วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552

สรุปรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย 2550

ครูสุโขทัย ได้สรุปเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ 2550 เผื่อว่าจะนำไปใช้ในการสอบภาค ข นะครับ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
ให้ไว้ ณ วันที่ 24 สิงหาคม 2550
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 124 ตอนที่ 47 ก วันที่ 24 สิงหาคม 2550
มี 15 หมวด 309 มาตรา
หมวด 1 บททั่วไป
หมวด 2 พระมหากษัตริย์
หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
หมวด 4 หน้าที่ของชนชาวไทย
หมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
หมวด 6 รัฐสภา
หมวด 7 การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงองประชาชน
หมวด 8 การเงิน การคลัง และงบประมาณ
หมวด 9 คณะรัฐมนตรี
หมวด 10 ศาล
หมวด 11 องค์กรตามรัฐธรรมนูญ
หมวด 12 การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ
หมวด 13 จริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ
หมวด 14 การปกครองส่วนท้องถิ่น
หมวด 15 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
บทเฉพาะกาล
สภาร่างรัฐธรรมนูญและคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ มีหน้าที่จัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้งฉบับสำหรับเป็นแนวทางการปกครองประเทศ
นายนรนิติ เศรษฐบุตร เป็นประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ
นาวาอากาศตรีประสงค์ สุ่นศิริ เป็นประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เป็นผู้นำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าฯ
นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ

หมวด 1 บททั่วไป
มาตรา 1 ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้
มาตรา 2 อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจอธิปไตยทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และทางศาล
การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญและหน่วยงานของรัฐต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม
มาตรา 7 เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

หมวด 2 พระมหากษัตริย์

คณะองคมนตรี พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งประธานองคมนตรีคนหนึ่ง และองคมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 18 คน
คณะองคมนตรี รวมไม่เกิน 19 คน
ประธานองคมนตรี ประธานรัฐสภา ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
องคมนตรีอื่น ประธานองคมนตรี ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ

หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย

ส่วนที่ 8 สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา
มาตรา 49 บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพหรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบากต้องได้รับสิทธิตามวรรคหนึ่งและการสนับสนุนจากรัฐ เพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่น
การจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชน การศึกษาทางเลือกของประชาชน การเรียนรู้ด้วยตนเองและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ย่อมได้รับการคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ
มาตรา 50 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการ
การศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการ ย่อมได้รับความคุ้มครองทั้งนี้เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

หมวด 4 หน้าที่ของชนชาวไทย
มาตรา 70 บุคคลมีหน้าที่พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
มาตรา 71 บุคคลมีหน้าที่ป้องกันประเทศ รักษาผลประโยชน์ของชาติและปฏิบัติตามกฎหมาย
มาตรา 72 บุคคลมีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
มาตรา 73 บุคคลมีหน้าที่รับราชการทหาร ช่วยเหลือในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยพิบัติสาธารณะ เสียภาษีอากร ช่วยเหลือราชการ รับการศึกษาอบรม พิทักษ์ ปกป้องและสืบสานศิลปวัฒนธรรมของชาติและภูมิปัญญาท้องถิ่นและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

หมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
ส่วนที่ 1 บททั่วไป
มาตรา 75 คณะรัฐมนตรีที่จะเข้าบริหารราชการแผ่นดิน ต้องชี้แจงนโยบายที่จะดำเนินการต่อรัฐสภาและต้องจัดทำรายงานแสดงผลการดำเนินการเสนอต่อรัฐสภาปีละ 1 ครั้ง
ส่วนที่ 2 แนวนโยบายด้านความมั่นคงของรัฐ
มาตรา 77 รัฐต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ เอกราช อธิปไตยและบูรณาการแห่งเขตอำนาจรัฐ
ส่วนที่ 3 แนวนโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดิน
มาตรา 78 รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดิน ดังต่อไปนี้
1. บริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปเพื่อพัฒนาสังคม เศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศอย่างยั่งยืน โดยต้องส่งเสริมการดำเนินการตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและคำนึงถึงผลประโยชน์ของชาติในภาพรวมเป็นสำคัญ
2. จัดระบบบริหารราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น ให้มีขอบเขต อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบที่ชัดเจนเหมาะสม
3. พัฒนาระบบงานภาครัฐ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพ คุณธรรมและจริยธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐควบคู่ไปกับปรับปรุงรูปแบบและวิธีการทำงาน
4. ให้มีแผนพัฒนาการเมือง รวมทั้งให้มีสภาพัฒนาการเมืองที่มีความเป็นอิสระ
ส่วนที่ 4 แนวนโยบายด้านศาสนา สังคม การสาธารณสุข การศึกษาและวัฒนธรรม
มาตรา 79 รัฐต้องให้ความอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา
มาตรา 80 รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านสังคม การสาธารณสุข การศึกษาและวัฒนธรรม ดังต่อไปนี้
1. คุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน สนับสนุนการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาปฐมวัย
2. ส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาระบบสุขภาพที่เน้นการสร้างเสริมสุขภาพอันนำไปสู่สุขภาวะที่ยั่งยืนของประชาชน
3. พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษาในทุกระดับและทุกรูปแบบให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม จัดให้มีแผนการศึกษาแห่งชาติ กฎหมายเพื่อพัฒนาการศึกษาของชาติ จัดให้มีการพัฒนาคุณภาพครูและบุคลการทางการศึกษาให้ก้าวหน้าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก รวมทั้งปลูกฝังให้ผู้เรียนมีจิตสำนึกของความเป็นไทย มีระเบียบวินัย คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
4. ส่งเสริมและสนับสนุนการกระจายอำนาจเพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน องค์การทางศาสนาและเอกชนจัดและมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา เพื่อพัฒนามาตรฐานการศึกษาให้เท่าเทียมและสอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
5. ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาวิจัยในศิลปะวิทยาการแขนงต่างๆและเผยแพร่ข้อมูลผลการศึกษาวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนการศึกษาวิจัยของรัฐ
6. ส่งเสริมและสนับสนุนความรู้รักสามัคคีและการเรียนรู้ ปลูกฝังจิตสำนึกและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมนบธรรมเนียมประเพณีของชาติ ตลอดจนค่านิยมอันดีงามและภูมิปัญญาท้องถิ่น

หมวด 6 รัฐสภา
ส่วนที่ 1 บททั่วไป
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา ไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของแต่ละสภา มีสิทธิเข้าชื่อร้องต่อประธานสภาว่าสมาชิกภาพของคนใดคนหนึ่งแห่งสภานั้นสิ้นสุดลง
ให้ประธานสภาที่ได้รับคำร้อง ส่งคำร้องนั้นไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าสมาชิกภาพของสมาชิกผู้นั้นสิ้นสุดลงหรือไม่
ส่วนที่ 2 สภาผู้แทนราษฎร
สภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วยสมาชิก จำนวน 480 คน
แบบแบ่งเขต 400 คน
แบบสัดส่วน 80 คน
จังหวัดใดมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ไม่เกิน 3 คน ให้ถือเขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง แต่ถ้ามีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้เกิน 3 คนให้แบ่งเขตจังหวัดออกเป็นเขตเลือกตั้งแต่ละเขตมีสมาชิกได้ 3 คน
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน ให้ดำเนินการดังนี้
ให้จัดแบ่งพื้นที่ประเทศออกเป็น 8 กลุ่มจังหวัด และให้แต่ละกลุ่มจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง
แต่ละเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ 10 คน
บุคคลต่อไปนี้เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
1. มีสัญชาติไทย แต่บุคคลผุ้มีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติต้องได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
2. อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ ในวันที่ 1 มกราคมของปีที่มีการเลือกตั้ง
3. มีชื่อในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วไม่น้อยกว่า 90 วันนับถึงวันเลือกตั้ง
บุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง
1. เป็นภิกษุสามเณร นักพรต นักบวช
2. อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
3. ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
4. วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ
ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
1. มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
2. อายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
3. เป็นสมาชิกพรรคการเมืองพรรคเดียวติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วันนับถึงวันเลือกตั้ง
4. ผู้สมัครแบบแบ่งเขตต้องมีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ด้วยคือ มีชื่อในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี / เกิดในจังหวัดที่สมัคร/ เคยศึกษาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปี / เคยรับราชการหรือมีชื่อในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปี
ลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
* ติดยาเสพติดให้โทษ ล้มละลายหรือเคยล้มละลาย เคยต้องคำพิพากษาให้จำคุกโดยพ้นโทษมายังไม่เกิน 5 ปี เคยถูกไล่ออก ปลดออกหรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ เพราะทุจริตต่อหน้าที่ พ้นจากการจากการเป็น สมาชิกวุฒิสภายังไม่เกิน 2 ปี
อายุของสภาผู้แทนราษฎรมีกำหนดคราวละ 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง หมดวาระเลือกตั้งภายใน 45 วัน

พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนราษฎร
ยุบสภาผู้แทนราษฎรให้กระทำโดยพระราชกฤษฎีกา
กำหนดวันเลือกตั้งภายเวลาไม่น้อยกว่า 45 วันแต่ไม่เกิน 60 วันนับแต่วันยุบสภา
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรว่างลงนอกจากหมดวาระ หรือยุบสภา ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
แบบแบ่งเขตเลือกตั้งแทนภายใน 45 วัน เว้นแต่วาระเหลือไม่ถึง 180 วัน
แบบสัดส่วน ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรประกาศผู้มีรายชื่อลำดับถัดไปในบัญชีของพรรคการเมืองนั้นเลื่อนขึ้นมาแทน โดยต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษา ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ตำแหน่งว่าง
ส่วนที่ 3 วุฒิสภา
วุฒิสภา ประกอบด้วยสมาชิก จำนวน 150 คน
มาจากการเลือกตั้งจังหวัดละหนึ่งคน รวม 76 คน
มาจากการสรรหา รวม 74 คน
คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามสมัครหรือรับการเสนอชื่อเป็นสมาชิกวุฒิสภา
1. มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
2. อายุไม่ต่ำกว่า 40 ปีบริบูรณ์ นับถึงวันสมัครหรือวันเสนอชื่อ
3. สำเร็จการศึกษา ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
4. ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาต้องมีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดต่อไปนี้ด้วย คือ มีชื่อในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี / เกิดในจังหวัดที่สมัคร/เคยศึกษาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปี เคยรับราชการหรือมีชื่อในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปี / ไม่เป็นบุพการี คู่สมรสหรือบุตรของผู้เป็น ส.ส. หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
สมาชิกภาพสิ้นสุดลงยังไม่เกิน 2 ปี จะเป็นรัฐมนตรีหรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมิได้
สมาชิกสภาพของสมาชิกวุฒิสภามีกำหนดคราวละ 6 ปี นับแต่วันเลือกตั้งหรือวันประกาศผลการสรรหา
*****ดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินหนึ่งวาระไม่ได้****เมื่อวาระของสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งสิ้นสุดลง ให้มีการเลือกตั้งแทนภายใน 30 วัน ถ้ามีผู้มาจากการสรรหา ต้องดำเนินการสรรหาให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน นับแต่วันที่วาระสิ้นสุด
วันนี้แค่นี้ก่อนนะค่อยมาว่ากันใหม่

19 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ1 กันยายน 2552 เวลา 19:28

    ขอบคุณที่แบ่งปันความรู้ให้..สอบติดภาค ก แล้วค่ะ
    จะมุ่งมั่นอ่านสอบภาค ข ต่อไป...ไม้เรียวทอง

    ตอบลบ
  2. ขอบคุณเช่นกันครับ อย่างน้อยๆก็อยากได้กำลังใจ อยากได้คำขอบคุณ ก้อขอให้เป็นผู้บริหารในเร็ววันนะขอรับ

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ25 กันยายน 2552 เวลา 19:27

    ขอบคุณมากคะที่แบ่งปันความรู้ให้ มีงานส่งอาจารญืแล้ว ขอบคุณจริง จริง

    ตอบลบ
  4. ไม่ระบุชื่อ19 ตุลาคม 2552 เวลา 09:37

    ขอบคุณมากนะคะที่แบ่งปันความรู้ให้ มีงานส่งอาจารย์แล้วค่ะ

    ตอบลบ
  5. ไม่ระบุชื่อ28 ตุลาคม 2552 เวลา 16:53

    ขอบคุณมากนะคะ

    สรุปของอาจารย์ช่วยให้ทำข้อสอบภาค ข ได้หลายข้อเลยค่ะ

    แบบเป๊ะๆ เลย


    ขอบคุณอีกครั้งค่ะ

    ตอบลบ
  6. ขอขอบคุณในความกรุณา
    จาก ครูพิษณุโลก

    ตอบลบ
  7. ขอบคุณมากมาย ในยุคของความวุ่นวาย ยังมีหนึ่งน้ำใจ แก่ชาวประชา
    หากมีโอกาส ในวันข้างหน้า ยินดีตอบแทน
    n.oi.si@hotmail.com

    ตอบลบ
  8. ขอบคุณที่สรุปไว้ได้ดีค่ะ รูปเด็กน่ารัก ดูแล้วชื่นใจค่ะ

    ตอบลบ
  9. ไม่ระบุชื่อ4 พฤษภาคม 2553 เวลา 11:16

    ขอบคุณมากครับ...
    ......จากคนกาฬสินธุ์

    ตอบลบ
  10. ไม่ระบุชื่อ1 ตุลาคม 2553 เวลา 08:51

    ขอบคุณมากค่ะ
    รู้สึกมีกำลังใจอ่านมากขึ้น ทำงานทุกวัน มีเวลาอ่านหนังสือน้อยมาก
    จะตั้งใจทำให้ดีที่สุด ขอบคุณอีกครั้งค่ะ^___^

    โคราช

    ตอบลบ
  11. หมวดที่ 6 มีเพิ่มเติมอีกมั้ยค๊ะ ?

    ตอบลบ
  12. คนมีความหวัง27 พฤศจิกายน 2553 เวลา 18:21

    ขอบคุณมาก ๆ ที่ช่วยให้จำง่ายขึ้น

    ตอบลบ
  13. ไม่ระบุชื่อ4 เมษายน 2554 เวลา 17:13

    ขอบคุณมากมายคับ เตรียมจะไปอ่านสอบ ภาค ข เช่นกัน ขอบคุณครูสุโขทัยคับ ผมก็สุโขทัยเหมือนกัน

    ตอบลบ
  14. ไม่ระบุชื่อ7 กันยายน 2554 เวลา 23:47

    ขอบคุณนะค่ะ

    ตอบลบ
  15. ขอบคุณครับอาจารย์...

    ตอบลบ
  16. ไม่ระบุชื่อ4 เมษายน 2555 เวลา 23:27

    ขอบคุณมากค่ะ

    ตอบลบ
  17. ไม่ระบุชื่อ27 กรกฎาคม 2555 เวลา 21:29

    ข้อมูลสรุปๆแบบนี้ ถูกใจนักอ่านขี้เซามากค่ะ

    ตอบลบ
  18. ไม่ระบุชื่อ24 ธันวาคม 2555 เวลา 22:06

    ขอบคุณมากๆค่า มีอ่านสอบแล้ว

    ตอบลบ
  19. ขอบคุณน่ะค่ะ ไม่มีเวลาอ่านฉบับเต็มพอมาเจอสรุปแบบนี้ โอเคเลย

    ตอบลบ