วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2552

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550 (ต่อ)

ครูสุโขทัย มาอีกแล้วขอรับ.......ไม่รู้ว่ามีใครดูบ้างหรือเปล่าน๊า...ส่งความคิดเห็นมาหน่อยนะเพื่อเรียกขวัญและกำลังใจในการเผยแพร่ความรู้จ้า.......วันนีก้อมาต่อจากเมื่อวานก้อแล้วกันนะ
ส่วนที่ 4 บทที่ใช้แก่สภาทั้งสอง
ให้มีการเรียกประชุมรัฐสภาครั้งแรกภายใน 30 วันนับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
สมัยประชุมสามัญของรัฐสภาสมัยหนึ่งๆให้มีกำหนดเวลา 120 วัน
ส่วนที่ 6 การตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญจะเสนอได้ก็แต่โดย
1. คณะรัฐมนตรี
2. ส.ส.ไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของสมาชิกสภาหรือทั้งสองสภา
3. ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลฎีกา หรือองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ
ส่วนที่ 7 การตราพระราชบัญญัติ
ร่างพระราชบัญญัติจะเสนอได้ก็แต่โดย
1. คณะรัฐมนตรี
2. ส.ส.ไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของสมาชิกสภาหรือทั้งสองสภา
3. ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลฎีกา หรือองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ
4. ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 10,000 คนเข้าชื่อเสนอกฎหมาย
***** ร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการเงิน จะเสนอได้ก็ต่อเมื่อมีคำรับรองของนายกรัฐมนตรี*****
ส่วนที่ 9 การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของสมาชิกเท่าที่มีอยู่ มีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่น้อยกว่า 1 ใน 6 ของสมาชิกเท่าที่มีอยู่ มีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีรายบุคคล
สมาชิกวุฒิสภา ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของสมาชิกเท่าที่มีอยู่ มีสิทธิเข้าชื่อขอเปิดอภิปรายทั่วไปในวุฒิสภาเพื่อให้คณะรัฐมนตรีแถลงข้อเท็จจริงหรือชี้แจงปัญหา โดยไม่มีการลงมติ

หมวด 7 การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของประชาชน

ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 10,000 คน มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานรัฐสภาเพื่อให้รัฐสภาพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ ( เสนอกฎหมาย)
ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 20,000 คน มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานรัฐสภาเพื่อให้รัฐสภาพิจารณาถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือข้าราชการระดับสูง ( ถอดถอน)
ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 50,000 คน มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานรัฐสภาเพื่อให้รัฐสภาพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ (แก้ไขรัฐธรรมนูญ)

1 เสนอ 2 ถอน 5 แก้ไข

หมวด 8 การเงิน การคลังและงบประมาณ
งบประมาณรายจ่ายของแผ่นดินให้ทำเป็นพระราชบัญญัติ
เงินรายได้ของหน่วยงานของรัฐที่ไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดินให้หน่วยงานของรัฐนั้นทำรายงานการรับและการใช้จ่ายเงินดังกล่าวเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเมื่อสิ้นปีงบประมาณทุกปี และให้คณะรัฐมนตรีทำรายงานเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาต่อไป

หมวด 9 คณะรัฐมนตรี
พระมหากษัตริย์ ทรงแต่งตั้งนายรัฐมนตรีคนหนึ่งและรัฐมนตรีอีกไม่เกิน 35 คน ประกอบเป็นคณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรี มีจำนวนไม่เกิน 36 คน
นายกรัฐมนตรีต้องเป็น ส.ส.
ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี
นายกรัฐมนตรี เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งรัฐมนตรี
นายกรัฐมนตรีจะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินกว่า 8 ปีมิได้
สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีภายใน 30 วัน***นับแต่วันที่มีการเรียกประชุมรัฐสภาครั้งแรก****
ต้องมี ส.ส. ไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 รับรอง
คะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่ง กระทำโดยเปิดเผย
พ้น 30 วันนับแต่เรียกประชุมสภาครั้งแรกไม่มีผู้ได้รับความเห็นชอบให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรนำความกราบบังคมทูลภายใน 15 วัน เพื่อทรงมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งบุคคลผู้ได้รับคะแนนเสียงสูงสุดเป็นนายกรัฐมนตรี

รัฐมนตรีต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
1. มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
2. มีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปีบริบูรณ์
3. สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
4. ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 102 ( การเป็น ส.ส.)
5. ไม่เคยต้องคำพิพากษาให้จำคุก โดยพ้นโทษมายังไม่ถึง 5 ปีก่อนได้รับแต่งตั้งเว้นแต่ความผิดโดยประมาทหรือลหุโทษ
6. ไม่เป็น ส.ว. หรือเคยเป็น ส.ว. ซึ่งสมาชิกภาพสิ้นสุดลงมาแล้วยังไม่เกิน 2 ปี

หมวด 10 ศาล

ศาลรัฐธรรมนูญ
จำนวน 9 คน พระมหากษัตริย์แต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา ประกอบด้วย
1. ผู้พิพากษาในศาลฎีกา 3 คน
2. ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด 2 คน
3. ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ 2 คน
4. ผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์ 2 คน
ผู้ทรงคุณวุฒิอายุไม่ต่ำกว่า 45 ปีบริบูรณ์ มีคณะกรรมการสรรหา แล้วให้รัฐสภาเห็นชอบ
เลือกกันเองเป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญ
ประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ้นจากตำแหน่งเมื่ออายุครบ 70 ปีบริบูรณ์


ศาลปกครอง
ให้มีศาลปกครองสูงสุดและศาลปกครองชั้นต้น และจะมีศาลปกครองชั้นอุทธรณ์ด้วยก็ได้
คณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง ประกอบด้วย
1. ประธานศาลปกครองสูงสุด
2. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน ซึ่งเป็นตุลาการในศาลปกครองเลือกกันเอง
3. ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับเลือกจากวุฒิสภา 2 คน จากคณะรัฐมนตรี 1 คน
ศาลทหาร
มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญา ซึ่งผู้กระทำผิดเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารและคดีอื่น

หมวด 11 องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ

องค์กรอิสระ จำนวน วาระ ผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
1. คณะกรรมการการเลือกตั้ง 5 คน 7 ปี ประธานวุฒิสภา
2. ผู้ตรวจการแผ่นดิน 3 คน 6 ปี ประธานวุฒิสภา
3. คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ9 คน 9 ปี ประธานวุฒิสภา
4. คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน 7 คน 6 ปี ประธานวุฒิสภา

*** วาระได้วาระเดียว
องค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ จำนวน วาระ ผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
1. องค์กรอัยการ * * ประธานวุฒิสภา
2. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ7 คน 6 ปี ประธานวุฒิสภา
3. สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ** ** ประธานวุฒิสภา


หมวด 12 การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ
ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองดังต่อไปนี้ มีหน้าที่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ทุกครั้งที่เข้ารับตำแหน่งหรือพ้นจากตำแหน่ง
1. นายกรัฐมนตรี
2. รัฐมนตรี
3. ส.ส.
4. ส.ว.
5. ข้าราชการการเมืองอื่น
6. ผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่นตามที่กฎหมายบัญญัติ

การยื่นบัญชีแสดงทรัพย์สินและหนี้สิน
ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่เข้ารับตำแหน่งและพ้นจากตำแหน่ง
ตายในระหว่างดำรงตำแหน่งหรือก่อนยื่นแสดง ให้ทายาทหรือผู้จัดการมรดกยื่นแทนภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ผู้ดำรงตำแหน่งตาย
พ้นจากตำแหน่งครบ 1 ปีให้ยื่นอีกครั้งภายใน 30 วันนับแต่วันที่ครบ 1 ปี

การถอดถอนออกจากตำแหน่ง
1. วุฒิสภามีอำนาจถอดถอน นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ส.ส. ส.ว. ประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครองสูงสุด อัยการสูงสุด
2. ส.ส. ไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ของสภาผู้แทนราษฎร มีสิทธิเข้าชื่อร้องต่อประธานวุฒิสภาให้ถอดถอน
3. ส.ว. ไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 มีสิทธิเข้าชื่อร้องต่อประธานวุฒิสภาเพื่อให้วุฒิสภาถอดถอนสมาชิกวุฒิสภาออกจากตำแหน่ง
4. ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 20,000 คน มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอให้ถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่งได้

การดำเนินคดีอาญากับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ให้ศาลฏีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีอำนาจพิจารณาพิพากษา

บทเฉพาะกาล
มาตรา 309 บรรดาการใดๆที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย( ฉบับชั่วคราว)พุทธศักราช 2549 ว่าชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ รวมทั้งการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับกรณีดังกล่าว ไม่ว่าก่อนหรือหลังวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ให้ถือว่าการนั้นและการกระทำนั้นชอบด้วยรัฐธรรมนูญ นี้
จบแล้วครับ......สำหรับรัฐธรรมนูญปี 50 พอจะรู้เรื่องหรือเปล่านะ........เพราะไม่ได้เน้นให้เข้มหรือขีดเส้นใต้เหมือน MS.word มีความตั้งใจในการเผยแพร่ความรู้เป็นอย่างยิ่งเลย........เผื่อว่าจะได้รับความขอบคุณจากท่านบ้าง.......วันหน้าเจอกันนะ.......... ขอบคุณจ้า....

8 ความคิดเห็น:

  1. ดีมากครับท่านผ.อ. ผมกำลังเตรียมตัวสอบ สพท.สท2
    แนวข้อสอบ ปี่ที่แล้วที่ออกสอบ ในสท.2 เป็นอย่างไรบ้างครับจะได้อ่านตรรงประเด็นครับ
    ภ้าหากท่านผ.อ. จะกรุณา ผมฝากเมล์ไว้นะครับ
    teephong@hotmail.com

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ19 กันยายน 2552 เวลา 14:14

    ขอบคุณคะกำลังจะสอบภาค ขออยู่คะ เป็นประโยชน์มากคะ
    หมวด13-14 ยังไม่คะ

    m

    ตอบลบ
  3. ขอบคุณครับ..สำหรับความรู้ที่แบ่งปันมาให้ครับ

    ตอบลบ
  4. ขอบคุณค่ะ ดูง่ายขึ้นกว่า รัฐธรรมนูญมากเลย ^^

    ตอบลบ
  5. ขอขอบคุณมากที่สรุปไว้เยี่ยมเลยค่ะ

    ตอบลบ
  6. ไม่ระบุชื่อ1 เมษายน 2554 เวลา 13:53

    ขอบคุงมักๆๆคับ

    ตอบลบ
  7. ไม่ระบุชื่อ26 เมษายน 2555 เวลา 19:49

    ขอบคุณคะเป็นประโยชน์มากเลย อ่านเข้าใจง่าย

    ตอบลบ
  8. ขอบคุณค่ะอาจารย์ ช่วยหนูได้มากเลยล่ะค่ะ

    ตอบลบ