงค์ หอประชุม, โรงอาหาร รวม 1 หลัง
2. แผนจัดชั้นเรียน 24 ห้องเรียนขึ้นไป ควรมี อาคารอเนกประสงค์ หอประชุม โรงเรียนอาหาร รวม 2 หลัง
2.2 อาคารฝึกงาน ใช้แผนจัดชั้นเรียนเป็นเกณฑ์ดังนี้
แผนจัดชั้นเรียน ควรมี
3 – 8 ห้องเรียน 1 หน่วย
9 – 14 ห้องเรียน 2 หน่วย
15 – 26 ห้องเรียน 4 หน่วย
27 – 44 ห้องเรียน 6 หน่วย
45 ห้องเรียนขึ้นไป 8 หน่วย
2.3 ส้วม
ส้วม หมายถึง อาคารที่ใช้เป็นสถานที่สำหรับอุจจาระ หรือปัสสาวะของนักเรียน โดยใช้แผนจัด ชั้นเรียนเป็นเกณฑ์ ดังนี้
จำนวนนักเรียน 40 คน ควรมี 1 ที่นั่ง แต่อย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 4 ที่นั่ง
2.4 บ้านพักครู หมายถึง อาคารที่สร้างขึ้นเพื่อจัดเป็นสวัสดิการแก่ครูที่ไม่มีบ้านพักอาศัยและภูมิลำเนาอยู่นอกพื้นที่ปฏิบัติการสอน โดยมีลักษณะอาคาร ดังนี้
1. สร้างบ้านพักครูแบบเรือนแถวในหมู่บ้านพักครู หรือในโรงเรียน ที่มีพื้นที่มาก โดยคำนึงถึงการให้บริการที่อยู่ในท้องถิ่นใกล้เคียงได้เป็นอันดับแรก
2. สร้างบ้านพักครูแบบบ้านพักเดี่ยว เฉพาะโรงเรียนที่อยู่ห่างไกลหาบ้านเช่าไม่ได้โดยใช้เกณฑ์ตามความต้องการจำเป็นของแต่ละสถานศึกษา
2.5 บ้านพักภารโรง ใช้เกณฑ์ตามความต้องการและจำเป็นของแต่ละสถานศึกษา
2.6 บ้านพักนักเรียน ใช้เกณฑ์ตามความต้องการ จำเป็นและตามจำนวนนักเรียนที่มีความประสงค์ จะเข้าพัก
3. สนามกีฬา
สนามกีฬา หมายถึง สถานที่สำหรับจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและกิจกรรมเสริมหลักสูตร มีเกณฑ์ ดังนี้
- สนามบาสเกตบอล สร้างเฉพาะโรงเรียนที่เปิดสอนมัธยมศึกษา โดยใช้แผนจัดชั้นเรียนเป็นเกณฑ์
1. แผนจัดชั้นเรียน 6 – 12 ห้อง ควรมี 1 สนาม
2. แผนจัดชั้นเรียน 13 – 36 ห้อง ควรมี 2 สนาม
3. แผนจัดชั้นเรียน 37 ห้องขึ้นไป ควรมี 3 สนาม
- สนามฟุตบอล จัดให้ทุกโรงเรียนตามความเหมาะสม 1 โรงเรียนต่อ 1 สนาม
ลานกีฬาอเนกประสงค์ เป็นลานคอนกรีต (เป็นสนามวอลเล่ย์และสนามเซปัคตะกร้อขนาดมาตรฐาน) มีเสาพร้อมตาข่ายวอลเล่ย์บอลและเซปัคตะกร้อโดยจัดให้โรงเรียน
ทุกโรง ๆ ละ 1 สนาม ไม่เกิน 3 สนาม ดังนี้
แผนจัดชั้นเรียน 3 – 12 ห้อง ควรมี 1 สนาม
13 – 36 ห้อง ควรมี 2 สนาม
37 ห้องขึ้นไป ควรมี 3 สนาม
สนามเด็กเล่น จัดให้โรงเรียนระดับก่อนประถมศึกษาโรงเรียนละ 1 สนาม
4. ถังน้ำซีเมนต์ โดยมีเกณฑ์ ดังนี้
4.1 แผนจัดชั้นเรียน 6- 12 ห้อง ควรมี 1 ชุด
4.2 แผนจัดชั้นเรียน 13 -36 ห้อง ควรมี 2 ชุด
4.3 แผนจัดชั้นเรียน 37 ห้องขึ้นไป ควรมี 3 ชุด
5. ค่าก่อสร้างอื่น ๆ
5.1 ค่าก่อสร้างปรับปรุงซ่อมแซมอาคารเรียน อาคารประกอบและสิ่งก่อสร้างอื่นที่ชำรุดเสียหายและที่ประสบอุบัติภัย จัดสรรงบประมาณให้แก่โรงเรียนที่มีอาคารเรียน อาคารประกอบฯ ที่มีสภาพชำรุดทรุดโทรม และประสบอุบัติภัย
5.2 ค่าติดตั้งไฟฟ้า ประปา รั้ว เขื่อน ถนนและปรับปรุงบริเวณ จัดให้โรงเรียนที่มีความขาดแคลน และเดือดร้อน โรงเรียนที่ไม่มีไฟฟ้า ประปา รั้ว ถนน และใช้ในการปรับปรุงบริเวณโรงเรียนเพื่อให้เอื้อต่อการเรียนการสอน
วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น