วันพุธที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2552

สมรรถนะการบริหาร(ต่อ)

วิสัยทัศน์(ต่อ)
กระบวนการวางแผนกลยุทธ์ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้
1. การวิเคราะห์สถานภาพหน่วยงาน
2. การกำหนดทิศทางในอนาคต
3. การกำหนดกลยุทธ์ของหน่วยงาน
4. การกำหนดปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จและตัวชี้วัดความสำเร็จ



การวิเคราะห์สถานภาพหน่วยงาน
การวิเคราะห์สถานภาพหน่วยงานเป็นการศึกษาหาเหตุผลเกี่ยวกับปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อการดำเนินงานของหน่วยงาน โดยมีการวิเคราะห์โดยละเอียดทั้ง ปัจจัยภายในและภายนอกหน่วยงาน ( จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค : SWOT ) เพื่อให้ทราบว่าปัจจุบันหน่วยงานอยู่ในสถานการณ์ใด
1. Strengths ( S ) จุดแข็งหรือข้อได้เปรียบ ( ภายในองค์กร )
2. Weaknesses ( W ) จุดอ่อนหรือข้อเสียเปรียบ ( ภายในองค์กร )
3. Opportunities ( O ) โอกาสที่จะดำเนินการได้ ( ภายนอกองค์กร )
4. Threats ( T ) อุปสรรคการดำเนินการ ( ภายนอกองค์กร )

1. การกำหนดกลยุทธ์จากปัจจัย จุดอ่อน / โอกาส
เป็นสถานการณ์ที่หน่วยงานมี ปัจจัยภายในไม่ดีแต่มีปัจจัยภายนอกดี หรือภายในด้อยแต่ภายนอกเอื้อ ในกรณีนี้ กลยุทธ์ที่จะกำหนดขึ้น เรียกว่า กลยุทธ์พลิกฟื้น ซึ่งมีกรอบแนวทางดังนี้
· พัฒนา
· ร่วมทุน
· หาแนวร่วม
· สร้างเครือข่าย
· เร่งรัด
2. การกำหนดกลยุทธ์จากปัจจัย จุดอ่อน/อุปสรรค
เป็นสถานการณ์ที่หน่วยงานมี ปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในไม่ดี หรือภายนอกฉุดและภายในด้อย ซึ่งเปรียบเสมือนหน่วยงานอยู่ในสถานการณ์สุนัขจนตรอก กลยุทธ์ที่กำหนดเป็นกลยุทธ์ตัดทอน ซึ่งมีแนวทางดังนี้
· ทบทวน
· ชะลอการดำเนินงาน
· ปรับเปลี่ยนกิจกรรม
· ลดกิจกรรม
· ถ่ายโอนภารกิจ
3. การกำหนดกลยุทธ์จากปัจจัย จุดแข็ง / โอกาส
เป็นสภาวการณ์ที่หน่วยงานมี ปัจจัยภายนอกและภายในดี หรือ ปัจจัยภายนอกและภายในเป็นเชิงบวกทั้งหมด หรือภายนอกเอื้อและภายในเด่น กลยุทธ์ที่จะกำหนดขึ้นจะเป็นกลยุทธ์เชิงรุก ซึ่งโดยทั่วไปกลยุทธ์ที่กำหนดจะเป็น
· การขยายงาน
· การส่งเสริมสนับสนุน
· การเพิ่มเครือข่าย
· การเพิ่มเป้าหมาย
· การกระจายงาน
4. การกำหนดกลยุทธ์จากปัจจัย จุดแข็ง/อุปสรรค
เป็นสถานการณ์ที่หน่วยงานมี ปัจจัยภายในดี แต่มีปัจจัยภายนอกไม่เอื้ออำนวย หรือปัจจัยภายในเป็นเชิงบวก แต่มีปัจจัยภายนอกเป็นเชิงลบ ในกรณีนี้กลยุทธ์ที่จะกำหนดขึ้น เรียกว่า กลยุทธ์การรักษาเสถียรภาพ คือใช้ประโยชน์จากจุดแข็งของหน่วยงานให้เป็นประโยชน์ ซึ่งการกำหนดกลยุทธ์สามารถกำหนดแนวทางได้ดังนี้
· ขยายงานที่เป็นจุดแข็ง
· คุ้มครอง
· ควบคุม
· ป้องกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น