วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2552

คุณธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา

วันนี้ ครูสุโขทัย ขอเสนอเกี่ยวกับคุณธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อให้ผู้ที่จะเข้าสู่ตำแหน่งได้ศึกษาคุณธรรมให้ลึกซึ่ง และสามารถนำไปใช้ในการทำงานได้
คุณธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา
ธรรมะ ข้อควรประพฤติปฏิบัติ
หลักธรรม หมวดหมู่แห่งธรรม
คุณธรรม ความดีงามในจิตใจซึ่งทำให้เคยชินประพฤติดี
ธรรมะที่ดีงามที่ควรครองไว้ในใจ
จริยธรรม ธรรมะที่ดีงามที่แสดงออกทางกาย
วัฒนธรรม สิ่งดีงามที่ยึดถือปฏิบัติสืบทอดกันมา
ค่านิยม คุณธรรมพื้นฐานที่ยึดถือเป็นวิถีชีวิต
มนุษยธรรม ธรรมะพื้นฐานที่มนุษย์ควรยึดถือปฏิบัติ( ศีล 5 )
คุณธรรมและจริยธรรมสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา - ข้อวัตรที่ผู้บริหารควรศึกษาควรรู้
- ข้อปฏิบัติที่ผู้บริหารควรยึดถือปฏิบัติ
- ข้อความดีที่ผู้บริหารควรนำมาครองใจ
คุณธรรมหลัก 4 ประการ ของอริสโตเติล
1. ความรอบคอบ 2. ความกล้าหาญ 3. การรู้จักประมาณ 4. ความยุติธรรม

พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
1. การรักษาความสัตย์ 2. การรู้จักข่มใจตัวเอง 3. การอดทน อดกลั้นและอดออม
4. การรู้จักละวางความชั่ว
ค่านิยมพื้นฐาน 5 ประการ
1. การพึ่งตนเอง 2. การประหยัดและอดออม
3. การมีระเบียบวินัย 4. การปฏิบัติตามคุณธรรม
5. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์
ทศพิธราชธรรม ธรรมของผู้ปกครอง
1. ทาน- การให้ 2. ศีล – การควบคุมกายวาจา
3. บริจาค- การเสียสละ 4. อาชวะ – ซื่อตรง
5. มัทวะ – อ่อนโยน 6. ตบะ - ความเพียร
7. อักโกธะ- ไม่โกรธ 8. อวิหิงสา- ไม่เบียดเบียน
9. ขันติ – อดทน 10. อวิโรธนะ – ไม่ผิดธรรม
พรหมวิหาร 4 คุณธรรมของท่านผู้เป็นใหญ่
1. เมตตา – รักใคร่ 2. กรุณา – สงสาร
3. มุทิตา – พลอยยินดี 4. อุเบกขา – วางเฉย
ประโยชน์ - ทำให้ผู้อื่นรักใคร่ นับถือ จงรักภักดี
- เป็นผู้มีน้ำใจนักกีฬา
อิทธิบาท 4 คุณธรรมเครื่องทำให้ประสบความสำเร็จ
1. ฉันทะ – พอใจ 2. วิริยะ – เพียร 3. จิตตะ-ฝักใฝ่ 4. วิมังสา – ตริตรอง
ประโยชน์ - พอใจในงาน ไม่เบื่อ มีความเพียร ศึกษาค้นคว้าปฏิบัติงานจนสำเร็จ
สังคหวัตถุ 4 คุณธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวใจคน
1. ทาน – ให้ปัน 2. ปิยวาจา – วาจาอ่อนหวาน
3. อัตถจริยา – ประพฤติประโยชน์ต่อผู้อื่น 4. สมานัตตา – ไม่ถือตัว
ประโยชน์ - ทำให้ผู้อื่นรักใคร่ นับถือ ยึดเหนี่ยวน้ำใจผู้อื่น
ธรรมมีอุปการะมาก - สติสัมปชัญญะ ช่วยไม่ให้เกิดความเสียหาย
- นาถกรณธรรมหรือพหุการธรรม
สัปปุริสธรรม 7 ธรรมของสัตบุรุษ
1. ธัมมัญญุตา รู้จักเหตุ
2. อัตถัญญุตา รู้จักผล
3. อัตตัญญุตา รู้จักตน
4. มัตตัญญุตา รู้จักประมาณ
5. กาลัญญุตา รู้จักกาล
6. ปริสัญญุตา รู้จักชุมชน
7. ปุคคลัญญุตา รู้จักคนควรคบ( บุคคล)
ประโยชน์
ข้อ 1 – 2 ช่วยให้มีเหตุผลไม่งมงาย
ข้อ 3 – 4 ช่วยให้รู้จักวางตัวเหมาะสม
ข้อ 5 ช่วยให้เป็นผู้ทันสมัยก้าวหน้าในงาน
ข้อ 6 – 7 ช่วยให้รู้เท่าทันเหตุการณ์
อธิษฐานธรรม ธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ
1. ปัญญา - รอบรู้ 2. สัจจะ - ความจริงใจ
3. จาคะ – สละสิ่งที่ไม่จริงใจ 4. อุปสมะ – สงบใจ
ขันติโสรัจจะ – ธรรมอันทำให้งาม ความอดทน สงบเสงี่ยม เป็นเครื่องประดับของนักปราชญ์
หิริโอตตัปปะ – ธรรมเป็นโลกบาลหรือธรรมคุ้มครองโลก
หิริ – ละอายในการทำบาป
โอตตัปปะ – เกรงกลัวต่อบาปและผลแห่งบาป
อคติ 4 - สิ่งที่ไม่ควรประพฤติ
1. ฉันทาคติ - ลำเอียงเพราะรัก 2. โทสาคติ – ลำเอียงเพราะชัง
3. โมหาคติ - ลำเอียงเพราะเขลา 4. ภยาคติ - ลำเอียงเพราะกลัว
พละ 5 - ธรรมเป็นกำลัง 5 อย่าง ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา
เบญจธรรม - ศีล 5 ข้อ ควรงดเว้น 5 ประการ ทำให้ก้าวหน้าในชีวิต เกิดความสบายใจไม่ทุกข์ร้อน
นิวรณ์ 5 - ธรรมอันกั้นจิตไม่ให้บรรลุความดี
1. กามฉันท์ - ใคร่ในกาม 2. พยาบาท - ปองร้าย
3. ถีนมิทธ - ง่วงเหงา 4. อุทธัจจกุกกุจจะ - ฟุ้งซ่าน
5. วิจิกิจฉา – ลังเล สงสัย
มรรค 8 - แม่บทแห่งการปฏิบัติของบุคคล
1. สัมมาทิฏฐิ - ปัญญาชอบ 2. สัมมาสังกัปปะ - ดำริชอบ
3. สัมมาวาจา - เจรจาชอบ 4. สัมมากัมมันตะ - ทำการงานชอบ
5. สัมมาอาชีวะ - เลี้ยงชีวิตชอบ 6. สัมมาวายามะ - เพียรชอบ
7. สัมมาสติ - ระลึกชอบ 8. สัมมาสมาธิ - ตั้งใจชอบ
เวสารัชชกรณธรรม - ธรรมทำความกล้าหาญ 5 อย่าง
1. สัทธา - ทำให้ใจหนักแน่น 2. ศีล - บังคับตนไม่ทำผิด
3. พาหะสัจจะ - ทำงานตามหลักวิชา 4. วิริยารัมภะ - ป้องกันความโลเล
5. ปัญญา - ช่วยให้เห็นทางถูกผิด
อภิณหปัจจเวกขณ์ - ธรรมแห่งความไม่ประมาท
- การพิจารณาเป็นประจำในเรื่องความแก่ เจ็บ ตาย การพลัดพราก กรรมทำให้ไม่ประมาทในการสร้างกรรมดี
สาราณิยธรรม - ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึง
อปริหานิยธรรม - ธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม
ฆราวาสธรรม - ธรรมของผู้ครองเรือน
1. สัจจะ – สัตย์ซื่อแก่กัน 2. ทมะ – รู้จักข่มจิตของตน
3. ขันติ – อดทน 4. จาคะ – สละให้เป็นสิ่งของของตนแก่คนที่ควร
กุศลกรรมบท - ทางแห่งความดี 10 อย่าง กายสุจริต 3 วจีสุจริต 4 มโนสุจริต 3
ปธาน - ความเพียร 4 อย่าง
1. สังวรปธาน - เพียรไม่ให้เกิดบาป 2. ปหานปธาน - เพียรละบาป
3. ภาวนาปธาน – เพียรให้กุศลเกิด 4. อนุรักษขนาปธาน – เพียรรักษากุศล
บุญกิริยาวัตถุ 3 - หลักของการทำบุญ
1. ทานมัย – บริจาคทาน 2. ศีลมัย – รักษาศีล
3. ภาวนามัย – เจริญภาวนา
ทิศ 6 - บุคคล 6 ประเภท
1. ปุรัตถิมทิศ - ทิศเบื้องหน้า ( บิดา มารดา )
2. ทักขิณทิศ - ทิศเบื้องขวา ( ครูบา อาจารย์ )
3. ปัจฉิมทิศ - ทิศเบื้องหลัง ( บุตร ภรรยา )
4. อุตตรทิศ - ทิศเบื้องซ้าย ( มิตร สหาย )
5. เหฏฐิมทิศ - ทิศเบื้องต่ำ ( ผู้ใต้บังคับบัญชา บ่าว )
6. อุปริมทิศ - ทิศเบื้องบน ( ผู้บังคับบัญชา สมณพราหมณ์ )

โลกธรรม 8 - ธรรมดาของโลก แบ่งเป็น 2 ฝ่าย
1. อฏฐารมณ์ 4 - ฝ่ายได้ ได้ลาภ ได้ยศ ได้รับการสรรเสริญ ได้สุข
2. อนิฏฐารมณ์ 4 ฝ่ายเสื่อม เสื่อมลาภ เสื่อมยศ ถูกนินทา ได้ทุกข์
อริยทรัพย์ 7 - ความดีที่มีในสันดานอย่างประเสริฐ
1. ศรัทธา 2. ศีล 3. หิริ 4. โอตตัปปะ
5. พาหุสัจจะ 6. จาคะ 7. ปัญญา
อริยสัจ 4 ความจริงอันประเสริฐ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
ขันธ์ 5 รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
สามัญลักษณะ ไตรลักษณ์ ลักษณะที่เสมอกันแก่สังขารทั้งปวง
1. อนิจจตา ไตรลักษณ์ ลักษณะที่เสมอกันแก่สังขารทั้งปวง
2. ทุกขตา ความเป็นทุกข์
3. อนัตตา ความไม่ใช่ของตน
จักรธรรม 4 ธรรมเหมือนวงล้อนำสู่ความเจริญ
1. ปฏิรูปเทสวาหะ อยู่ในประเทศอันควร
2. สัปปุริสูบัสสยะ คบสัตบุรุษ
3. อัตตสัมมาปณิธิ ตั้งตนไว้ชอบ
4. ปุพเพกตปุญญตา ทำดีไว้ในปางก่อน
ธรรมะกับหลักการบริหาร
1. นิคัญเห นิคคัญหารหัง ข่มคนที่คนข่ม
2. ปัคคัญเห ปัคคัญหารหัง ยกย่องคนที่ควรยกย่อง
3. ทิฏฐานุคติ ทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดี
การเข้าถึงพระธรรม 3 ขั้น
1. ปริยัติธรรม ศึกษาหลักคำสอน
2. ปฏิบัติธรรม ลงมือปฏิบัติธรรม
3. ปฏิเวชธรรม ได้รับผล
วัฒนธรรม ลักษณะที่แสดงถึงความเจริญ เป็นระเบียบก้าวหน้าและมีศีลธรรม
วัฒนธรรมไทย แบ่งออกเป็น 4 อย่าง
1. คติธรรม ทางหรือหลักในการดำเนินชีวิต เกี่ยวกับจิตใจ
2. เนติธรรม เกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของบุคคล
3. วัตถุธรรม เกี่ยวกับความสะดวกสบายใจในการครองชีพ ปัจจัย 4 ศิลปะ
4. สหธรรม คุณธรรมทำให้คนอยู่ร่วมกันอย่างมีระเบียบ มารยาท
ประเพณี สิ่งที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา
อารยธรรม ความเจริญที่สูงเด่นเมื่อเปรียบเทียบกับวัฒนธรรมผู้อื่น
จรรยาวิชาชีพ กฎเกณฑ์ความประพฤติ มารยาทในการประกอบอาชีพ
จรรยาบรรณ ประมวลกฎเกณฑ์ ความประพฤติ มารยาทของผู้ประกอบอาชีพ

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ31 สิงหาคม 2553 เวลา 15:20

    ผู้บริหารชั้นต้นแท้ ๆ คือ พ่อแม่ บริหารหน่วยงานครอบครัว นี่!เป็นผู้บริหารที่แท้จริง นอกนั้น เป็นผู้บริหารในฐานะผู้บังคับบัญชา พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ ทสธัมมสูตร ให้ผู้บริหารในฐานะผู้บังคับบัญชา ประพฤติปฏิบัติ ธรรม ๑๐ ประการ มีทานเป็นเบื้องต้น มีอวิโรธ เป็นเบื้องปลาย
    เท่านี้เพียงพอแล้ว ไม่ต้องมากมายตามบัญชีธรรมะที่เขียนไว้นี้ เพราะธรรมะเหล่าอื่นย่อมเกิดขึ้น ติดตามจากทสธัมมะ ๑๐ อย่างนี้ ในระดับญาตปริญญา ซึ่งเป็นการปฏิบัติขั้นมีผลรู้เห็นธัมมะของแต่ละข้อ คำว่าปริยัติ เป็นการเรียนตัวธรรม เช่น เรียนจำขันติ ความอดทนอดกลั้นอดออม เรียนจำโสรัจจะ ความสงบเสงี่ยม ส่งไปถึงปฏิบัติ เมื่อลงมือประพฤติปฏิบัติ รู้ว่ามีขันติ นี่ แข็งกระด้าง ครั้นลงมือประพฤติปฏิบัติโสรัจจธรรม รู้ว่าอ่อนเปียก กลายเป็นคนว่าง่ายสอนง่าย จูงจมูกสนสะพายไปได้ จึงเกิดความรู้เห็นว่า มีขันติอย่างเดียวก็ไม่งาม มีโสรัจจะอย่างเดียวก็ไม่สง่า เมื่อประพฤติปฏิบัติธรรมคู่นี้ ให้สมดุลกันเกิดสง่างาม จึงถึงปฏิเวธ ของธรรมอันทำให้งาม ๒ อย่าง ก็ศึกษาสำเร็จระดับญาตปริญญา-ชนะโกธะ/กามราคะได้เป็นพัก ๆ ก็ระดับตีรณปริญญา-ตัดขาดโกธะได้/ผ่อนคลายกามราคะได้ก็ระดับปหานปริญญา จบปริญญาเอกหมดเรื่องของขันติ/โสรัจจ ธรรมคู่นี้ จึงเป็นนักบริหารหน่วยงานของรัฐ/เอกชนระดับเอกอุเทียวครับท่าน

    ตอบลบ