วันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

สมรรถนะ

วันนี้เรามาศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับสมรรถนะกันดีกว่านะขอรับ..........ลองศึกษาดูก็แล้วกันว่าเป็นอย่างไร.........
สมรรถนะสำหรับผู้บริหาร สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

สมรรถนะหลัก มี 4 หลัก 12 ตัวบ่งชี้
1. การมุ่งผลสัมฤทธิ์ มี 3 ตัวบ่งชี้
2. การบริการที่ดี มี 2 ตัวบ่งชี้
3. การพัฒนาตนเอง มี 3 ตัวบ่งชี้
4. การทำงานเป็นทีม มี 4 ตัวบ่งชี้
สมรรถนะประจำสายงาน มี 4 หลัก 14 ตัวบ่งชี้
1. การวิเคราะห์และสังเคราะห์ มี 3 ตัวบ่งชี้
2. การสื่อสารและการจูงใจ มี 3 ตัวบ่งชี้
3. การพัฒนาศักยภาพบุคลากร มี 4 ตัวบ่งชี้
4. การมีวิสัยทัศน์ มี 4 ตัวบ่งชี้
เกณฑ์การให้คะแนน
1 - ควรปรับปรุง ต่ำกว่าร้อยละ 60
2 - พอใช้ ร้อยละ 60 – 69
3 - ดี ร้อยละ 70 – 79
4 - ดีมาก ร้อยละ 80 ขึ้นไป
การตัดสินผลการประเมินคุณภาพการปฏิบัติงาน
1. วิทยฐานะชำนาญการ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 65 หรือไม่ต่ำกว่า 2.60
2. วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 หรือไม่ต่ำกว่า 2.80
3. วิทยฐานะเชี่ยวชาญ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75 หรือไม่ต่ำกว่า 3.00
4. วิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 หรือไม่ต่ำกว่า 3.20
65 – 70 – 75 – 80 / 2.60 - 2.80 - 3.00 - 3.20
เพิ่มทีละ 5 เพิ่มทีละ 0.20


สมรรถนะหลัก
1. การมุ่งผลสัมฤทธิ์
ตัวบ่งชี้
1. คุณภาพงานด้านความถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์
2. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์การนำนวัตกรรมทางเลือกใหม่มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของงาน
3. ความมุ่งมั่นในการพัฒนาผลงานอย่างต่อเนื่อง

2. การบริการที่ดี
ตัวบ่งชี้
1. การปรับปรุงระบบบริการ
2. ความพึงพอใจของผู้รับบริการหรือผู้เกี่ยวข้อง

3. การพัฒนาตนเอง
ตัวบ่งชี้
1. การศึกษาค้นคว้า หาความรู้ด้วยการเข้าประชุมทางวิชาการอบรม สัมมนา หรือวิชาการอื่นๆ
2. การรวบรวมและประมวลความรู้ในการพัฒนาองค์กรและวิชาชีพ
3. การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านวิชาการในหมู่เพื่อนร่วมงาน

4. การทำงานเป็นทีม
ตัวบ่งชี้
1. การให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือ สนับสนุนเพื่อนร่วมงาน
2. การแสดงบทบาทผู้นำหรือผู้ตามได้อย่างเหมาะสม
3. การปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และกลุ่มคนที่หลากหลาย
4. การเสริมแรง ให้กำลังใจส่งเสริม สนับสนุนเพื่อนร่วมงานในการปฏิบัติงาน

สมรรถนะประจำสายงาน
1. การวิเคราะห์ และสังเคราะห์
ตัวบ่งชี้
1. การวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ปัญหา ความต้องการของงาน และเสนอทางเลือก หรือแนวทางป้องกัน แก้ไขปัญหางานในความรับผิดชอบ
2. ความเหมาะสมของแผนงาน โครงการในความรับผิดชอบ
3. ความคิดเชิงระบบในการแก้ปัญหาหรือพัฒนางาน

2. การสื่อสารและจูงใจ
ตัวบ่งชี้
1. ความสามารถในการพูดและเขียนในโอกาสต่างๆ
2. ความสามารถในการสื่อสารผ่านสื่อเทคโนโลยี
3. ความสามารถในการจูงใจ โน้มน้าวให้ผู้อื่นเห็นด้วย ยอมรับ คล้อยตาม

3. การพัฒนาศักยภาพบุคลากร
ตัวบ่งชี้
1. การให้คำปรึกษา แนะนำและช่วยแก้ปัญหาแก่เพื่อนร่วมงานและผู้เกี่ยวข้อง
2. การมีส่วนร่วมในการพัฒนาบุคลากร
3. การปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างและสร้างเครื่อข่ายรายการ
4. การส่งเสริมสนับสนุนและให้โอกาสเพื่อนร่วมงานได้พัฒนาในรูปแบบต่างๆ

4. การมีวิสัยทัศน์
ตัวบ่งชี้
1. การใช้กระบวนการมีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์หรือทิศทางการพัฒนาองค์การ
2. ความทันสมัยและสร้างสรรค์ของวิสัยทัศน์หรือทิศทางการพัฒนางานและความสอดคล้องกับนโยบายขององค์กรที่สังกัด
3. ความเป็นรูปธรรม ความเป็นไม่ได้ หรือโอกาสความสำเร็จตามวิสัยทัศน์
4. การยอมรับการปรับเปลี่ยนเทคนิควิธีการ เพื่อสถานการณ์แวดล้อม เปลี่ยนไป

การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ ( Results Based Management )
ในประเทศทวีปยุโรป อเมริกาเหนือ และออสเตรเลีย ซึ่งเหตุผลหลักของรัฐบาลประเทศเหล่านี้ในการปฏิรูปราชการคือ
1. ความพยายามเรียกความเชื่อมั่นจากประชาชนคืนมา
2. ให้ความสำคัญและเชื่อมั่นต่อภาคราชการ
การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ เป็นรูปแบบการบริหารที่เน้นความรับผิดชอบ ( Accountability ) ของรัฐบาลต่อประชาชน กล่าวคือ รัฐบาลจะต้องแสดงให้เป็นที่ประจักษ์แก่ประชาชนว่า
1. รัฐได้ใช้งบประมาณแผ่นดินอย่างมีประสิทธิภาพและได้ผลอย่างไร
2. การแสดงถึงว่าได้ผลงานอะไรบ้าง
3. ได้ให้บริการประชาชนในเรื่องใดบ้าง
4. ผลงานหรือบริการเหล่านั้นเป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตต่อการทำมาหากินของประชาชนอย่างไร
5. รัฐบาลจะต้องสามารถอธิบายต่อประชาชนได้ว่ากิจกรรมทำลงไปนั้นเป็นการใช้เงินภาษีของประชาชนอย่างประหยัด มีประสิทธิภาพก่อให้เกิดประสิทธิผล และคุ้มค่า
การปฏิรูปที่สำคัญคือ การจัดทำระบบการวัดผลการปฏิบัติงาน ( Performance Measurement ) เพื่อประเมินผลการทำงานและเพื่อเป็นข้อมูลการปรับปรุงการบริหารภายในและการรายงานผลงานต่อประชาชน ประสบการณ์ของประเทศ
การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ คือ การบริหารที่เน้นผลสัมฤทธิ์ ( Result ) โดยมีตัวชี้วัดผล ( Indicators ) ที่เป็นรูปธรรม
ผลสัมฤทธิ์ ( Result ) = ผลผลิต ( Output ) + ผลลัพธ์ ( Outcomes )
การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์จะเน้นที่ผลลัพธ์ ( Outcomes ) ของงานโดยให้ความสำคัญกับ
1. การกำหนดพันธกิจ และวัตถุประสงค์ของโครงการ/งาน
2. เป้าหมายชัดเจน
3. การกำหนดผลผลิตและผลลัพธ์ที่ต้องการให้สอดคล้อง/เป็นไปในทิศทางเดียวกับภารกิจและวัตถุประสงค์ขององค์การ
4. มีการกำหนดตัวชี้วัดผลการทำงานหลัก ( KPI )
5. วัดความก้าวหน้าของการปฏิบัติงาน
6. การยืดหยุ่นในการบริหารและสนับสนุนทรัพยากรแก่ผู้บริหารระดับล่าง
7. การประเมินผลการปฏิบัติงานและให้ค่าตอบแทนตามผลงาน
8. ปรับปรุงพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นและตรงตามความต้องการของลูกค้าคือประชาชน

ปัจจัยหลักพื้นฐานที่ทำให้การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ประสบความสำเร็จ คือ การมีระบบข้อมูลที่เที่ยงตรงและเชื่อถือได้
การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ เป็นการจัดหาให้ได้ทรัพยากรการบริหารมาอย่างประหยัด ( Economy ) การบริหารทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ( Efficiency ) และการได้ผลงานที่บรรลุเป้าหมายขององค์กร ( Effectiveness )
ความประหยัด ( Economy ) คือการใช้ทรัพยากรน้อยที่สุดในการผลิตโดยการใช้ปัจจัยนำเข้า ( Input ) ซึ่งได้แก่ทรัพยากรในการผลิตด้วยราคาที่ต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
กรณีการไม่ประหยัด
1. การมีคนงานมากกว่าปริมาณงาน
2. การใช้อุปกรณ์เครื่องมือที่ราคาแพงหรือคุณภาพสูงเกินความจำเป็น

ความมีประสิทธิภาพ ( Efficiency คือ การเปรียบเทียบระหว่างปัจจัยนำเข้า ( Input ) กับผลผลิต ( Output ) ได้แก่ การสร้างผลผลิตในระดับสูงกว่าปัจจัยนำเข้า ความมีประสิทธิภาพสามารถวัดได้โดยนำปัจจัยนำเข้าจริงหารด้วยผลผลิตจริง หากได้ค่าน้อยแสดงว่ามีผลผลิตเพิ่มขึ้น แสดงว่าองค์กรมีประสิทธิภาพ
สมการ
Efficiency = Input
Output
Input น้อย Output มาก จะมี Efficiency มาก

วิธีเพิ่มประสิทธิภาพ คือ การทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นในขณะที่ปัจจัยนำเข้าคงที่หรือโดยการประหยัด คือรักษาระดับผลผลิตให้คงที่แต่ลดปัจจัยนำเข้า

ความมีประสิทธิผล ( Effectiveness ) คือการเปรียบเทียบระหว่างวัตถุประสงค์กับผลลัพธ์ของโครงการ ซึ่งหมายถึงระดับของการบรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้ล่วงหน้าของโครงการนั้นๆว่าได้ผลลัพธ์ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้เพียงไร ความมีประสิทธิผล มีความเกี่ยวข้องกับ ผลผลิตและผลลัพธ์


ตัวอย่าง
ผลผลิต ( Outputs )
1. จำนวนคนไข้ที่เข้ารักษา
2. จำนวนกิโลเมตรของถนนที่ซ่อม
3. จำนวนโครงการอบรมที่จัดขึ้นหรือจำนวนผู้เข้ารับการอบรม
4. จำนวนผู้ต้องหาที่รับการสอบสวน
5. จำนวนครั้งที่ตอบโทรศัพท์
ผลลัพธ์ ( Outcomes )
1. จำนวนคนไข้ที่สุขภาพดีขึ้น
2. ร้อยละของถนนที่อยู่ในสภาพดี
3. จำนวนผู้ที่รับการอบรมได้ใช้ประโยชน์จาการอบรมจริง
4. ร้อยละของผู้ต้องหาที่กระทำผิดจริง
5. จำนวนครั้งที่ได้รับตอบโทรศัพท์อย่างถูกต้องเหมาะสม
เชิงคุณภาพ
( Information ) สารสนเทศ

เทคนิคที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์
1. การวัดผลการปฏิบัติงาน ( Performance Measurement ) หัวใจสำคัญของการบริหารงานมุ่งผลสัมฤทธิ์
2. การเทียบงาน (Benchmarking )
3. เทียบวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด ( Best Practice )
4. คุณภาพการให้บริการ ( Service Quality )
5. ตรวจสอบผลการปฏิบัติงาน ( Performance Auditing )
6. การประเมินผลโครงการ ( Program Evaluation )
7. การมอบอำนาจและให้อิสระในการทำงาน ( Devolution and Autonomy )
8. การวางแผนองค์การและแผนกลยุทธ์ ( Corporate and Strategic )
9. การทำสัญญาผลการปฏิบัติงาน ( Performance contracting )

ประโยชน์ของการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์
1. ช่วยให้ผู้บริหารรู้ตำแหน่งขององค์กร
2. สนับสนุนองค์กรให้บรรลุวิสัยทัศน์
3. แปลงกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ
4. ให้ข้อมูลเพื่อการสื่อสารและสร้างความเข้าใจ
5. สร้างพันธะรับผิดชอบของผู้บริหาร
6. จัดสรรงบประมาณได้ตรงตามความต้องการและสถานการณ์ที่เป็นจริง
7. ให้ข้อมูลประกอบการกำหนดนโยบาย


เงื่อนไขความสำเร็จของการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์
ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ประสบผลสำเร็จ อยู่ที่ความเข้าใจแนวความคิดวิธีการ และประโยชน์ของการบริหารแบบนี้ของเจ้าหน้าที่ในองค์กร เจ้าหน้าที่ทุกระดับ สามารถปรับตัวและสามารถทำงานภายใต้ระบบงานที่จะต้องรับผิดชอบต่อผลการปฏิบัติงานและเงื่อนไขอื่นที่สำคัญ ดังนี้
1. ผู้บริหารระดับสูงมีความเข้าใจและสนับสนุน
2. การจัดทำระบบข้อมูลผลการปฏิบัติงาน
3. การพัฒนาบุคลากรและองค์กร

วันพรุ่งนี้เราค่อยมาศึกษาเกี่ยวกับสมรรถนะต่อไปกันนะครับ..............

3 ความคิดเห็น:

  1. คืนนี้ขอศึกษาเท่านี้ก่อนน่ะครับง่วงมากๆๆ ครับ ขอบคุณแต้ๆๆ

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ16 สิงหาคม 2552 เวลา 22:21

    ขอบคุณมากสำหรับครูสุโขทัย ทำข้อสอบได้หลายข้อที่เดียวนะคะ

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ6 ธันวาคม 2554 เวลา 16:18

    ขอบคุณครับ

    ตอบลบ