วันอังคารที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2552

โครงการห้องสมุดในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

วันนี้เพิ่มเติมความรู้จ้า คำว่า SP : Stimulus Package SP1 โครงการเรียนฟรี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ SP2 แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง วันนี้จะเสนอโครงการพัฒนาห้องสมุดในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555

โครงการพัฒนาห้องสมุดในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ภายใต้ แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ( นายจุรินทร์ ลัษณะวิศิษฏ์ ) ได้กำหนดนโยบายการพัฒนาห้องสมุดของสถานศึกษาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ เป็นแหล่งศึกษา ค้นคว้าของนักเรียน ครู ผู้บริหาร ผู้ปกครอง และชุมชนได้อย่างสมบูรณ์ โดยได้กำหนดแนวทางให้เป็น “ห้องสมุด 3 ดี” ที่เน้นการพัฒนาใน 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ หนังสือดีและสื่อการเรียนรู้ดี บรรยากาศและสถานที่ดี และบรรณารักษ์และกิจกรรมดี
วัตถุประสงค์
1. เพื่อยกระดับคุณภาพห้องสมุดในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานทุกโรง
2. เพื่อจัดให้มีหนังสือและสื่อการเรียนรู้ที่มีคุณภาพและเพียงพอต่อความต้องการและเหมาะสมกับนักเรียน ครู ผู้บริหาร และคนในชุมชน
3. เพื่อพัฒนาและจัดให้มีครูบรรณารักษ์ หรือผู้ที่ทำหน้าที่บรรณารักษ์ในโรงเรียนทุกโรง

แนวคิดหลักในการพัฒนาห้องสมุดโรงเรียน ยึดหลัก 3 ดี ได้แก่
1. กลุ่มหนังสือและสื่อการเรียนรู้ดี คือ ทุกห้องสมุดต้องมีจำนวนหนังสือ อย่างน้อย 5 เล่ม ต่อ นักเรียน 1 คน กลุ่มหนังสือที่ห้องสมุดต้องมี ได้แก่
1.1 กลุ่มหนังสือส่งเสริมการเรียนการสอนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้สำหรับนักเรียน ครู
1.2 กลุ่มหนังสืออ้างอิง เช่น หนังสือพระราชนิพนธ์ สารานุกรม พจนานุกรม ฯลฯ
1.3 กลุ่มหนังสือดีที่ควรอ่านหรือหนังสือแนะนำ เช่นหนังสือที่ชนะการประกวดหนังสือดีเด่น หนังสือที่ผ่านการคัดเลือกจากองค์กร/หน่วยงานต่างๆทั้งในรูปของวรรณกรรม เช่นนิทาน การ์ตูน สารคดี เรื่องสั้น หนังสือภาพ ฯลฯ
1.4 ของเล่นเด็ก สร้างสรรค์ เช่น บล็อกไม้ ตัวต่อภาพ ( จิ๊กซอว์ ) รูปทรงเรขาคณิต โลโก้ ตุ๊กตาคน – สัตว์ ดินน้ำมัน วาดภาพ – ระบายสี เกมส์ ฯลฯ
2. บรรยากาศและสถานที่ดี คือทุกโรงเรียนต้องมีห้องสมุดอย่างน้อยขนาด 1 ห้องเรียนขึ้นไป มีการจัดมุมหรือองค์ประกอบแบ่งเป็น ส่วนที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าอ้างอิง ส่วนอ่านเพื่อการพักผ่อน หรือดูหนัง ฟังเพลง ส่วนการสืบค้นข้อมูลผ่านเครือข่าย ฯลฯ
3. ครูบรรณารักษ์และกิจกรรมดี คือทุกโรงเรียนต้องมีครูบรรณารักษ์หรือผู้ที่ทำหน้าที่บรรณารักษ์ อย่างน้อย 1 คน สำหรับการให้บริการอย่างน้อยต้องให้บริการได้ในช่วงเวลาเช้าก่อนเข้าห้องเรียน พักกลางวัน และหลักเลิกเรียน และมีการจัดกิจกรรมห้องสมุดและกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน


ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานทุกโรงเรียนที่ยังไม่มีห้องสมุดได้รับการพัฒนาให้มีห้องสมุดที่มีความพร้อมทั้งด้านหนังสือ สื่อการเรียนรู้ สื่อ ICT ที่ทันสมัย สอดคล้องกับความต้องการของนักเรียน ครู ผู้บริหาร ผู้ปกครอง และชุมชน
2. โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานทุกโรงเรียนที่มีห้องสมุดจะได้รับการปรับปรุงให้ให้มีคุณภาพทันสมัยทั้งด้านอาคารสถานที่และบรรยากาศที่เอื้อต่อการอ่านและการเรียนรู้
3. โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานทุกโรงที่มีห้องสมุดระดับมาตรฐานได้รับการพัฒนาเป็นห้องสมุดสมัยใหม่
4. โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานทุกโรงมีครูบรรณารักษ์ หรือผู้ทำหน้าที่บรรณารักษ์ที่มีคุณภาพ สามารถบริหารจัดการห้องสมุดแนวใหม่และมีความรู้ความสามารถในการจัดกิจกรรมห้องสมุดและกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
5. มีองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนที่เห็นความสำคัญของห้องสมุดและการส่งเสริมการอ่าน เข้ามามีบทบาทในการพัฒนาโรงเรียน

กลุ่มเป้าหมาย
ได้แก่โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทุกโรง จำนวน 31,821 โรง แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่ 1 โรงเรียนมัธยมศึกษาสู่มาตรฐานสากล จำนวน 3,173 โรง
1.1 โรงเรียนมัธยมศึกษาสู่มาตรฐานสากล จำนวน 673 โรง
- โรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 370 โรง
- โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จำนวน 273 โรง
- โรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัด จำนวน 30 โรง
1.2 โรงเรียนในฝัน จำนวน 2,500 โรง
- โรงเรียนในฝัน รุ่นที่ 1 จำนวน 921 โรง
- โรงเรียนในฝัน รุ่นที่ 2 จำนวน 865 โรง
- โรงเรียนในฝัน รุ่นที่ 3 จำนวน 714 โรง
กลุ่มที่ 2 โรงเรียนขนาดเล็กสู่ศูนย์การเรียนรู้คุณภาพ จำนวน 10,529 โรง
2.1 โรงเรียนที่ผ่านมาตรฐาน จำนวน 4,000 โรง
2.2 โรงเรียนที่ผ่านมาตรฐาน จำนวน 3,000 โรง
2.3 โรงเรียนที่ไม่ผ่านมาตรฐาน จำนวน 3,529 โรง
กลุ่มที่ 3 โรงเรียนการศึกษาพิเศษ/โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ จำนวน 93 โรง
กลุ่มที่ 4 โรงเรียนยกระดับคุณภาพห้องสมุด จำนวน 18,026 โรง
4.1 โรงเรียนขนาดเล็ก จำนวน 3,386 โรง
4.2 โรงเรียนอื่นๆ จำนวน 14,440 โรง
4.3 โรงเรียนอื่นๆ จำนวน 200 โรง
การจัดสรรงบประมาณ
1. หนังสือดีและสื่อการเรียนรู้ดี จำนวน 1,498,120,000 บาท
2. บรรยากาศและสถานที่ดี จำนวน 1,546,634,500 บาท**
3. บรรณารักษ์และกิจกรรมดี จำนวน 32,000,000 บาท

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น