วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2552

สรุปแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2552-2554(ต่อ)

มาสรุปแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2552-2554 กันต่อเลยนะขอรับต้องเร่งส่งต้นฉบับให้พี่น้องเราก่อนเดี๋ยวอ่านกันไม่ทัน
1.2 การรักษาและเพิ่มรายได้ของประชาชน
1.2.1 ร่วมมือกับภาคเอกชนในการดำเนินมาตรการชะลอการเลิกจ้างและป้องกันการขยายตัวของการเลิกจ้าง
1.2.2 ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเฉพาะหน้า เพื่อรองรับปัญหาแรงงานว่างงานจากภาคอุตสาหกรรมและนักศึกษาจบใหม่
- แรงงานที่ว่างงานถูกเลิกจ้างและนักศึกษาจบใหม่ ประมาณ 500,000 คน ในปี 2552 ได้รับการฝึกอบรมเสริมทักษะสร้างศักยภาพและโอกาสให้กลับไปทำงานที่เป็นประโยชน์แก่ท้องถิ่นชุมชนในภูมิลำเนา
1.2.3 เร่งรัดดำเนินการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ถูกเลิกจ้างและผู้ว่างงานอันเนื่องมาจากวิกฤตเศรษฐกิจ
1.2.4 สร้างหลักประกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุ
- เพิ่มรายได้ให้กับผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปที่ไม่สามารถช่วยตนเองได้ให้มีหลักประกันด้านรายได้อย่างทั่วถึงเป็นธรรม
- สร้างหลักประกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุที่ไม่มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ หรือไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองได้ โดยจัดสรรเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่แสดงความจำนงโดยการขอขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับการสงเคราะห์รวมทั้งขยายเพดานให้กู้ยืมจากกองทุนผู้สูงอายุเป็น 30,000 บาท
1.2.5 เพิ่มมาตรการด้านการคลัง
1.2.6 สร้างรายได้และศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานมาก
1.2.7 ดำเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรผ่านกลไกและเป็นเครื่องมือของรัฐให้มีประสิทธิภาพ และเร่งสร้างระบบประกันความเสี่ยงทางการเกษตร
1.2.8 เร่งรัดและพัฒนาตลาดและระบบการกระจายสินค้าของสินค้าเกษตรและสินค้าชุมชน
- จัดหาตลาดรองรับสินค้าเกษตรชุมชนเชื่อมโยงตลาดในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับชุมชน อำเภอ จังหวัด ประเทศ และดำเนินการในลักษณะนำร่องก่อน เน้นสินค้าที่มีคุณภาพสำหรับตลาดเฉพาะ ( Niche Market ) รวมทั้งบริหารจัดการสินค้าเกษตรอย่างเป็นระบบ โดยเน้นสินค้าอาหารและสินค้าคุณภาพ
1.2.9 จัดตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติ
1.2.10 ส่งเสริมบทบาทอาสาสมัครสาธารสุขประจำหมู่บ้าน ( อสม.)ทั่วประเทศให้ปฏิบัติงานเชิงรุก
1.3 การลดภาระค่าครองชีพของประชาชน
1.3.1 ให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี
- ประชากรวัยเรียนได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานฟรีตั้งแต่ระดับปฐมวัย จนถึงมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญและสายอาชีพครอบคลุมตำราเรียนในวิชาหลัก ชุดนักเรียน อุปกรณ์การเรียน และค่าใช้จ่ายจำเป็นอื่นๆเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของประชาชน
1.3.2 กำกับดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพ
1.3.3 ดำเนินมาตรการลดภาระค่าครองชีพของประชาชน
- ภาครัฐรับภาระค่าใช้จ่ายรถโดยสารธรรมดา รถไฟชั้น 3 ค่าน้ำประปา และค่าไฟฟ้าตามความจำเป็นขั้นพื้นฐานของประชาชน
- ปรับปรุงและขยายระยะเวลาการดำเนินมาตรการ 6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤตเพื่อคนไทยทุกคน
1.3.4 ใช้กองทุนน้ำมันในการรักษาเสถียรภาพของราคาน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ
1.3.5 จัดตั้งคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ และคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ ( กรอ.)
นโยบายที่ 2 ความมั่นคงของรัฐ
2.1 ปกป้องและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์
2.2 เสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพการป้องกันประเทศให้มีความพร้อมในการรักษาเอกราช อธิปไตยและบูรณาการแห่งดินแดน
2.3 เสริมสร้างสันติภาพของการอยู่ร่วมกันกับประเทศเพื่อนบ้าน
2.4 แก้ไขปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมืองทั้งระบบไม่ให้มีผลกระทบต่อความมั่นคง
2.5 เสริมสร้างศักยภาพในการจัดการกับปัญหาภัยคุกคามข้ามชาติ
นโยบายที่ 3 สังคมและคุณภาพชีวิต
1. ด้านการศึกษา
- ประชากรวัยเรียนได้รับการศึกษา 15 ปีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
- ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาหลักระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานสูงขึ้นอีกร้อยละ 20 ใน 3 ปี
- สัดส่วนผู้เรียนอาชีวศึกษาต่อสายสามัญ เป็น 50 : 50
- สัดส่วนของผู้เรียนสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่อสายสังคมเป็น 40 : 60
- พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญาโดยการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษาระดับอาชีวศึกษา อุดมศึกษา และการพัฒนาองค์ความรู้ นวัตกรรม มุ่งเน้นการเพิ่มขีดความสามารถด้านการวิจัยและพัฒนา ส่งเสริมการสร้างนักวิจัยมืออาชีพและสนับสนุนการดำเนินการวิจัยในลักษณะ Research Program ในประเด็นสำคัญๆของประเทศ
3.3 นโยบายด้านสาธารณสุข
- ลดอัตราการเพิ่มการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง 5 โรค ได้แก่ โรคหัวใจ เบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง และโรคมะเร็ง
3.4 นโยบายศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม
3.5 นโยบายสวัสดิการสังคม แ ละความมั่นคงของมนุษย์
3.6 นโยบายการกีฬาและนันทนาการ
- เด็กและเยาวชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 และประชาชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ออกกำลังกาย เล่นกีฬา และร่วมกิจกรรมนันทนาการเป็นประจำ
- นักกีฬาปกติและผู้พิการ ได้ร่วมแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 และจำนวนเหรียญรางวัลเพิ่มขึ้นในทุกระดับ
- พัฒนาและนำวิทยาศาสตร์การกีฬามาใช้อย่างจริงจังในการส่งเสริมกีฬาสู่ความเป็นเลิศและกีฬาอาชีพให้แก่นักกีฬาปกติและผู้พิการ รวมทั้งเตรียมความพร้อมนักกีฬาไทยสู่โอลิมปิค ปี 2010
นโยบายที่ 4 เศรษฐกิจ
มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เศรษฐกิจของประเทศมีการเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพและมั่นคง โดยการดำเนินนโยบายการเงินการคลังที่สอดประสานกันเพื่อให้เศรษฐกิจฟื้นตัวจากภาวะวิกฤติเศรษฐกิจและการเงินโลกที่กำลังประสบอยู่ขณะนี้
4.1 นโยบายการบริหารเศรษฐกิจมหภาค
- อัตราส่วนหนี้สาธารณะคงค้างต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศไม่เกินร้อยละ 50 ของ GDP
- รักษาระดับการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 3 ในช่วงปี 2552 – 2554
4.2 นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ
4.2.1 ภาคเกษตร
- มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมสาขาเกษตรเพิ่มขึ้นเป็น 1.35 ล้านล้านบาท ในปี 2554
- เกษตรกรไม่ต่ำกว่า 1.6 ล้านราย ได้รับการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็ง
- บริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชลประทานไม่น้อยกว่า 1.7 ล้านไร่
- พัฒนา ฟื้นฟูและอนุรักษ์ดินและที่ดินไม่ต่ำกว่า 4.4 ล้านไร่
- พัฒนาระบบการผลิตและคุณภาพของผลผลิต โดยพัฒนาปรับปรุงระบบคุณภาพทั้งพืช ปศุสัตว์ และประมง ( GAP GMP HACCP ) ให้ได้ผลผลิตที่ได้มาตรฐานสากล
4.2.2 ภาคอุตสาหกรรม
- มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคอุตสาหกรรมเพิ่มจาก 3.3 ล้านล้านบาท เป็น 3.5 ล้านล้านบาท
- จำนวนผู้ประกอบการรายใหม่เพิ่มขึ้นและจำนวนผู้ประกอบการเดิมที่ได้รับการพัฒนามีจำนวนเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 13,000 รายต่อปี
- ผลิตภาพแรงงานในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสาขาเป้าหมายสูงขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 3
- ส่งเสริมให้อุตสาหกรรมมีความรับผิดชอบต่อสังคมตามแนวทาง ISO 26000
4.2.3 ภาคการท่องเที่ยวและบริการ
- ภาพลักษณ์ประเทศไทยติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก ด้านความมีน้ำใจ ( Friendly People)/ความเป็นดั้งเดิม ( Authenticity ) / ชายหาด ( Beach )
4.2.4 นโยบายการตลาด การค้า และการลงทุน
4.3 นโยบายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
4.4 นโยบายพลังงาน
- สัดส่วนการพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศไม่เกินร้อยละ 35 ในปี 2554
- สัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนไม่น้อยกว่าร้อยละ 12 ของการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ขั้นสุดท้ายในปี 2554
- นโยบายด้านพลังงานทดแทนเป็นวาระแห่งชาติ
- ส่งเสริมกลไกการพัฒนาที่สะอาด ( CDM ) สาขาพลังงาน เพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
4.5 นโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
- จำนวนเลขหมายโทรศัพท์พื้นฐานต่อประชากร 100คน เพิ่มขึ้นจาก 11 เป็น 13.7 เลขหมาย
- จำนวนผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วเพิ่มขึ้นจาก 2 ล้าน รายเป็น 4 ล้านราย
- จำนวนผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ต่อประชากร 100 คน เพิ่มขึ้นจาก 78 เป็น 90 เลขหมาย
- ประชาชนสามารถเข้าถึงและใช้งานระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 45
- จำนวนชุมชน ไม่น้อยกว่า 800 แห่งมีศูนย์การเรียนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
- ติดตั้งโทรศัพท์สาธารณะประจำหมู่บ้านจำนวนไม่น้อยกว่า 1,300 เลขหมาย
- กลุ่มผู้ด้อยโอกาส สามารถเข้าถึง ICT และนำ ICT มาใช้ประโยชน์ในการเรียนรู้ในการเรียนรู้และประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันเพิ่มขึ้น ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10
- บุคลากรด้าน ICT ได้รับการพัฒนาให้มีมาตรฐานวิชาชีพไม่น้อยกว่าร้อยละ 30
- บุคลากรภาครัฐไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 สามารถเข้าถึงและนำ ICT มาใช้ประโยชน์ในการทำงานและการเรียนรู้
- ประชาชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จาก ICT ในชีวิตประจำวัน
- อัตราการเติบโตอุตสาหกรรมดิจิตอลคอนเท้นส์เพิ่มขึ้นร้อยละ 15 ต่อปี
นโยบายที่ 5 ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
5.1 คุ้มครองและอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า ทรัพยากรดิน ทรัพยากรน้ำ ทรัพยากรธรณี ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รวมทั้งฟื้นฟูอุทยานทางทะเลอย่างเป็นระบบ
- พัฒนาฟื้นฟูและอนุรักษ์ดิน 60 ล้านไร่
5.2 คุ้มครองและฟื้นฟูพื้นที่อนุรักษ์ที่มีความสำคัญเชิงระบบนิเวศ เพื่อการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ
5.3 จัดให้มีระบบการป้องกัน รวมทั้งเตือนภัยและบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประสบภัยธรรมชาติ
5.4 ควบคุมและลดปริมาณของเสียที่กลายมาเป็นมลพิษทั้งในรูปขยะ ขยะอันตรายมลพิษทางอากาศ กลิ่นเสียง และน้ำเสีย
5.5 พัฒนาองค์ความรู้ในการบริหารจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
5.6 ปรับปรุงกลไกการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์
นโยบายที่ 6 วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัย และนวัตกรรม
6.1 ส่งเสริมและสนับสนุนโครงการวิจัยตามแนวพระราชดำริ การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั้งงานวิจัยขั้นพื้นฐาน และงานวิจัยประยุกต์
- จำนวนผลงานวิจัย พัฒนาและนวัตกรรมที่สามารถนำไปยื่นขอจดสิทธิบัตรไม่น้อยกว่า 450 เรื่อง
6.2 เร่งรัดผลิตบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและบุคลากรด้านการวิจัยให้สามารถตอบสนองความต้องการของภาคการผลิต
- บุคลากรวิจัยและพัฒนา 10 คนต่อประชากร 10,000 คน
6.3 ปฏิรูประบบการวิจัยและพัฒนาของประเทศ
นโยบายที่ 7 การต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
นโยบายที่ 8 การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
8.1 ประสิทธิภาพการบริหารราชการแผ่นดิน
- ประชากรไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีความพึงพอใจในคุณภาพการให้บริการและการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
- หน่วยงานของรัฐไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 สามารถยกระดับคุณภาพ มาตรฐานและธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการได้ตามเป้าหมาย
- บุคลากรภาครัฐไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 มีความเป็นมืออาชีพ มีความรู้คู่คุณธรรม
จบแล้วขอรับสำหรับแผนการบริหารราชการแผนดิน พ.ศ.2552-2554 แล้ววันพรุ่งนี้มาอ่านเรื่องต่อไปกันนะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น